|
วัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ
วัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านท่ากว๊าน
ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ตามประวัติวัดที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร กล่าวว่า
วัดศรีอุโมงค์คำสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง
ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘
มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๖ เมตร
อาคารเสนาสนะของวัดศรีอุโมงค์คำ ประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร
และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ คือ
เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นเจดีย์สมัยเชียงแสนซึ่งสภาพยังสมบูรณ์อยู่
และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งขาวพะเยาเรียกกันว่า
พระเจ้าล้านตื้อ ซึ่งชี่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ
หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์
แม้หลักฐานการสร้างจะไม่ปรากฏชัดเจนแต่ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง ๕๐๐
ปีมาแล้ว พระเจ้าล้านตื้อของวัดศรีอุโมงค์คำ
มีประวัติเล่าว่าแต่เดิมถูกทิ้งให้ปรักหักพังที่สนามเวียงแก้ว
ต่อมาเจ้าเมืองพะเยาได้บูรณะแล้วนำมาประดิษฐานที่วัดนี้
บ้างก็กล่าวว่าแต่เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีจอมเรือง
สำหรับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้
จัดว่างดงามมากและมีเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ
นอกเหนือจากพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
วัดศรีอุโมงค์ยังมีพระพุทธรูปต่างๆ ดังนี้ คือ
พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย (หลวงพ่อทันใจ)
ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายศตวรรษที่ ๒๑ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๖๐ เซนติเมตร
สูง ๒๑๕ เซนติเมตร พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย (พระแข้งคม)
มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีนาดหน้าตุกกว้าง ๑๓๐ เซนติเมตร สูง ๑๙๐
เซนติเมตร เป็นต้น อนึ่ง ในหนังสือ เมืองพะเยา
ได้กล่าวถึงวิหารหลังเก่าของวัดศรีอุโมงค์คำว่า ในปีจุลศักราช ๑๒๓๗
สัปตศก พุทธศักราช ๒๔๑๘
เจ้าหลวงอริยะซึ่งลงไปรับสัญญาบัตรกลับมาครองเมืองพะเยาได้ก่อสร้างวิหารของวัดนี้ขึ้น
แต่ภายหลังถูกรื้อออกไป
สันนิษฐานว่าอาจเป็นวิหารหลังที่เหลือร่องรอยเพียงฐานของวิหารและได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ก็เป็นได้
สิ่งสำคัญของวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน คือฐานวิหารเก่า
ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างนี้แน่ชัด
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕
ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ปัจจุบัน
วัดศรีอุโมงค์คำมีความสำคัญในฐานะที่เปิดสอนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมมาตั้งแต่
พ.ศ. ๒๔๙๘ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนราษฎร์ของวัด ห้องสมุดประจำวัด
และเปิดศูนย์ฝึกอาชีพให้ประชาชนโดยทั่วไป |
|
|
|
|
พระเจ้าทันใจ
|
|
|
ชุ้มประตูทางเข้าวัด
|
|
|
พระประธานในโบสถ์
|
|
|
พระเจ้าล้านตื้อ
พระพุทธรูปคู่เมืองพะเยา
พระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดแห่งล้านนาไทย ศิลปะของภูกามยาว |
|
|
|
พระเจดีย์สมัยเชียงแสน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|