พระบรมมหาราชวัง |
|
รัชกาลที่ 1 ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีที่กรุงเทพฯ เมื่อ
พ.ศ. 2325 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ โดยให้ถือ
แนวการก่อสร้าง แบบกรุงศรีอยุธยา
โดยประกอบด้วยพระมหาปราสาทพระราชมณเฑียรสถานและวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีเนื้อที่
132 ไร่สร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2328
ในรัชกาลต่อๆมา ได้มีการสร้าง พระที่นั่งองค์ต่างๆ
เพิ่มอีกหลายองค์ พระที่นั่งที่สำคัญๆในพระบรมมหาราชวัง ได้แก่
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทพระที่นั่งราชกรัณยสภา
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย
พระที่นั่งดุสิตดาภิรมย์หอศาสตราคม พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นต้น
พระบรมมหาราชวังเปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30-11.30 และ 13.00-15.30 น.
ชาวต่างประเทศ เสียค่าเข้าชมคนละ 100 บาท ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม
|
|
-------------------------------------------
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท |
|
เดิมชื่อพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท
เป็นพระมหาปราสาทองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์
สมเด็จพระอัครมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น
พระราชพิธีการมงคล และบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ
|
|
-------------------------------------------
พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท |
เป็นพระที่นั่งโถงทรงปราสาทจตุรมุขประกอบเครื่องยอดบุษบก
โดยมุขรี(ด้านยาว)สั้นกว่ามุขด้านสกัด(ด้านกว้าง)มีเชิงเทินเกยเทียบพระยานคานหาม
ตั้งอยู่ระหว่าง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ด้านหน้าพระที่นั่งราชกรันยสภา
ภายในพระบรมมหาราชวังชั้นกลาง
เดิมทีใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีโสกันต์(โกนจุก)
และยังเคยใช้เป็นที่ประทับเกยเสด็จบนพระราชยานคานหามด้วย
นอกจากนี้ ความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมไทยแท้นี้
ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปกรรมประจำชาติแขนงหนึ่งในหลายๆแขนง
ที่เรียกกันว่า ศาลาไทย |
|
-------------------------------------------
พระที่นั่งพิมานรัตยา |
สร้างเมื่อ พ.ศ.
2332 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงใช้เป็นที่บรรทม
และทรงใช้เป็นที่ชุมนุมมหาสมาคมสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์
และข้าราชบริพารฝ่ายในเข้ารับพระราชทานเครื่องอิสริยยศ
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และนอกจากนั้นยังเป็นที่สรงน้ำพระบรมศพพระบรมวงศานุวงศ์ก่อนที่จะประดิษฐานพระบรมโกศในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท |
-------------------------------------------
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท |
สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ
พ.ศ. 2419 ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะชั้นพระราชาธิบดี
หรือชั้นประมุขของรัฐ นอกจากนี้ยังมีหมู่พระที่นั่งสำคัญอื่น ๆ
เช่น พระที่นั่งราชกรัณยสภา พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์
พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ฯลฯ |
|
-------------------------------------------
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
หรือ วัดพระเแก้ว | |
อยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ 1
ทรงสร้างพร้อมพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่นิยมเรียกว่า พระแก้วมรกต วัดนี้จึง
นิยมเรียกกันว่าวัดพระแก้ว มีพระ
อุโบสถงดงามมากที่ระเบียง
รอบวัดมีภาพเขียนฝาผนังรามเกียรติ์สวยงามสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ
ก็มีหอพระคันธราช ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์นครวัดจำลอง
ฯลฯ |
|
-------------------------------------------
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ
และเหรียญกษาปณ์ |
|
ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวังด้านขวามือก่อนถึง
ทางเข้าพระราชวังส่วนในจัดแสดงเหรียญกษาปณ์
และเงินตราที่ใช้ในประเทศไทยรวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักฝ่ายในเปิดให้เข้าชมทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 225-0968
พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแตเวลา 08.30-15.30 น.
ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม (สำหรับชาวต่างประเทศเสียค่าเข้าชม 125 บาท
ซึ่งรวมบัตรเข้าชมศาลาเครื่องราชอิสริยยศ และเหรียญกษาปณ์ ค่าเข้าชม
พระที่นั่งวิมานเมฆ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.222-0094,
222-2208, 222-6889 และ 224-3273
|
|
-------------------------------------------
สนามหลวง
หรื่อทุ่งพระเมรุ |
เป็นลานโล่งอยู่ใกล้กับกำแพงพระราชวังหลวง
และติดกับกำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออก เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ
บริเวณนี้เป็นที่ทำนาของประชาชน
และยังใช้เป็นที่ตั้งพระเมรุเผาศพของเจ้านายจึงเรียกกันติดปากว่า
"ทุ่งพระเมรุ"
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่านามนี้ไม่เป็นมงคล
จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกใหม่ว่า "ท้องสนามหลวง"
และยกเลิกการทำนาในบริเวณนี้
สืบมาจนในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อสนามหลวงให้กว้างดังเช่นปัจจุบัน
สนามหลวงมีเนื้อที่ 78 ไร่
ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชพิธีการกีฬา
ทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกตันมะขามไว้โดยรอบสนามหลวง จำนวน
365 ต้นอีกด้วย |
|
-------------------------------------------
ศาลหลักเมือง |
ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อจะสร้างบ้านเมืองต้องมีการฝังเสาหลักเมือง
ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาติไทย รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้จัดการพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325
บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายในเสาหลักเมือง
เดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร สูง 27
เซนติเมตร แต่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4
แทนของเดิมที่ชำรุดเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง 108 นิ้ว
ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว
ตั้งอยู่ภายในอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปสำคัญ คือ เทพารักษ์
เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์
และพระกาฬไชยศรี |
|
-------------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระนคร |
เดิมสถานที่นี้เป็นวังหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นพร้อมกับวังหลวง มีพระที่นั่งที่สำคัญ ได้แก่
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติขึ้นที่ศาลาสหทัยสมาคม เรียกว่า
"มิวเซี่ยม" แล้วจึงย้ายมาไว้ที่วังหน้าของกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งบางส่วน
กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และบริเวณข้างเคียงมีโรงเรียนช่างศิลป์
วิทยาลัยนาฏศิลป์ และโรงละครแห่งชาติอยู่ในบริเวณเดียวกัน
สิ่งที่น่าสนใจนอกจากพิพิธภัณฑ์แล้วยังมีวัดบวรสถานสุทธาวาส
ตั้งอยู่ภายในบริเวณวังหน้าใกล้กับโรงเรียนช่างศิลป์ วัดนี้เรียกกันว่า
"วัดพระแก้ววังหน้า" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุต่าง ๆ
มากมาย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย และชาติเพื่อนบ้าน
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร
และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท
ชาวต่างประเทศ 40 บาท
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 224-1333 และ 224-1404
|
|
-------------------------------------------
อนุสาวรีย์ทหารอาสา |
ตั้งอยู่ ณ มุมสนามหลวงด้านเหนือ
เป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทยที่ไปร่วมรบในสมรภูมิ ยุโรป
เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2457
ประเทศไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับเยอรมัน
และได้ส่งทหารอาสาไปในสมรภูมิในยุโรป เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2461
ได้เดินทางกลับ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2462
และได้นำอัฐิทหารอาสาที่เสียชีวิตมาบรรจุ ณ อนุสาวรีย์นี้ เมื่อวันที่ 24
กันยายน พ.ศ. 2462
|
|
-------------------------------------------
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย |
อยู่ที่ถนนราชดำเนิน
สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อนุสาวรีย์นี้ออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป
พีระศรี เริ่มลงมือก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 มีพิธีเปิด
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ตรงกลางประดิษฐานพานรัฐธรรมนูญ
มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน
|
|
-------------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
หอศิลป |
|
อยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า
เป็นศูนย์รวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะทั้งแบบ ประเพณีไทยโบราณ
และแบบสากลร่วมสมัยของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยทั้งในอดีต
และปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีภาพเขียนสีน้ำมันฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
9 ติดตั้งแสดงอยู่ด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์
อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30
บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 281-2224 และ
282-2639 |
|
|