|
อำเภอเชียงคำพะเยา,
พะเยา
|
เป็นอำเภอหนึ่งที่มีความเจริญทัดเทียมกับอำเภอเมือง มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ
และโบราณสถานวัดวาอารามที่มีความสวยงามหลายแห่ง
วัดพระนั่งดิน |
อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง
1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กม. เป็นวัดที่องค์พระประธาน
ของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ
เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญ พระประธานขึ้นประดิษฐาน
แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น
จึงเรียกสืบต่อกันมาว่าพระนั่งดิน
|
|
-----------------------------------------
ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ |
ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ
จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ
โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส
ในอดีตชาวไทยลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนามณฑลยูนาน
ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตรกม.
|
|
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขามีที่ราบแคบๆอยู่ตามหุบเขา
และลุ่มแม่น้ำอันเป็น
บริเวณที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินของชาวไทลื้อ
โดยเฉพาะการทำนาที่ลุ่มเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป
มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา
ซึ่งชาวไทยลื้อเรียกว่า "แม่น้ำของ" ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์
ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้า
เหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน
หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ
ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน
นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี
เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น
|
-----------------------------------------
วัดนันตาราม
|
อยู่ที่บ้านดอนไชย
เขตสุขาภิบาลเชียงคำ เป็นวัดที่มีศิลปะแบบพม่า
ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง
ตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วนประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง
หน้าบันระเบียง เป็นต้น
|
|
-----------------------------------------
อนุสรณ์ผู้เสียสละ
พ.ต.ท. 2324 |
อยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำ
ตามทางหลวง 1021 ไปประมาณ 2 กม. เป็นอนุสรณ์สถานที่
สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ
ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตย
นพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยาและเชียงราย
นอกจากนั้นยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายรูปจำลองและอาวุธยุโธปกรณ์ที่เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้นไว้ด้วย
เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ
|
|
-----------------------------------------
วัดพระธาตุสบแวน
|
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4
กม. มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก คาดว่าอายุราว 800 ปี
ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า
องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง
แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้
|
|
|
|
|
|
|