เมืองฟ้าแดดสูงยาง
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย ฟ้าแดดสงยาง
หรือเรียกเพี้ยนไปเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกว่าเมืองเสมา
เนื่องจากมีผังเมืองรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณ มีซากอิฐปนดินคูเมืองสองชั้น
มีลักษณะเป็นท้องน้ำที่พอมองเห็น คือพระธาตุยาคู
ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีแต่มีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง
ชาวนามักขุดพบใบเสมาหินทรายมีลวดลายบ้าง ไม่มีบ้าง ที่ขึ้นทะเบียน ไว้ทางกรมศิลปากร
130 แผ่น พระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นอิทธิพลของสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ
1,000-2,000 ปี มีอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังพบกล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดี
ก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ 7,000 ปี
ที่น่าสนใจคือกล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุประมาณ 5,000-6,000
ปี ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มมาก่อนทุกๆ แห่งในโลกนี้
เมืองฟ้าแดดสูงยาง จึงเป็นเมืองโบราณที่มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1300-1600
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปนห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19 กม.
เดินทางตามเส้นทาง 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) แยกขวามือเข้าทางโรงเรียนกมลาไสย
อำเภอกมลาไสย ประมาณ 13 กม. แยกขวามือเข้าไป ตามทางลูกรังอีก 6 กม.
นับเป็นสถานที่สำคัญในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโบราณสถาน
โบราณวัตถุที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด
พระธาตุยาคู เดิมเรียกว่า
"ธาตุใหญ่"
เป็นพระสถูปสมัยทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15)
ตั้งอยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 19
กม. เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดี ทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูป 8
เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง 10 เมตรยาว 10 เมตร
สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร
เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ
สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม
ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคูจึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ซึ่งต่อมาได้มีการบูรณะ
ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลเป็นประจำทุกปีในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นของหมู่บ้าน
วัดโพธิ์ชัยเสมาราม
หรือวัดบ้านก้อม
อยู่ในอาณาเขตเมืองฟ้าแดดสูงยางไม่ไกลจากพระธาตุยาคู เป็นวัดโบราณ
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ ใบเสมาหินสมัยทวาราวดี
ที่ปักอยู่เป็นแนวกำแพงและที่เก็บรวบรวมไว้ในวัดเป็นบางส่วนที่ใบเสมาจำหลักเป็นภาพต่างๆ
ส่วนมากสลักเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนา
|