|
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ,ลพบุรี
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ |
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)
ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก
เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ริมถนนพุทธบูชา
เป็นวัดหลวงชั้นเอก วรมหาวิหาร
ภายในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช
หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า หลวงพ่อใหญ่
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่
หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)
โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม
และพระศรีศาสดาซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
พุทธลักษณะของพระพุทธชินราชนั้นสวยงามมาก
เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง
พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน
ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี
ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก
มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมและสักการบูชาพระพุทธชินราชเป็นจำนวนมาก
ทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการพระพุทธชินราชในวันขึ้น 6 ค่ำ
ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณปลายเดือนมกราคม) เรียกว่า
งานวัดใหญ่
ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบานประตูขนาดใหญ่ประดับมุกสวยงาม
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย
ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ
บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฏฐารส
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก
สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ.1800
เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด
เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 4 ต้น เรียกว่า
เนินวิหารเก้าห้อง
ด้านหลังพระอัฏฐารส เป็นพระปรางค์ประธาน
สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ
สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม)
ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้
ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา
นอกจากนี้ยังมี พระเหลือ
ซึ่งพระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช
พระพุทธชินสีห์
และพระศรีศาสดามารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก
และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกยกว่า
วิหารพระเหลือ |
|
|
|