หลักเมืองสุรินทร์
เป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทาง ทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร
หลักเมืองสุรินทร์นี้เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานาน กว่าร้อยปี
เมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็น
ไม้ชัยพฤกษ์มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517
-----------------------------------------------------------------
อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511
เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้างเมืองท่านแรก ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ
อย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์
อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้
ตรงบริเวณหลักกม.ที่ 0 ที่ถนน สุรินทร์-ปราสาท
เป็นบริเวณที่เคยเป็นกำแพงเมืองชั้นใน ของตัวเมืองสุรินทร์
อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็น
การแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถของท่านใน
การบังคับช้างศึกและเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์
เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์
รูปปั้นสะพายดาบคู่อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบ
ความกล้าหาญอันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์
อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528
-----------------------------------------------------------------
หลวงพ่อพระชีว์
(หลวงพ่อประจี) วัดบูรพาราม
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก
ประดิษฐาน ณ วัดบูรพาราม ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง
อยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัด
หลวงพ่อพระชีว์องค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด
แต่คาดว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม เป็นที่เคารพบูชา นับถือ
และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของ เมืองสุรินทร์
วัดบูรพารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี
หรือในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่าๆ
กับอายุเมืองสุรินทร์
สร้างโดยพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกวัดบูรพารามขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520
-----------------------------------------------------------------
ห้วยเสนง
เป็นอ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทาน
อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนสายสุรินทร์-ปราสาท(ทางหลวงหมายเลข
214) ประมาณ 5 กม. บริเวณหลักกม.ที่ 5-6
แยกซ้ายมือไปทางถนนริมคลองชลประทาน ประมาณ 4 กม.
ห้วยเสนงนี้เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีสันเขื่อนสูง สันเขื่อนเป็นถนนราดยาง
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสุรินทร์
และภายในที่ทำการชลประทานมีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
-----------------------------------------------------------------
วนอุทยานพนมสวาย
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 22 กม.
ถนนราดยางสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ระยะทาง 14
กม. และมีทางแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 6 กม. อยู่ในท้องตำบลนาบัว
อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นภูเขาเตี้ยๆ มียอดเขาอยู่ 3
ยอด ยอดที่ 1 มีชื่อว่ายอดเขาชาย (พนมเปราะ) สูง 210 เมตร
เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูน ขึ้นถึงวัด
มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ปางประทานพร ภปร. ยอดที่ 2
มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร
ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานไว้ ยอดที่ 3
มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคม
จังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี
แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง
จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15
ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525
ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นวนอุทยานแล้ว
บรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ
โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5
ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาว จังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
ปราสาทเมืองที
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1
ตำบลเมืองที ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออก
ประมาณ 16 กม. ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีขรภูมิ
เส้นทางหลวงหมายเลข 226
เลี้ยวขวาเข้าไปในซอยประมาณ 0.5 กม.
ปราสาทเมืองทีมีลักษณะเป็นปรางค์ รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมก่อด้วยอิฐถือปูน
5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 องค์ |
|
|