หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ
เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน
เจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม
ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์
การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์
ซึ่งตรงกับประวัติ การตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า
สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำ สิงห์ ท้าวคำผา
ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์)
ต่อมาได้อพยพผู้คนภาย ใต้ การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319
มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้
ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81
เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัว หงาย
เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน
ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็ก แซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น
รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อยและ
ทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำทุกปี ในเดือนมีนาคม