มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
โดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึง ความสามัคคีของหมู่คณะ
และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดล
บันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ต่อมาในปี
พ.ศ. 2522 ทางเทศบาลเมืองยโสธร
และคณะกรรมการจังหวัดยโสธรได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้น
เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ประเพณีนี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
ทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยกำหนดวันงาน แน่นอนทุกปี
พิธีกรรมบั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่
จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง
ว่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ
นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้ว จึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ
ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูป หัวพญานาคอ้า
ปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่นๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการ
ขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้น จะนำมาตั้งบนฐาน
ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณี
บั้งไฟที่จัดทำมีหลายชนิดคือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน
บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของ ดินประสิว 1 กิโลกรัม
บั้งไฟหมื่นกิโลก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว 10 หมื่น
หรือ 120 กิโลกรัม
เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำหรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง
ช่างที่ทำ บั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิว
กับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้ง ไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า
สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่ทีลำปล้องตรงกันเสมอกัน
จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน
สำหรับขบวนเซิ้งบั้ง ไฟนั้นมีความยาวหลายกม.
ในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง
ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คน ทำจะถูกจับโยนลงในโคลน
ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา