ศาลหลักเมือง |
|
ตั้งอยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด
เป็นอาคารจตุรมุข (4 หน้า)
ตัวศาลสูงจากพื้นประมาณ
1.5 เมตร
ภายในศาลเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพพุ่มข้าวบิณฑ์
ก้านแย่งสวยงามมาก
ศาลหลักเมืองจังหวัดอ่างทองเป็นศาลหลักเมืองแห่งที่
2
ที่มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง
4 ด้าน (ศาลหลักเมืองแห่งแรกที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
คือ ศาลหลักเมือง
กรุงเทพฯ)
ศาลหลักเมืองอ่างทองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สวยงาม
สมกับเป็นหลักชัย
และหลักใจของประชาชนชาวอ่างทองอย่างยิ่ง
ผู้ที่มีโอกาสไปเยือนจังหวัดนี้ไม่ควรละเว้นที่จะไปเคารพสักการะศาลหลักเมืองและหาของดี
เมืองอ่างทองบริเวณศาลเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต |
.............................................................
วัดอ่างทองวิหาร
|
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
ตั้งอยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด
เดิมเป็นวัด เล็กๆ 2 วัด
ชื่อวัดโพธิ์เงิน
และวัดโพธิ์ทอง
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4
ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 5
โปรดเกล้าฯ
ให้รวมเป็นวัดเดียวกัน
เมื่อ พ.ศ. 2443
แล้วพระราชทานนามว่า "วัดอ่างทอง"
วัดนี้มีพระอุโบสถที่งดงามยิ่งนัก
พระเจดีย์ทรงระฆังประดับด้วยกระจกสีอย่างสวยงาม
และหมู่กุฏิทรงไทยสร้างด้วยไม้สักงดงามเป็นระเบียบล้วนเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมตามแบบสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
|
|
.............................................................
วัดราชปักษี |
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกตามเส้นทางหลวงหมายเลข
309 (สายอ่างทอง-อยุธยา) กิโลเมตรที่ 5253
จากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 3 - 4 กิโลเมตร
ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย
สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา
เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมากปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่
และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราว พ.ศ. 2163
เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ต่อมาเมื่อใกล้จะพังลงน้ำ พระมหาวิเชียร ขันนาค
พร้อมด้วยพุทธบริษัทได้ช่วยกันเลื่อนเข้ามาประดิษฐาน ไว้ ณ
ที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2490
ต่อมาได้ชักชวนกันสร้างพระวิหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงทำการฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2502
เพราะเหตุที่ผ่านอุปสรรคจากกิเลสมารตลอด รอดมาได้ อย่างราบรื่น
จึงพร้อมใจกันถวาย พระนามนิมิตรว่า พระรอดวชิรโมลี
เพื่อเป็นที่สักการะเคารพบูชาอันศักดิ์สิทธิ์
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดกาล 5,000 พรรษา |
|
.............................................................
บ้านทรงไทยจำลอง |
ส่วนประกอบบ้านทรงไทย
เครื่องเรือนไม้ตาล เป็นฝีมือเชิงช่างที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ นอกจาก
จะมีการจัดสร้างที่สวยงามแล้วยังคงความเป็นไทยไว้อย่างน่าสนใจ
เป็นแหล่งทำส่วนประกอบของบ้านทรงไทยทุกชนิด
มีการประดิษฐ์บ้านทรงไทยจำลองที่ย่อส่วนจากของจริง
และยังมีสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ตาล
การเดินทาง
ตามเส้นทางสายอยุธยา-ป่าโมก
และตำบลโพสะ |
.............................................................
วัดสุวรรณเสวริยาราม
|
อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออกในท้องที่ตำบลตลาดกรวด
จากศาลากลางจังหวัด
ไปตามถนน
คลองชลประทานประมาณ 3 กม.
มีพระพุทธไสยาสน์ขนาดองค์พระยาวประมาณ
10 วา
ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารและโบราณวัตถุสถานต่าง
ๆ ที่มีอายุราว 100 ปี |
.............................................................
วัดต้นสน
|
อยู่ริมฝั่งฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ตรงข้ามกับวิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง
เป็นวัดเก่าแก่โบราณ
ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ
เรียกว่า "สมเด็จพระศรีเมืองทอง"
ขนาดหน้าตักกว้าง 6 วา 3
ศอก 9 นิ้ว สูง 9 วา 2 ศอก 19
นิ้ว
มีพุทธลักษณะที่สวยงามมากอีกองค์หนึ่ง
นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะที่ใหญ่
ที่สุดองค์แรก
ประวัติและรูปภาพเพิ่มเติม วัดต้นสน >>> |
|
|
|