เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยาของข้าราชการเมืองอุทัยธานี
และเป็นลานประหารนักโทษ
เป็นวัดที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมืองดงามจัดว่าสวยงามที่สุดในอุทัยธานี
สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงสมัยรัตนโกสินทร์
จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์
และตอนผจญมาร
ผนังข้างด้านบนเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับพัดยศ
กรอบหน้าต่างด้านนอกเป็นลายปูนปั้น
วิหารสร้างยกพื้นสูงกว่าโบสถ์
หน้าบันเป็นรูปช้างสามเศียร
ภายในมีแท่นสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีประมาณ
20 องค์
จัดเรียงอย่างมีระเบียบ
บนหน้าต่างด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นเรื่องรามเกียรติ์ประดับเป็นกรอบ
ประตูวิหารเป็นไม้จำหลักลายดอกไม้ทาสีแดงงดงามมาก
โบสถ์และวิหารมีพระปรางค์และเจดีย์เรียงรายอยู่
2-3 องค์
กำแพงรอบโบสถ์ของวัดนี้ก่อต่อกับฐานวิหารเพราะมีพื้นสูงกว่า
ประตูเป็นซุ้มแบบจีน
และด้านหลังโบสถ์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นเดียวกับด้านหน้า
มีกุฏิเล็กอยู่ติดก
ที่ตั้ง
ถนนศรีอุทัย
ตำบลอุทัยใหม่
ใกล้ตลาดเทศบาล
เมืองอุทัยธานี,
อุทัยธานี