-----------------------------------------
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง |
อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ.
1801-1841
เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมากประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา
(สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา
เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย
|
|
และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย
ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง
ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา
พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน
"แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำจักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด"
จึงได้พระนามว่างำเมือง
|
-----------------------------------------
กว๊านพะเยา |
เกิดจาการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70
ล้านปีมาแล้วเป็นแอ่งน้ำซึ่งเป็นที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ 18 สาย
ต่อมาในปี 2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้น
บริเวณ ต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่
มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร คำว่า "บึง" ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า "กว๊าน"
|
|
กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา
คือเป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน
และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน
ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา
ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น
สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก
บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น
พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก
|
-----------------------------------------
สถานีประมงน้ำจืดพะเยา |
ตั้งอยู่ตรงถนนพหลโยธินระหว่างหลักกม.ที่ 734-735
เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด
ปลาที่เพาะพันธุ์เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรได้แก่ ปลานิล ปลาไน
ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ฯลฯ
และสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกได้สำเร็จเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ
|
|
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ห้องจัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงามที่หาดูยากไว้หลายชนิด
เปิดให้ชมในวันเวลาราชการ
และยังมีเรือนประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อครั้งเสด็จมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาอยู่ในบริเวณเดียวกัน
บริเวณรอบตำหนักจะมีดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ สระน้ำพุอันสวยงาม
ตั้งอยู่บริเวณสถานีประมงพะเยา
|
-----------------------------------------
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ |
อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ
จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุ
เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา
และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัฒนธรรมประเพณี
และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยาโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีสมัยใหม่
เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
|
|
-----------------------------------------
หมู่บ้านทำครกและโม่หิน |
บ้านงิ้ว ตำบลบ้านสาง
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กม. ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปวัดอนาลโย
เป็นถนนรอบกว๊านพะเยา รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาล
ชาวบ้านมีอาชีพเสริมหลังการทำนาคือการ ทำครก โม่หิน ใบเสมา และลูกนิมิต
เป็นต้น โดยทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และส่งไปขายในตัวเมืองพะเยา
|
-----------------------------------------
วัดศรีโคมคำ
|
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "วัดพระเจ้าตนหลวง"
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย
ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ.
2034-2067
|
|
พระเจ้าตนหลวง หรือ
พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็น แต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น
แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย
วันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่า "งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง"
|
-----------------------------------------
วัดพระธาตุจอมทอง
|
ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง
ห่างจากตัวเมือง 3 กม. อยู่ตรงข้ามกับกับวัดศรีโคมคำ มีถนนขึ้นไปถึง
เจดีย์พระธาตุจอมทองเป็นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา
บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุม เป็นสวนรุกชาติ
มองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ
|
|
-----------------------------------------
วัดอนาลโย |
ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กม.
ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา-เชียงราย) ประมาณ 7 กม.
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127-1193 อีก 9 กม.ทางลาดยางตลอดสาย
บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน
ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก
และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก
สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทยรัตนเจดีย์ เป็นศิลปะ
แบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง
จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม
ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์
|
-----------------------------------------
วัดศรีอุโมงค์คำ
|
มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก
เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาอีกองค์หนึ่งนามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์"
แต่ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจ้าล้านตื้อ"
ซึ่งถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดแห่งล้านนาไทย
และนับเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ
|
|
-----------------------------------------
วัดลี
|
ตั้งอยู่หลังโรงเรียนเทศบาล 3
มีสถูปที่เป็นแบบสถาปัตยกรรมของภาคเหนือ
และโบราณวัตถุสมัยอาณาจักรพะเยาอีกมากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปหินทราย
ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อยๆ
ได้อีกแห่งหนึ่งยังมีพุทธศาสนสถานเก่าในเมืองพะเยาที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง
ได้แก่ ป่าแดงบุนนาค
มีตำนานเกี่ยวพันครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมายังดินแดนแห่งนี้
วัดศรีจอมเรือง มีศิลปะสวยงามแบบไทยผสมพม่า วัดราชคฤห์
มีเจดีย์เก่าแก่ของเมืองพะเยา
และพระพุทธรูปศิลาซึ่งพุทธลักษณะสวยงามแบบเดียวกับพระเจ้าล้านตื้อ
|
|
-----------------------------------------
หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา
|
อยู่ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน
ห่างกันประมาณ 2 กม.
ชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวกกระเป๋า จานรองแก้ว
และของประดับตกแต่งต่างๆ
|
|