ผาเกิ้ง เป็นชื่อของหน้าผาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน เพราะตั้งอยู่ระหว่างภูเขาสองลูกมาบรรจบกัน บางครั้งอาจจะมีผู้คนเรียกตรงนี้ว่าช่องบุญกว้าง แต่ชื่อที่เรียกติดปากชาวบ้านทั่วไป
คือ
ผาเกิ้ง ซึ่งมีความหมายว่า ผาที่มีลักษณะเหมือนพระจันทร์
เพราะที่บริเวณหน้าผานั้น
มีหินก้อนใหญ่เป็นชะง่อยยื่นออกไป ลักษณะครึ่งวงกลม ชาวบ้านมองดูแล้ว เหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
จึงเรียกผานี้ว่า ผาเกิ้ง คำว่า เกิ้ง เป็นคำภาษาอิสานแท้ ซึ่งชาวภาคอิสานเรียกดวงจันทร์ว่า อีเกิ้ง
ความสำคัญของผาเกิ้งนั้น มีความสำคัญต่อคนในท้องถิ่นมานานแล้ว เพราะเป็นเป้าหมายในการเดินทาง จากหุบเขาเขตภูเขียว(ทิวเขาเพชรบูรณ์)
มายังจังหวัดชัยภูมิ
เนื่องจากว่าเป็นเส้นทางลัดและสามารถเดินข้ามภูเขาที่ช่องบุญกว้างนี้นั่นเอง ซึ่งผาเกิ้งจะอยู่ฝั่งภูแลนคา
มีจุดที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพต่าง
ๆ
ที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องล่างได้อย่างชัดเจน
|
|
พระพุทธรูปชัยภูมิพิทักษ์
|
|
|
พระธาตุฯ
|
|
|
จุดชมวิวผาเกิ้ง
|
|
|
|
จุดชมวิวผาเกิ้ง
|
|
|
จุดชมวิวผาเกิ้ง
|
|
|
ผาเกิ้ง
|
|
|
|