วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลาง เมืองลำพูน
มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน
ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ
ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในรัชสมัยพระเจ้าอาทิตยราช
ต่อมาได้รับการบูรณะต่อเติมมาเป็นลำดับ
ประวัติ
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗
ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้
เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ
เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ
ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว
--------------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พัก ลำพูน |
Gassan Marina
|
99 Moo 17
อำเภอเมือง จ. ลำพูน
โทร. 02-1641001
to
9 |
Gassan
Lake City
|
88 Moo7, อำเภอบ้านธิ, ตำบลบ้านธิ, ลำพูน โทร.
02-1641001
to
9 |
Gassan
Khuntan
|
222 หมู่ 3, อำเภอแม่ทา, ลำพูน โทร. 02-1641001
to
9 |
--------------------------------------------------------------------------
พระบรมธาตุหริภุญชัย
เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว
พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม
ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง
ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย
ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ
เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า-
ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน
มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้
ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์
ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก
ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ
เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้
โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่
การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ
จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา
ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. ๑๙๕๑ โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ.
๑๙๙๐ พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่
ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๙๒ ศอก กว้างยาวขึ้น ๕๒
ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน
|
|
ป้ายวัด
|
|
|
วิหารหลวง
|
|
|
พระประธาน
|
|
|
หอระฆัง
หอระฆัง
|
|
|
|
พระรอบองค์พระธาตุฯ
|
|
|
วิหารแดง
|
|
|
ซุ้มประตู
|
|
|
ซุ้มประตู
|
|
|
|
พระพุทธบาทสี่รอย (จำลอง)
|
|
|
พิพิทธภัณฑ์
|
|
|
พระสุวรรณเจดีย์
|
|
|
องค์พระธาตุ
|
|
|
|
พระธาตุ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พระเจ้าทันใจ
|
|
|
พระพุทธไสยาสน์
|
|
|
|
|
ดอกไม้ธูปเทียน
|
|
|
|
โบราณสถานที่น่าสนใจ
คือ
ซุ้มประตู
ก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณวัด ต้องผ่านซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร
เป็นฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้น ๆ
เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่า บนแท่น สูงประมาณ 1 เมตร
สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นใน สมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม
วิหารหลวง
เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้วจะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า
"วิหารหลวง" เป็นวิหารหลัง ใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน
และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า
ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล
และประกอบศาสนากิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระปฏิมาใหญ่ ก่ออิฐถือปูน
ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และพระพุทธ
ปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้น และชั้นกลางอีกหลายองค์
พระบรมธาตุหริภุญไชย
เป็นพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ (ตั้งอยู่ หลังวิหารหลวง)
เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆ ที่ลงตัวสวยงาม ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว
ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม
บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะ ใกล้เคียงกับพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่
สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร
(รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ
และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ
บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป
และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
พระบรมธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนาไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ในวันเพ็ญ เดือน 6 จะมีงานนมัสการ และสรงน้ำพระธาตุทุกปี ตามประวัติกล่าวเมื่อ พ.
ศ. 1440 พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนคร
ลำพูนได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำบรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในและมีการสร้างเสริมกันต่อมาอีกหลาย
สมัยต่อมาในปี พ.ศ. 1986 พระเจ้าติโลกราช
กษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ได้ทรงกระทำการปฏิสังขรณ์บูรณะ เสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่
การสร้างคราวนี้ได้สร้างโครงขึ้นใหม่เป็นรูปแบบลังกา ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้
ทั้งนี้เพราะในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้มีความสัมพันธ์กับลังกาอยู่มาก
พระสุวรรณเจดีย์
สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางขวาของพระบรมธาตุ สร้างขึ้น
โดยพระนางปทุมวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช ภายหลังเมื่อสร้างพระธาตุฯ
เสร็จแล้วได้ 4 ปี พระ สุวรรณเจดีย์องค์นี้เป็นรูปแบบพระปรางค์ 4 เหลี่ยม
ฝีมือช่างละโว้มีพระพุทธรูปประจำซุ้ม ฝีมือและแบบขอมหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง
ยอดพระเจดีย์มีทองเหลืองหุ้มอยู่ ภายใต้ฐานชั้นล่างเป็นกรุบรรจุพระเปิม
ซึ่งเป็นพระเครื่องชนิดหนึ่ง
|