พระพุทธไสยาสน์ถ้ำภูค่าว
ตั้งอยู่ในเขตวัดพระพุทธนิมิตร บ้านนาสีนวล
ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ สามารถเดินทาง โดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์
ตามเส้นทางหลวง 227 เป็นระยะทางประมาณ 6 กม. รวมเป็นระยะทางจากกาฬสินธุ์ประมาณ
34 กม. บริเวณถ้ำภูค่าวแต่เดิมเป็นสถานที่สำคัญ ทางศาสนาแห่งหนึ่ง
ปัจจุบันเป็นเพียงวัดเล็กๆ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ภูค่าว
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่แปลกจากพระนอนทั่วไปคือ แทนที่จะไสยาสน์ตะแคงขวา
แต่กลับไสยาสน์ ตะแคงซ้าย ไม่มีพระเกตุมาลา
พระนอนองค์นี้มีประวัติว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2235 เป็นพระโมคคัลลานะ
เป็นที่เคารพของชาวบ้านทั่วไป มีงานนมัสการปิดทองในวันตรุษสงกรานต์ทุกปี
พุทธสถานภูสิงห์
อยู่บนยอดเขาภูสิงห์
ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ 34 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 2319 มีทางขึ้น 2
ทาง คือ ทางราดยางคดเคี้ยวขึ้นตามไหล่เขาทางทิศตะวันตก และทางเดินเท้า
ทำเป็นบันได 104 ขั้น ทางทิศตะวันออก
เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่นล้อมรอบด้วยธรรมชาติ
ทั้งยังมองเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนา หมู่บ้านและน้ำในเขื่อนลำปาวอันสวยงามอีกด้วย
พุทธสถานภูสิงห์ เป็นที่ประดิษฐานพระพรหมภูมิปาโล
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10.5 เมตร มีพระวรกายสง่างาม
กลุ่มทอผ้าแพรวา บ้านโพน
อำเภอคำม่วง
ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ 70 กม.
ผ้าแพรวาทอจากผ้าไหมด้วยลายมัดหมี่ละเอียดลายเฉพาะตัว
เป็นงานฝีมือทอผ้าของชาวผู้ไท ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถทรงสนับสนุนจนเป็นที่แพร่หลาย
ลักษณะลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มทอผ้าชาวผู้ไทบ้านโพนนั้น
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ลายหลัก และลายแถบ
ส่วนสีของผ้าแพรวามิได้มีเพียงสีแดงเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีการให้สีต่างๆ
มากขึ้นตามความต้องการของตลาด เช่น สีครีม สีชมพูอ่อน สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว
เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่าการทอผ้าแพรวาเป็นงาน
ศิลปหัตถกรรมประเภทสิ่งทอที่หาได้น้อยแห่งในประเทศไทย
แหลมโนนวิเศษ
เป็นภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นผืนดินที่ยื่นเข้าไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำของเขื่อนลำปาว
อยู่ที่ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ ห่างจากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ 36 กม.
เป็นจุดชม พระอาทิตย์อัสดงที่สวยงามมากแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์
วัดสักกะวัน
ตั้งอยู่ที่เชิงภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์
สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์(ทางหลวง 227) ประมาณ 28 กม.
(ก่อนถึงสหัสขันธ์ 2 กม.) มีทางแยกขวาไปวัดสักกะวัน 1 กม.
วัดนี้เป็นสถานที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก
โดยซากกระดูกบางส่วนได้นำมาจัดแสดงที่ศาลาวัด
มีการจัดนิทรรศการการแสดงความเป็นมาของการ เกิดไดโนเสาร์ยุคต่างๆ
รวมทั้งรูปภาพการขุดค้นพบซากกระดูกเหล่านี้ นอกจากนั้น ห่างจากศาลาวัดไปประมาณ
100 เมตรมีโครงกระดูกไดโนเสาร์ฝังอยู่ในพื้นดินบริเวณเชิงเขา
ได้รับการขุดแต่งโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี
เป็นซากกระดูกไดโนเสาร์ชนิดซอโรพอด มากกว่า 1 ตัว ซึ่งอยู่ในยุคจูแรสสิคตอนปลาย
(ประมาณ 150 ล้านปีมาแล้ว)
|