อุทยานแห่งชาติตาดโตน
|
อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล
(แล)
ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ
ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ
อนุสาวรีย์แห่งนี้ชาวจังหวัดชัยภูมิได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงพระยาภักดีชุมพล
ผู้ก่อตั้งเมืองชัยภูมิ ซึ่งชาวชัยภูมิทั้งหลายเรียกท่านว่า "เจ้าพระยาแล" |
|
-----------------------------------------------------------------
ศาลเจ้าพ่อพระยาแล
|
ตั้งอยู่ริมหนองปลาเฒ่า ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ
ประมาณ 3 กม.
แยกเข้าไปจากถนนใหญ่สายชัยภูมิ-บ้านเขว้า
(ทางหลวงหมายเลข 225)
เลี้ยวขวาเข้าสู่ริมหนองปลาเฒ่า
ที่ริมน้ำแห่งนี้มีต้นมะขามใหญ่ ซึ่งกล่าวกันว่า
เจ้าพระยาแลถูกทหารเวียงจันทน์ฆ่าที่นี่เมื่อปี
พ.ศ. 2369 มีศาลสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่ใต้ต้นมะขาม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511
ชาวจังหวัดชัยภูมิได้พร้อมใจกันสร้างศาลพระยาภักดีชุมพล
ขึ้นประดิษฐานรูปหล่อของท่านไว้ภายใน
เพื่อเป็นที่เคารพสีกการะของชาวเมืองชัยภูมิ
ทุกปีจะมีงานสักการะเจ้าพ่อพระยาแล
ตั้งแต่วันพุธแรกของเดือน 6 มีกำหนด 7 วัน 7 คืน |
|
-----------------------------------------------------------------
ปรางค์กู่
|
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว
ตำบลในเมือง เขตอำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กม.
คือ จากจังหวัดชัยภูมิมาตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กม.
จะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่เป็นระยะทาง 2 กม.
ปรางค์กู่เป็นปราสาทอีกแห่งหนึ่ง
ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล
ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 นั่นคือ
มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์
วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง
ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปะรุเฉพาะด้านหน้าทั้งหมดก่อด้วยศิลาแลง
ยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1
สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก
โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร
ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3
ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่
จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางสมาธิเหนือหน้ากาล
ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลัก
รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา
ด้านหน้ายังมีทับหลังเช่นกัน
สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน
แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมี
พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวารวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 75
เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบ สถาปัตยกรรมอื่นๆ เช่น เสาประดับประตู |
|
-----------------------------------------------------------------
ภูแฝด |
เป็นเนินเขาเตี้ยๆ
มีรอยพระพุทธบาทในก้อนหินคล้ายๆ พระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี
ในท้องที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง
หางจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 18 กม.
(เส้นทางเดียวกับภูพระ) แยกขวาเข้าไปประมาณ 5 กม. มีต้นไทร
สนฉัตร ต้นจำปา และพันธุ์ไม้นานาชนิด
ทางเข้าวัดทั้งสองข้างมีต้นไม้ร่มรื่นยิ่งนัก
หากจะชมรอยพระพุทธบาท สามารถขอกุญแจจากแม่ชีที่วัดได้ |
|
-----------------------------------------------------------------
ภูพระ
|
ภูพระ ตั้งอยู่ที่บ้านนาไกเซา
ตำบลนาเสียว เขตอำเภอเมือง การเดินทางจากตัวเมืองชัยภูมิ
มาตามทางหลวงหมายเลข 201 (ชัยภูมิ-ภูเขียว) ประมาณ 13 กม.
เลี้ยวซ้ายตามทางสายนาเสียว-ห้วยชัน เข้าไปประมาณ 5 กม.
ถึงแยกซ้ายเข้าวัดศิลาอาสน์ (ภูพระ) อีกประมาณ 1 กม.
รถยนต์แล่นได้ตลอดถึงลาดเขาเป็นทางลูกรังอัดแน่น ภูพระ
เป็นภูเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง
ที่ผนังของลาดเขาจำหลักเป็นภาพพระพุทธรูปกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งคือที่มาของชื่อเขาภูพระ ด้านซ้ายจำหลัก
เป็นพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่งประทับนั่งขัดสมาธิเพชร
หน้าตัดกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา
พระหัตถ์ซ้ายพาดอยู่ที่พระชงฆ์
(พระหัตถ์อยู่ในท่าตรงข้ามกับปางมารวิชัย) เรียกกันว่า
พระเจ้าตื้อ ถัดมาด้านซ้ายมือมีลักษณะเป็นเสาหิน
รอบเสาจำหลักเป็นพระพุทธรูปอีก 7 องค์
ประทับนั่งเรียงแถวขนาดใหญ่เล็กลดหลั่นกัน ปางสมาธิ 5 องค์
ปางเดียวกับพระเจ้าตื้อ 2 องค์ ล้วนขัดสมาธิเพชร
นอกจากนี้ระหว่างกลางที่ผนังยังมีพระพุทธรูปสลักลักษณะเดียวกันอีก
1 องค์ ขนาดเล็กสูงประมาณ 7 นิ้ว
พระพุทธรูปเหล่านี้มีพระพุทธลักษณะเป็นแบบพระพุทธรูปอู่ทอง
มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-19 ร่วมสมัยอยุธยาตอนต้น
ทุกๆ ปีมีงานนมัสการพระพุทธรูปที่ภูพระ ในกลางเดือน 5
เริ่มต้นวันขึ้น 14 ค่ำ รวม 3 วัน ทุกปี |
|
-----------------------------------------------------------------
ใบเสมาบ้านกุดโง้ง
|
ตำบลกุดต้ม เขตอำเภอเมือง
การเดินทางจากจังหวัดชัยภูมิตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กม.
ถึงบ้านกุดตุ้ม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางสายกุดตุ้ม-บุ้งคล้า
เข้าไปตามทางจนถึงหมู่บ้านกุดโง้ง และต่อไปถึงวัดกุดโง้ง
เป็นสถานที่รวบรวมใบเสมาที่พบในบริเวณรอบๆ
หมู่บ้าน
โดยนำมาเก็บรักษาไว้ในอาคารไม้ที่ปลูกสร้างทางด้านซ้ายของโรงเรียนบ้านกุดโง้ง
ใบเสมาทั้งหมดทำด้วยหินทราย มีลักษณะเป็น แผ่นขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายมนแหลม
ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย
เฉพาะที่สลักลวดลายเก็บรักษาไว้ในอาคาร
ชนิดแผ่นเรียบและรูปสถูปปักไว้ที่พื้นด้านนอก
ลวดลายที่ปรากฎบนใบเสมามักเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ
เช่น พรหมนารอทชาดก หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น
ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว
ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์
หรือรูปสถูปซึ่งมักปักดินอยู่นอกอาคารเห็นเพียง ยอดสถูป
ส่วนองค์ระฆังรูปหม้อน้ำคงจะฝังอยู่ใต้ดิน
นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน
นอกจากนี้ระหว่างทางเข้าหมู่บ้านซ้ายขวาของถนน ยังมีเสมาหินทรายขนาดต่างๆ
กันปักอยู่เป็นระยะ |
|
-----------------------------------------------------------------
น้ำตกผาเอียง
|
อยู่ในท้องที่อำเภอเมือง
ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 32
กม.ตามทางหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง)
เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีลักษณะเป็นหน้าผาเอียงตัดลำห้วย
และทำให้น้ำตกเอียงเข้าทางผาด้านใดด้านหนึ่ง
เป็นน้ำตกที่อยู่ด้านทิศตะวันตก ของอุทยานแห่งชาติตาดโตน
ที่ลำห้วยชีลอง
บริเวณรอบน้ำตกนี้เป็นป่าดงดิบแล้งค่อนข้างหนาทึบ
และยังมีไม้ขนาดใหญ่อยู่มาก ทำให้บรรยากาศร่มรื่น
เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอย่างยิ่ง |
|
-----------------------------------------------------------------
น้ำตกตาดฟ้า |
ตาดฟ้าหรือถ้ำเตี้ย
เป็นถ้ำเล็กๆ อยู่เชิงเขาภูอีเฒ่า
และมีน้ำตกเป็นลานหินลาดชันกว้างประมาณ 15-20 เมตร ยาวโดยตลอด
80-90 เมตร ลาดชันประมาณ 30 องศา มีน้ำไหลตลอดปี
มีแอ่งน้ำให้อาบหรือเล่นได้ อยู่ในท้องที่ตำบลนาเสียว
อำเภอเมือง ห่างจากจังหวัดไปทางทิศเหนือ ประมาณ 25 กม.
ตามทางหลวงหมายเลข 201 |
|
-----------------------------------------------------------------
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
เป็นอุยานแห่งชาติแห่งใหม่ที่ยังไม่ได้ประกาศจัดตั้งอย่างเป้นทางการ
ครอบคลุมพื้นที่ในส่วนภูแลนคา ภูคำน้อย ครอลคลุมพื้นที่4อำเภอ คือ
อำเภอเมือง บ้านเขว้า หนองบัวแดง และเกษตรสมบูรณ์
มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ เช่น ทุ่งดอกกระเจียว
วุ้มประตูหินธรรมชาติ น้ำตกตาดหินดาด ถ้ำพระ ผาแล ลานหินแตก ผากล้วยไม้
เป็นต้น แต่ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดคือ มอหินขาว |
|
-----------------------------------------------------------------
มอหินขาว
|
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
เป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม
โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่
และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว
และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา
ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร
นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์
หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่
1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป
แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป
และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่ 3
ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก
โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก
และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
ที่มาของชื่อ มอหินขาว: เดิมพื้นที่แถวนี้เป็นป่า
ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่
และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร
ที่ไร่มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น)
ของลุงก็มีก้อนหินใหญ่ขึ้นทั่วไป
แต่ที่ลุงเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน
ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ, 8 ค่ำ)
จะมีแสงสีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น
เลยเรียกที่นี่ว่ามอหินขาวสโตนเฮนจ์ เมืองไทย“เสาหินและแท่งหิน
ที่มอหินขาวส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี
หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง
ซึ่งสันนิษฐานว่าก้อนหินขนาดยักษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 175-195
ล้านปี และเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียว
กลุ่มหินของมอหินขาวกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ
กลุ่มหินแรกที่มีเสาหินขนาดใหญ่ 5 ต้นเรียงรายกันอยู่
เสาหินเหล่านี้มีความสูงราว 12เมตร
ต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้คนโอบไม่น้อยกว่า 20 คน
เชื่อว่าที่นี่จะได้รับความนิยมในบ้านเราในเวลาไม่นานนัก
สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูแลนคา โทร.
044810902-3 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
โทร.025620760 |
|
-----------------------------------------------------------------
สระหงษ์
|
สระหงษ์
อยู่ในบริเวณวัดเขาสระหงษ์ เป็นสระโบราณอยู่กลางเนินเขาเตี้ยๆ
กว้างประมาณ 5 วา ห่างจากสระนี้ประมาณ 3 เมตร
มีหินก้อนหนึ่งลักษณะคล้ายรูปหงษ์ ซึ่งเป็นเองโดยธรรมชาติ
อยู่ในท้องที่ตำบลตาเสียว อำเภอเมือง
ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 12
กม.ตามทางหลวงหมายเลข 2051 ทางด้านซ้ายมือ
(ทางแยกเข้าอ่างเก็บน้ำช่อระกา) |
|
|