|
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
|
ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก
ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ
1 กิโลเมตร
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมารได้เสด็จมาทรงเปิดเมื่อวันที่
2 กุมภาพันธ์ 2525
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์ของนครหริภุญชัยผู้ทรงมีคุณธรรม
และเป็นนักปราชญ์ผู้กล้าหาญ |
|
...................................................................
|
|
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร
มีถนนล้อมรอบสี่ด้านคือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้
ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในรัชสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
ต่อมาได้รับการบูรณะต่อเติมมาเป็นลำดับ
ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ
ซุ้มประตู
ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด
จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย
ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ
เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ
1 เมตร
สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม
วิหารหลวง
เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว
จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า วิหารหลวง
เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน
และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า
ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466
วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ
ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน
ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและยังมีพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์
พระบรมธาตุหริภุญชัย
(ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง)
เป็นพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์
เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆ ที่ลงตัวสวยงาม ประกอบด้วยฐานปัทม์
แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ
ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม
บัลลังก์ย่อเหลี่ยม
เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง
25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตตบัญชร
(รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น
สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือและทิศใต้
มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ
บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป
และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
พระบรมธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนาไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ในวันเพ็ญเดือน 6 จะมีงานนมัสการ และสรงน้ำพระบรมธาตุทุกปี
ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 1440
พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำ
บรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในและมีการสร้างเสริมกันต่อมาอีกหลายสมัย
ต่อมาในปี พ.ศ. 1986 พระเจ้าติโลกราช
กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ทรงกระทำการปฏิสังขรณ์บูรณะเสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่
การสร้างคราวนี้ได้สร้างโครงขึ้นใหม่เป็นรูปแบบลังกา
ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้
ทั้งนี้เพราะในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับลังกา
พระสุวรรณเจดีย์
ตั้งอยู่ทางขวาของพระบรมธาตุ
สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระนางปทุมวดี
อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราชภายหลังจากสร้างพระบรมธาตุเสร็จได้ 4
ปี พระสุวรรณเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปรางค์ 4 เหลี่ยม ฝีมือช่างละโว้
มีพระพุทธรูปประจำซุ้ม ฝีมือแบบขอมปรากฎให้เห็นอยู่บ้าง
ยอดพระเจดีย์มีทองเหลืองหุ้มอยู่ ภายใต้ฐานล่างเป็นกรุบรรจุพระ
ซึ่งเป็นพระเครื่องชนิดหนึ่ง
|
|
|
................................................................... |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย
|
ตั้งอยู่ถนนอินทยงยศเยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย
เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2470
โดยพระยาราชนกุลวิบูลย์ภักดีสมุหเทศาภิบาล
มณฑลพายัพ ต่อมา
กรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เสร็จเมื่อ
พ.ศ.2517
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อพ.ศ.2522
ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดแสดงโบราณวัตถุ
ศิลปะสมัยหริภุญชัย
ซึ่งมีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่
17-19 และศิลปะล้านนา
มีอายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่
19-25 เปิดทำการเวลา 09.00-16.00 น.
ปิดวันจันทร์ อังคาร
และวันนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท
ชาวต่างประเทศ 30
บาทสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร
(053) 511186
|
|
................................................................... |
วัดมหาวันวนาราม
|
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ
500 เมตร
เลียบไปตามคูเมืองเก่าด้านตะวันตก
มีตำนานการสร้างวัดว่า
วัดนี้สร้างมาแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองหริภุญชัย
สิ่งที่น่าชมคือ
พระพุทธรูปนาคปรกที่เชื่อกันว่าคือ
พระพุทธสิกขิ
หรือพระศิลาดำ
ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากกรุงละโว้
ปัจจุบันชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
พระรอดหลวง
หรือพระรอดลำพูน
ซึ่งมีความสำคัญและเป็นแบบพิมพ์ในการจำลองทำพระเครื่องที่ลือชื่อกรุหนึ่งคือ
พระรอดมหาวัน |
|
...................................................................
|
วัดจามเทวี
|
วัดจามเทวี
หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
วัดกู่กุด
ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี
ตำบลในเมือง
ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ
1.5 กิโลเมตร
ตามถนนสายลำพูน-สันป่าตอง
สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 1298
เป็นฝีมือช่างละโว้
ลักษณะพระเจดีย์ภายในวัดเป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย
แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ
ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย
ตามตำนานเล่าว่าเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ
ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี
พ.ศ. 1298
เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ
ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด
ยอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่า
กู่กุด
หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ
นอกจากนั้นยังมีรัตนเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร
สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่
17 โดยพระยาสรรพสิทธิ์
ฐานล่างสุดเป็นรูป 8
เหลี่ยม
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.40
เมตร สูงจรดยอด 11.50 เมตร
ตัวเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม
แต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นซุ้ม
ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน
ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์
|
|
................................................................... |
|
|
|
|
วัดพระยืน
|
ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดพระธาตุหริภุญชัย
ที่บ้านพระยืน
ตำบลเวียงยอง
ข้ามลำน้ำกวง
ไปทางสะพานท่าสิงห์
พระเจ้าธัมมิกราชกษัตริย์หริภุญไชยเป็นผู้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่
17
พระเจดีย์วัดพระยืนเป็นพระเจดีย์ทรงมณฑป
มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ
เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด
โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน
คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม
และพระเจดีย์วัดป่าสัก
จังหวัดเชียงราย |
|
...................................................................
|
|
กู่ช้าง-กู่ม้า
|
|
เป็นโบราณสถาน
ตั้งอยู่บริเวณชุมชนวัดไก่แก้ว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2
กิโลเมตร กู่ช้างเป็นสถูปทรงกระบอกปลายมน
เชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ชื่อ
ภูก่ำงาเขียว
ซึ่งหมายถึงช้างผิวสีคล้ำงาสีเขียวที่ทรงอานุภาพและอิทธิฤทธิ์ในสงคราม
ส่วนกู่ม้า เป็นสถูปทรงระฆัง
เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวี |
|
...................................................................
|
อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
|
ตั้งอยู่เชิงดอยติ
บริเวณวัดพระธาตุดอยติ
ตำบลป่าสัก
อำเภอเมืองลำพูน
ห่างจากตัวเมืองลำพูนประมาณ
5
กิโลเมตรตามถนนสายเชียงใหม่-ลำปาง
พระครูบาศรีวิชัยเป็นพระเถรเจ้า
นักพัฒนาแห่งล้านนาไทย
ผู้พัฒนาทั้งด้านจิตใจและด้านถาวรวัตถุให้แก่ชาวล้านนาไทยไว้อย่างอเนกอนันต์
ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงปี
พ.ศ. 2421-2481
ถิ่นฐานบ้านเดิมของท่านอยู่ที่
ตำบลแม่ตื่น อำเภอลี้
จึงเป็นความภูมิใจอย่างใหญ่หลวงของชาวลำพูน
ที่ได้เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา |
|
...................................................................
ศูนย์ศิลปหัตถกรรมผ้าไหมยกดอกเพ็ญศิริ
ตั้งอยู่ที่ถนนลำพูน-ดอยติประมาณ
1.5
กิโลเมตรจากตัวเมืองลำพูน
ตำบลเวียงยอง
เป็นสถานที่จัดแสดงและอนุรักษ์งานฝีมือผ้าไหมยกดอกซึ่งเป็นงานหัตถกรรมท้องถิ่นอันทรงคุณค่า
ภายในมีการสาธิตขั้นตอนการผลิตผ้าไหมยกดอก
การสาวไหม
การย้อมไหมและการทอ
ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้เป็นความรู้เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา
8.00-17.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร
(053) 537512-3
|
|
...................................................................
สวนสายน้ำแร่
ตั้งอยู่เลขที่
9 บ้านหนองหล่ม
ตำบลศรีบัวบานไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ลำปางประมาณ
7 กิโลเมตร
ที่นี่ท่านสามารถอาบน้ำแร่จากธรรมชาติ
รับประทานอาหารพื้นเมืองรสอร่อย
|
|
...................................................................
ดอยขะม้อ
อยู่ในเขตตำบลมะเขือแจ้
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ
20 กิโลเมตร
ตั้งอยู่หลังนิคมอุตสาหกรรมลำพูน
เป็นภูเขาไฟโบราณ
รูปทรงสัณฐานคล้ายฝาชี
บนยอดมีปล่องกว้าง 3 เมตร
ลึกประมาณ 6 เมตร สูง 58 เส้น
ตอนล่างเป็นบ่อ
มีน้ำตลอดปี
ประชาชนนับถือกันมาแต่โบราณว่า
เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
ห้ามผู้หญิงตัก
เมื่อถึงเทศกาลสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจะต้องตักน้ำจากบ่อนี้ไปปนกับน้ำพระราชทาน
แล้วจึงนำขึ้นสรงองค์พระธาตุและเมื่อพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
จะต้องนำน้ำในบ่อนี้อัญเชิญไปร่วมเป็นน้ำพุทธาภิเษก
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้ง
................................................................... |
|
บ้านหนองช้างคืน
เป็นแหล่งผลิตลำไยใหญ่ที่สุด
อยู่ก่อนถึงเมืองลำพูน 8
กิโลเมตร
โดยจะผ่านบ้านป่าเหวมีป้ายบอกทางเลี้ยวขวาเข้าบ้านหนองช้างคืน
ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง
ตรงเข้าไปประมาณ 7
กิโลเมตร
ก็จะถึงหมู่บ้านหนองช้างคืน
ตลอดสองฝั่งทางที่ลดเลี้ยวเข้าไปในหมู่บ้านจะเนืองแน่นไปด้วยสวนลำไย
ที่นี่จึงเป็นแหล่งผลิตลำไยที่สำคัญ
ในราวเดือนสิงหาคมของทุกปี
จะมีงานเทศกาลลำไยลำพูน
จัดขึ้นในอำเภอเมือง
ในงานนี้จะมีการประกวดรถประเภทสวยงามที่ประดับตกแต่งด้วยลำไย
ผลิตผลลำไยและธิดาลำไย
นับเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของภาคเหนือ
...................................................................
|
ลำพูนผ้าไหมไทย |
ลำพูนผ้าไหมไทย : ผ้าทอจากคุ้มเจ้าถึงชาวบ้าน
การทอผ้าไหมยกดอกของชาวลำพูนมีจุดเริ่มต้นใน "คุ้มเจ้า"
ซึ่งแต่เดิมแม้จะเคยมีการทอผ้าฝ้ายยกดอกกันอยู่ก่อนแล้ว
แต่ก็เป็นการทอยกดอกด้วยลวดลายธรรมดาไม่วิจิตรเท่าใดนัก จนกระทั่ง
พระราชชายาเธอเจ้าดารารัศมี ซึ่งเป็นพระญาติกับเจ้าเมืองลำพูน
ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอกที่มีลวดลายสวยงามแปลกตา
อันได้เรียนรู้มาจากราชสำนักสยาม
ให้แก่เจ้าหญิงส่วนบุญชายาของพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์
ผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย และเจ้าหญิงลำเจียก
ธีดาในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ให้เป็นผู้เริ่มทำก่อน
ต่อมาการทอผ้าไหมยกดอกจึงได้เผยแพร่ไปสู่สาธารณชนในวงกว้าง
ได้มีการฝึกหัดชาวบ้านในเขตอำเภอเมือง
และป่าซางให้มีความชำนาญในการทอผ้าไหมยกดอกเป็นอย่างดี |
|
................................................................... |
กาดขัวมุงลำพูน |
กาดขัวมุง ตั้งอยู่บริเวณบ้านศรีเมืองยู้ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง
ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภ ุญชัยวรมหาวิหาร
เที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านในเส้นทางถนนสายวัฒนธรรมชุมชนเวียงยอง
หมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายโดยฝีมือชาวบ้าน
ผ้าที่ผลิตจะเป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหมยกดอก รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฝ้ายอื่น ๆ
เป็นเส้นทางที่เหมาะกับการเดินเท้า หรือนั่งรถสามล้อถีบ
ชมสถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านอาทิ วัดต้นแก้ว พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
ศูนย์ทอผ้าพื้นเมือง เป็นต้น
ภายในชุมชนยังมีขัวมุงท่าสิงห์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อาทิ
ผ้าฝ้ายยกดอกลำพูน สินค้าตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ เป็นต้น
เปิดทุกวันเวลา 9.00-18.00 น. |
|
...................................................................
|