หนองหาน
เป็นทะเลสาบน้ำจืด
ที่มีชื่อเสียงและกว้างใหญ่มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย
มีเนื้อที่ประมาณ 123 ตร.กม. เป็นที่รวมของลำห้วยต่าง ๆ
หลายสายและยังเป็นต้นน้ำของลำน้ำก่ำซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอธาตุพนม
จังหวัดนครพนม
เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญทางด้านการเพาะปลูกการเลี้ยงสัตว์
การประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชนรอบหนองหาน
ระดับน้ำในหนองหานลึกประมาณ 3 - 8 เมตร
ในบริเวณหนองหานมีเกาะต่างๆ กว่า 20 เกาะ เช่นเกาะดอนสวรรค์
ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บนเกาะมีวัดร้าง
และพระพุทธรูปเก่าแก่ นอกจากนั้นตามเกาะต่างๆ
เหล่านี้จะมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย
เป็นที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด บางเกาะได้สร้างศาลาพักร้อน
เช่น เกาะแก้ว เกาะดอนสะคาม และเกาะดอนสะทุง ฯลฯ
ซึ่งในเวลากลางวันสาหร่ายซึ่งอยู่ใต้พื้นน้ำ
เมื่อแดดส่องลงในน้ำจะเห็นสาหร่ายเป็นสีทอง |
|
-----------------------------------------------------------------
|
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
ตั้งอยู่ติดกับหนองหานบริเวณตำบลธาตุเชิงชุม ในตัวเมือง
มีเนื้อที่ประมาณ 120 ไร่
ได้รับอนุมัติให้จัดสร้างขึ้นเป็นแห่งที่ 10 ของประเทศไทย
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ได้เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดสวนฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
2530 มีลักษณะเป็นสวนล้อมสระน้ำขนาดใหญ่ ชื่อสระพังทอง
เป็นสระโบราณ
เชื่อกันว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างพระธาตุเชิงชุม
ภายในบริเวณสวนประกอบด้วยสวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนป่า สวนน้ำ
สวนหิน สวนออกกำลังกาย และน้ำพุที่สูงราว 69 เมตร
ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ได้อีกด้วย
สวนแห่งนี้เปิดตั้งแต่เวลา 04.00 - 21.00 น.
นอกจากนั้นยังมีสวนเทิดพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี
สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 60 เมื่อ พ.ศ. 2536
เป็นสวนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นที่ ประมาณ 80 ไร่
อยู่ที่บ้านหนองบัวใหญ่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กม.
ตามทางหลวงหมายเลข 22 เส้นทางสายสกลนคร - บ้านธาตุ
แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร
จะถึงบริเวณสวนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ดอนขาม ดอนลังกา
ภายในบริเวณประกอบด้วยสวนพฤกษชาตินานาพันธุ์ ศาลาพักร้อน น้ำพุ
จุดชมวิว ที่อาศัยของนกนานาชนิด
และยังเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวสกลนครซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน |
|
-----------------------------------------------------------------
สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด |
ตั้งอยู่ในสถานีประมงน้ำจืด ถนนใสสว่าง
ภายในจัดแสดงและให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ ที่ค้นพบในภาคอีสานเช่น
ปลาเผือก ปลาหอม ปลาเสือตอ ปลาออสก้าลาย ปลาจันทร์เทศ เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร |
อยู่ภายในสถาบันราชภัฎสกลนคร ถนนนิตโย
ตำบลธาตุนาแวง เป็นที่แสดงสิ่งของ เครื่องใช้ของชนเผ่าต่าง ๆ
พร้อมภาพประวัติและเอกสารแสดงความเป็นมาทางศิลปวัฒนธรรม ติดต่อให้เข้าชมโทร.
(042) 711274 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
-----------------------------------------------------------------
|
|
|
พระธาตุดุม
อยู่ที่วัดพระธาตุดุม
บ้านธาตุดุม ตำบลงิ้วดอน ถนนสาย รพช. ทางไป โรงเรียนพัฒนาศึกษา
ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กม.
มีปรางค์องค์เดียวสร้างด้วยศิลาแลงสมัยเดียวกับพระธาตุนารายณ์เจงเวง
แต่องค์ปราสาทเล็กกว่ามีเพียงยอดเดียวไม่มีฐานรองรับ
พบทับหลังทั้ง4 ด้าน
ด้านทิศเหนือเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์นอกจากนี้ยังมีภาพเทวดาทรงพาหนะเหนือหน้ากาลประกอบด้วยสัตว์ต่าง
ๆ เช่น ช้าง สิงห์ และลายใบไม้ม้วน การกำหนดอายุ
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ศิลปะเขมรแบบบาปวน |
|
-----------------------------------------------------------------
พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส
เดินทางไปตามถนนสุขเกษมจนถึงศูนย์ราชการจังหวัดมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ
250 เมตร
ตัวพิพิธภัณฑ์มีลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ประยุกต์สร้างด้วยกระเบื้องดินเผา
ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อเหมือนองค์ของพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโตในท่านั่งสมาธิ
และมีตู้กระจกบรรจุอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นแก้วผลึกใสสีขาว
ยกฐานสูงพื้นปูด้วยหินอ่อน พร้อมทั้งตู้แสดงเครื่องอัฐบริขาร
รวมทั้งประวัติความเป็นมาของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว ที่ตำบลโขงเจียม
จังหวัดอุบลราชธานี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี
และอุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี
ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในปฏิมาธุดงด์กรรมฐานเป็นวัตรมีพระในสายเดียวกับท่านอีกหลายองค์
ที่ได้เข้ามาปฏิบัติและฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวของท่าน เช่น หลวงปู่ฝั้น
อาจาโร หลวงปู่ขาว อาลนาโยหลวงปู่แหวน สุจินต์โน เป็นต้น
ในระยะหลังท่านเริ่มมีอาการป่วยบ่อย
จึงย้ายจากการธุดงด์กรรมฐานเข้ามาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส
และมรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
|
|
-----------------------------------------------------------------
ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง |
ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง
บ้านธาตุ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กม. โดยใช้เส้นทางสายสกลนคร - อุดรธานี
ทางหลวงหมายเลข 22 ถึงบริเวณบ้านธาตุซึ่งอยู่ก่อนถึง
สี่แยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อยแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 400 เมตร
เป็นพระธาตุประกอบด้วยปรางค์องค์เดียว สร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่
สลักลวดลายลงบนเนื้อหิน มีทับหลังจำหลักภาพพระกฤษณะฆ่าสิงห์ ในรูปแบบศิลปะเขมร
สมัยบาปวน ลักษณะคล้ายกับปราสาทหินของขอมที่ปรากฏหลายแห่งภาคอีสาน
ลวดลายสลักหินบนซุ้มประตู
หน้าต่างยังมีลักษณะสมบูรณ์ปรากฏชัดซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฝีมือของผู้หญิงสร้างทั้งหมด
เพื่อแข่งขันกับผู้ชายที่สร้างพระธาตุภูเพ็ก
รูปแบบและศิลปะกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16
งานประเพณีของพระธาตุเจงเวงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ - 15 ค่ำ เดือน 4
ของทุกปี
-----------------------------------------------------------------
|
|
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพาน
บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร -กาฬสินธุ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 213
ห่างจากตัวเมืองสกลนคร 13 กม. มีทางแยกเข้าไปทางด้านขวามือ
ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2106
เป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์
ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บริเวณสถานที่ตั้งเป็นป่าไม้ร่มรื่น
มีไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
ในระหว่างที่ไม่ได้ประทับอยู่ที่พระตำหนัก
ทรงอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ ทุกวัน
โดยทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการพระราชวัง พระบรมมหาราชวัง
ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ 10200
และเมื่อได้รับหนังสือตอบรับแล้วจึงจะเดินทางไปชมได้ |
|
-----------------------------------------------------------------
ชาวภูไท
บ้านโนนหอม |
ตำบลโนนหอม
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสกลนคร- นาแก (ทางหลวงหมายเลข 223) ประมาณ 13
กม. มีทางแยกขวาอีกประมาณ 2 กม.
ชาวภูไทที่บ้านโนนหอมนี้อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมื่อประมาณ 100
กว่าปีแล้ว และยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวภูไทไว้
ติดต่อการแสดงจัดพาแลงและการฟ้อนรำของชาวภูไทล่วงหน้าที่
ศูนย์สาธิตการตลาดบ้านโนนหอม เลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง
จังหวัดสกลนคร
|
|
|
|