วัดสังกัสรัตนคีรี
|
ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมือง
ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี
มีประวัติว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ
ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ.
2335-2342 สำหรับเมืองอุทัยธานีได้รับ 3 องค์
โดยอัญเชิญลงแพมาขึ้นฝั่งที่ท่าพระ
(ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี)
แล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด
พระพุทธรูปองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อสำริดปางมารวิชัย
หน้าตักกว้าง 3 ศอก สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ฝีมือช่างสุโขทัยยุค 2
มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์
เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี
ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว
จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี
ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไป 1 กม.
และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร
พร้อมกับถวายนามว่า “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์” ในวันแรม 1 ค่ำเดือน
11 ของทุกปีจะมีประเพณีตักบาตรเทโว โดยพระสงฆ์ประมาณ 500
รูปจะเดินลงบันไดจากยอดเขาสะแกกรังมารับบิณฑบาตที่ลานวัดเป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัด
ข้อมูลเพิ่มเติม
วัดสังกัสรัตนคีรี>>> |
|
----------------------------------------------
เขาสะแกกรัง
|
จากบริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรีมีบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาสะแกกรัง
หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 3220 เป็นระยะทาง 4 กม.
แล้วเลี้ยวบริเวณสนามกีฬาจังหวัดไปตามทางขึ้นสู่ยอดเขา
จากบนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองอุทัยธานีได้กว้างขวาง
เป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2448
ด้านหน้ามีระฆังใบใหญ่ที่พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ.
2443 ถือกันว่าเป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์
ใครที่ไปเที่ยวอุทัยธานีแล้วไม่ได้ขึ้นไปตีระฆังใบนี้ก็เท่ากับไม่ได้ไปเที่ยวอุทัยธานี
ใกล้กับมณฑปบนยอดเขาสะแกกรังมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
แห่งรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่านายทองดี
รับราชการตำแหน่งพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย
และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์
ครั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
(พระนามเดิมนายทองด้วง) ได้สถาปนาพระอัฐิพระบิดาเป็นสมเด็จพระชนกาธิบดี
เมื่อปี พ.ศ. 2338
พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ
เป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าขององค์จริงประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีทั้งฝักวางบนพระเพลาซ้าย
ส่วนพระหัตถ์ขวาทรงวางบนพระเพลาขวา ด้านขวามือมีพานวางพระมาลาเส้าสูง
ไม่มียี่ก่า (ขนนก) สวมพระบาทด้วยรองเท้าแตะไม่หุ้มส้นพระบาท
มีพิธีถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี
ซึ่งตรงกับช่วงที่ดอกสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานีบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบนเขาสะแกกรัง
ข้อมูลเพิ่มเติม
เขาสะแกกรัง>>>
|
|
----------------------------------------------
วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม
|
ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรสถิตย์อยู่หน้าสวนสุขภาพในเขตเทศบาลเมือง
เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองเรียกกันว่าวัดทุ่งแก้ว
ในวัดนี้มีพระปรางค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่ง ฐานกว้าง 8 เมตรสูง 16 เมตร
ลักษณะเป็นปรางค์ห้ายอด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2452
ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อแย้มผู้สร้างวัดนี้
บริเวณวัดมีสระน้ำก่ออิฐเป็นสระน้ำมนต์ขนาดใหญ่
กลางสระมีแผ่นศิลาอักขระยันต์ของหลวงพ่อแย้มฝังเอาไว้
น้ำในสระแห่งนี้เคยใช้เป็นน้ำสรงพุทธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7
ข้อมูลและรูปภาพ
วัดมณีสถิตยกปฏิฐาราม >>> |
|
----------------------------------------------
วัดธรรมโฆษก
(วัดโรงโค)
|
เป็นวัดที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอุทัย
ตำบลอุทัยใหม่
เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยาของข้าราชการเมืองอุทัยธานี
และเป็นลานประหารนักโทษ
โบสถ์ของวัดนี้เป็นโบสถ์สมัยรัตนโกสินทร์
ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมืองดงามจัดว่าสวยงามที่สุดในอุทัยธานี
น่าจะเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงสมัยรัตนโกสินทร์
จิตรกรรมเป็นภาพพุทธประวัติเช่น ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ปางผจญมาร
ผนังข้างด้านบนเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับพัดยศ ช่องว่างบานประตูคือ
ภาพพระพุทธเจ้ารับคนโทน้ำและรวงผึ้งจากช้างกับลิงเป็นภาพที่เขียนในชั้นหลังคนละฝีมือกัน
ด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นกรอบฝีมือพองาม
สำหรับวิหารสร้างยกพื้นสูงกว่าโบสถ์ หน้าบันเป็นรูปช้างสามเศียร
ภายในมีแท่นสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 องค์
จัดเรียงอย่างมีระเบียบ
บนหน้าต่างด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นเรื่องรามเกียรติ์ประดับเป็นกรอบ
ประตูวิหารเป็นไม้จำหลักลายดอกไม้ทาสีแดงงดงามมาก
โบสถ์และวิหารมีพระปรางค์และเจดีย์เรียงรายอยู่ 2-3 องค์
กำแพงรอบโบสถ์ของวัดนี้ก่อต่อกับฐานวิหารเพราะมีพื้นสูงกว่า
ประตูเข้ากำแพงทำซุ้มแบบจีน
และด้านหลังโบสถ์มีซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปด้วย
เช่นเดียวกับด้านหน้ามีกุฏิเล็กอยู่ติดกับกำแพงโบสถ์
ซึ่งเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา
บานประตูวัดก็เป็นศิลปะการแกะสลักของช่างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
แกะเป็นลายดอกไม้ประกอบใบกระจังต่อก้านสลับดอกเรียงเป็นแถวสวยงามมาก
พื้นในเป็นสีแดงเข้าใจว่าเดิมคงลงสีทองบนตัวลายไว้
สำหรับบานหน้าต่างก็แกะเป็นลวดลายเดียวกัน
ข้อมูลและประวัติเพิ่มเติม
วัดธรรมโฆษกหรือวัดโรงโค>>> |
|
----------------------------------------------
วัดใหม่จันทราราม
|
ตั้งอยู่ เทศบาลเมืองอุทัยฯ ถ.ณรงค์วิถี ต.อุทัยใหม่
เดิมชื่อวัดพะเนียด เป็นวัดร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ต้นรัชกาลที่
6 มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและเปลี่ยนชื่อวัดใหม่จันทราราม
แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดใหม่"
ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนัง รูปดอกมณฑารพ (ดอกไม้แห่งเมืองสวรรค์)
ตัวโบสถ์มีลักษณะคล้ายเรือ ส่วนหน้าเชิดขึ้น
หน้าบันโบสถ์เป็นศิลปะจีนผสม
ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลายเครือเถา
ข้อมูลและประวัติ
วัดใหม่จันทราราม>>> |
|
----------------------------------------------
ลำน้ำสะแกกรัง
|
เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านตัวจังหวัดอุทัยธานี
เฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี
บริเวณสองฝั่งแม่น้ำจะมีเรือนแพจอดเรียงรายอยู่
ฝั่งแม่น้ำด้านตะวันตกเป็นตลาดใหญ่ มีอาคารบ้านเรือนอยู่หนาแน่น
ส่วนฝั่งแม่น้ำด้านตะวันออกเป็นเกาะเทโพ
มีสวนผลไม้และป่าไผ่ตามธรรมชาติ
เรือนแพที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำเป็นเรือนไม้สร้างคร่อมบนแพลูกบวบไม้ไผ่
ชาวเรือนแพเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมงในช่วงเช้าหลังจากที่ได้ปลามาจะนำมาชำแหละ
เสียบไม้เป็นแผง ผึ่งให้แห้ง ย่างรมควันทำเป็นปลาแห้ง
ตามเรือนแพริมน้ำเหล่านี้ยังมีกระชังเลี้ยงปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาแรด
เป็นสภาพความเป็นอยู่ที่สามารถพบเห็นตามสองฝั่งลำน้ำสะแกกรัง
จึงเหมาะสำหรับนั่งเรือชมทิวทัศน์สองฝั่ง
ซึ่งสามารถจะนั่งเรือชมได้รอบตัวเกาะ
แต่เรือนแพที่อยู่ฝั่งทางด้านทิศตะวันออกที่อยู่ตรงข้ามกับชุมชนเมือง
นักท่องเที่ยวสามารถว่าจ้างเรือจากบริเวณท่าเรือตลาดสดเทศบาลเมืองอุทัยธานี
ข้อมูลและประวัติ
แม่น้ำสะแกกรัง>>> |
|
----------------------------------------------
วัดอุโปสถาราม
|
เดิมชื่อวัดโบสถ์มโนรมย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์
เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมลำน้ำสะแกกรังในเขตเทศบาลเมือง
จากตลาดสดเทศบาล มีสะพานข้ามแม่น้ำไปยังวัดอุโปสถาราม
ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่
จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เกี่ยวกับพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพานฝีมือประณีตมาก
และจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร เป็นฝีมือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทพยดาบนสวรรค์และภาพปลงสังขาร
ด้านบนฝาผนังเป็นพระสงฆ์สาวกชุมนุมสลับกับพัดยศเหมือนจะไหว้พระประธานในวิหาร
ฝาผนังด้านนอกหน้าวิหารมีภาพถวายพระเพลิงศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภาพชีวิตชาวบ้านที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา
เข้าใจว่าเป็นฝีมือชั้นหลัง นอกจากนี้ภายในวัดอุโบสถาราม
ยังมีสิ่งของที่น่าชมอีกมาก เช่น เสมาหินสีแดงหน้าโบสถ์
ตู้พระธรรมและตู้ใส่ของเขียนลายกนกเถาลายดอกไม้
บาตรฝาประดับมุกที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5
เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ และหงส์ยอดเสา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าชมหลายหลัง
ข้อมูลและรายละเอียด
วัดอุโปสถาราม>>> |
|
----------------------------------------------
สถานพยาบาลฮกแซตึ้ง
|
เป็นบ้านไม้ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน
คาดว่ามีอายุประมาณ 100 ปี
แรกเริ่มเดิมที
ฮกแซตึงสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่พบปะสำหรับชุมชนจีนของที่นี่
และใช้เป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีกรรมในเทศกาลกินเจ
นอกจากนี้ครั้งหนึ่งที่นี่ยังเคยเป็นร้านขายยาจีน
รวมถึงเป็นที่ฝึกฝนแพทย์แผนจีนด้วย
ตัวอาคารฮกแซตึ้งมิได้เป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
หากแต่เป็นการดูแลรักษาร่วมกันของสมาคม
อย่างไรก็ดีปัจจุบันผู้ดูแลและเป็นเจ้าของคือ ป้าเสงี่ยม
ปาลวัฒน์วิชัย
ตัวอาคารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังในสถาปัตยกรรมแบบจีน มีทั้งหมด 2
ชั้น ชั้นบนประกอบด้วยห้องบูชาบรรพบุรุษ
ห้องสำหรับเก็บเครื่องดนตรีและเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมในเทศกาลกินเจ
ส่วนชั้นล่างเป็นร้านขายยาจีน และใช้เป็นที่อยู่อาศัย
ในส่วนที่อยู่ของพวกผู้หญิงจะแยกออกต่างหากออกไปทางด้านหลัง
เหนือบานหน้าต่างและประตูของตัวบ้านจะประดับด้วยปูนปั้นรูปต่าง ๆ
อาทิ ค้างคาว ใบตอง ผลทับทิม
ซึ่งช่างฝีมือชาวจีนท้องถิ่นเชื่อว่าจะนำความสุขและความโชคดีมาให้ผู้อาศัย
ข้อมูลและประวัติเพิ่มเติม
ฮกแซตึ้ง>>>
ปล.ทางไทยทัวร์ ขอขอบคุณ คุณป้าเสงียม
และลูกสาวที่อำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพและคลิปวิดีโอ
พร้อมข้อมูลเบื้องต้นให้กับทีมงาน |
|
----------------------------------------------
วัดจันทาราม
(วัดท่าซุง)
|
ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 5 กม.
ตามทางสาย 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ ประมาณ 12 กม.
เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก
ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพื้นบ้านเข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังเป็นเรื่องพุทธประวัติ
บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน มีศาลามณฑปแก้วที่สร้างขึ้นใหม่
รวมทั้งมีท่าเรือคอนกรีตริมฝั่งแม่น้ำเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทางน้ำ
วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2-3
แห่ง สิ่งที่เป็นโบราณวัตถุของวัดคือ ธรรมมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง
ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก
มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ มากมาย ซึ่งสร้างโดยพระราชมหาวีระ ถาวาโร
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
พระเถระที่มีชื่อเสียงเป็นบริเวณพุทธาวาสที่น่าชมมาก
พระอุโบสถใหม่สร้างสวยงามภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร
บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้
บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน
และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า
ยังมีศาลาอยู่หลายหลังสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกสมาธิและมีที่พักให้ด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
วัดจันทรารามหรือวัดท่าซุง>>> |
|
----------------------------------------------
เขื่อนวังร่มเกล้า |
ตั้งอยู่ที่บ้านใต้ ตำบลทุ่งใหญ่ เขตอำเภอเมือง
การเดินทางใช้เส้นทางจากอำเภอทัพทันไปอำเภอโกรกพระ ตามทางหลวงหมายเลข 3005
เป็นระยะทาง 8 กม. จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรัง 1.5 กม.
ถึงเขื่อนวังร่มเกล้า
เขื่อนนี้เป็นเขื่อนชลประทานขนาดเล็กกั้นแม่น้ำตากแดดหรือแม่น้ำสะแกกรังในเขตอำเภอเมืองอุทัยธานี
ทัศนียภาพบริเวณอ่างเก็บน้ำหน้าเขื่อนสวยงาม
|
----------------------------------------------
เมืองโบราณบ้านใต้
หรือบ้านได้ |
อยู่ตำบลทุ่งใหญ่ เลยท้ายเขื่อนวังร่มเกล้าไป
300 เมตร เป็นสถานที่พบซากโบราณสถานระฆังหิน
ฐานพระพุทธรูปยืนทำด้วยศิลา กำไลหิน พระพุทธรูปสำริด
สภาพเมืองยังคงมีแนวกำแพงดินเหลืออยู่บ้าง |
----------------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พักในอุทัยธานี |
|