|
ที่ตั้ง
วัดพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18
ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มี อาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ
ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง
ประวัติความเป็นมา
ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่
พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง
และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ
ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก
พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5
ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห
ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม
จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง
และเจ้าคำแดง อนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี
จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร
เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาค
อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม
และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว
อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่
ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน)
ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ
วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา
โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป
ซึ่งมีความกว้าง 49 ซ.ม. ยาว 52 ซ.ม. เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ
เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว
หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ
ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี 2
ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น
กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว
ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน
สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์
กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 16
บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด
โดยอุทิศ ที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศา สนสถานแห่งนี้
ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้
ความสำคัญต่อชุมชน
หลักฐานการตั้งชุมชนบริเวณวัดพระ
ธาตุเชิงชุมในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างเด่น ชัด โดยเฉพาะพงศาวดาร
ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ) กล่าวว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดผ้าจุ)าโลกมหาคาช โปรด เกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์
พร้อมไพร่พลตัวเลก มาตั้งเมืองรักษาพระธาตุเชิงชุม เมื่อมีผู้
คนมากขึ้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุ เชิงชุม ขึ้นเป็นเมืองสกลทวาปี
เมื่อปี พ .ศ.2329 อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดศึก
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏใน พ.ศ .2370
เมืองสกลนครต้องโทษเป็นกบฎขัดขืนอาญา ศึก
เจ้าเมืองฝักใฝ่กับเจ้าอนุวงค์ไม่ได้เตรียม กำลังไพร่พล กระสุนดินดำ
เว้ให้ทัพหลวงตาม คำสั่ง พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีถูกประหาร ชีวิต
ญาติพี่น้องเจ้าเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ เมืองกบิลประจันตคาม
จึงทำให้บริเวณวัดพระธาตุ เชิงชุม
ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองถูกทิ้งร้าง ชั่วคราวปล่อยให้หมู่บ้านรอบ ๆ
10 หมู่บ้าน เป็นข้าพระธาตุดูแลวัดแห่งนี้
หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์ ราชวงศ์ (คำ) แห่งเมือง
มหาชัยกองแก้วได้เข้ามาพึ่งบราโพธิสมภาร
โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระประเทศธานี(คำ )
เจ้าเมืองและให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาดำรงตำแหน่ง อุปฮาด
ให้ท้าวอินน้องชายราชวงศ์(คำ)เป็น ราชวงศ์
ให้ท้าวบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นราชวงศ์ มีการสร้าง กุฏิ
ศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมาวัดพระธาตุ เชิงชุมก็เจริญขึ้นตามลำดับ
จึงถือว่าวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นศูนย์กลางของเมืองสกลนคร
มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ
นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร
หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก) 90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขอ
อธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้น
พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ
มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้
ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด
องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้
ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร
ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์
สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ 3 ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง
และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ
ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม
ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น
เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู 3 ด้าน
เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการ
นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน
นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม
แบบล้านช้างที่แท้จริง
องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ
เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ
ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่
บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย
ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู
โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป
เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย
อันวิจิตรบรรจง
|
|
|
|
พระธาตุ
ประตูทางเข้า |
|
|
พระธาตุ
|
|
|
พระธาตุ
|
|
|
อุโบสถ และพระธาตุ
|
|
|
|
พระประธานในอุโบสถ
|
|
|
อุโบสถ
|
|
|
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|