อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี |
สร้างขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2476
ตั้งอยู่หน้าประตูชุมพล
ซึ่งเป็นประตูเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตก
อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ
สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม
ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง
สูง 2.5 เมตร
แต่งการด้วยเครื่องยศพระราชทาน
มือขวากุมดาบ
ปลายดาบจรดพื้น
มือซ้ายท้าวสะเอว
หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ
ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี
เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครราชสีมา
และจังหวัดใกล้เคียง
ท้าวสุรนารี
มีนามเดิมว่า คุณหญิงโม
เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา
ท่านให้สร้างวีรกรรมไว้ให้แก่ประเทศชาติเมื่อ
ปี พ.ศ. 2369
โดยสามารถรวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์
ไม่ให้มาตีกรุงเทพฯ
เป็นผลสำเร็จ พระบาmสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี
และเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน
ชาวเมืองนครราชสีมาได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้น
ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม
ถึงวันที่ 3 เมษายน
ของทุกปี |
|
.............................................................
ประตูชุมพล |
ในอดีตเมืองนครราชสีมาโบราณมีประตูเมืองทั้งหมด
4 แห่ง ได้แก่ประตูพลแสน,
ประตูพลล้าน,
ประตูไชยณรงค์
และประตูชมพล
ซึ่งตั้งอยู่หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
เป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก
ของเมืองนครราชสีมา
สร้างขึ้นในสมัยพระนารายณ์มหาราชเมื่อ
พ.ศ. 2199
อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาพระองค์โปรดให้สร้างเมืองนครราชสีมา
เป็นเมืองหน้าด่านโดยมีช่างฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นมิตรประเทศกับกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น
เป็นผู้ออกแบบผังเมือง
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด
1,000 x 1,700 เมตร
ลักษณะประตูชุมพลเป็นประตูเชิงเทินเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่น
หลังคามุงกระเบื้อง
ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา
กำแพงต่อจากประตูทั้งสองข้างก่อด้วยอิฐส่วนบนทำเป็นรูปใบเสมา |
|
.............................................................
ศาลเจ้าหลักเมือง |
ตั้งอยู่ที่ถนนจอมพล
มุมวัดพระนารายณ์มหาราช
เป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา
ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด
ชาวเมืองทั้งชาวไทยและชาวจีนเคารพนับถือและไปสักการะบูชาเป็นประจำ
ศาลแห่งนี้สร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชระหว่าง
พ.ศ.2199-2231
ตัวศาลและเสาหลักเมืองทำด้วยไม้
ในบริเวณผนังของศาล
ด้านทิศตะวันออกเป็นกระเบื้องดินเผาปั้นลวดลายนูนต่ำเป็นเรื่องราวการสู้รบของท้าวสุรนารี
และวิถิชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณ |
|
.............................................................
ศาลเจ้าหลักช้างเผือก |
ตั่งอยู่ริมคูเมืองด้านทิศเหนือ
ตรงมุมถนนมนัสตัดกับถนนพลแสนในอำเภอเมือง
เป็นศาลเจ้าสร้างครอบหลักตะเคียนหินซึ่งเดิมเป็นหลักที่ชาวเมืองภูเขียวนำช้างเผือกมาผูกไว้เพื่อให้พนักงานกรมคชบาลตรวจดูลักษณะช้างก่อนกราบทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เพื่อทรงรับไว้เป็นพระราชพาหนะ |
.............................................................
ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏนครราชสีมา |
ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันราชภัฏนครราชสีมา
ถนนสุรนารายณ์
เป็นสถานที่รวบรวมภาพและประวัติโบราณสถาน
ประวัติศาสตร์
รูปภาพศิลปะ
ของใช้สมัยโบราณและเงินตราต่างๆเปิดให้ชมในวันและเวลาราชการ |
|
.............................................................
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ |
มหาวีรวงศ์
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสุทธิจินดาตรงข้ามศาลากลางจังหวัด
มีศิลปวัตถุทั้งที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธิจินดารวบรวมไว้
โบราณวัตถุที่กรมศิลปากรได้สำรวจขุดพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา
และจังหวัดใกล้เคียง
และที่มีผู้บริจาค เช่น
พระพุทธรูปศิลาสมัยขอม
สมัยอยุธยา
เครื่องเคลือบดินเผาขนาดต่างๆ
พระพุทธรูปสัมฤทธิ์
เครื่องใช้สมัยโบราณ
ภาพไม้แกะสลักซึ่งนำมาจากวัดโบราณ
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ์
เวลา 09.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม
คนไทย คนละ 10 บาท
ชาวต่างประเทศ คนละ 20 บาท
ติดต่อโทร. (044) 242958 |
.............................................................
วัดศาลาลอย |
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง
ทางเข้าแยกจากถนนรอบเมืองเข้าไปประมาณ
500 เมตร อยู่ติดกับลำตะคอง
ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำมูล
มีพระอุโบสถเก่าแก่อายุกว่า
100 ปี
และพระอุโบสถหลังใหม่สร้างเมื่อ
พ.ศ. 2510
เป็นลักษณะศิลปะไทยประยุกต์
โดยสร้างเป็นรูปสำเภาโต้คลื่น
ใช้วัสดุพื้นเมือง
คือใช้กระเบื้องดินเผาด่านเกวียน
วัดนี้ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา
จากสมาคมสถาปนิกสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์
และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป
ในปี พ.ศ. 2516 |
|
.............................................................
วัดศาลาทอง |
ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล
ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว
1 กม.
เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งบรรจุอยู่ในพระเจดีย์องค์เล็ก
ปัจจุบันได้ก่อพระเจดีย์ใหญ่ครอบองค์เดิมไว้ |
.............................................................
วัดป่าสาละวัน |
อยู่หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา
เป็นวัดที่เก็บพระอัฐิธาตุของอาจารย์เสา
อาจารย์มั่น
และอาจารย์ทิม
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยใช้รถประจำทางสาย
นครราชสีมา-ด่านขุนทด
จากสถานีขนส่งแห่งที่ 1
รถออกทุง 30 นาที
ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น.
แล้วต่อรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้าไปถึงวัด |
|
.............................................................
อนุสาวรีย์สถานนางสาวบุญเหลือ |
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์
ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง
ห่างจากตัวเมือง 12.5 กม.
ตามเส้นทางสายนครราชสีมา-ชัยภูมิ
ชาวนครราชสีมาได้ร่วมสร้างขึ้น
และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่
6 กรกฎาคม 2529
เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือและเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา
ที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติเมื่อครั้งวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ในปี
พ.ศ. 2369
นับเป็นอนุสรณ์สถานอีกแห่งหนึ่งที่ชาวนครราชสีมาให้ความเคารพสักการะเป็นอย่างสูง |
.............................................................
ปราสาทหินพนมวัน |
ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า
ตำบลโพธิ์
เดินทางไปตามถนนสายโคราช-ขอนแก่น
ระยะทางประมาณ 15 กม.
จะมีทางแยกขวาไปตามทางราดยางอีก
5 กม. เป็นโบราณสถานสมัยขอม
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
เพื่อเป็นเทวสถาน
ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถานตัวปราสาทหินพนมวัน
สร้างเป็นปรางค์มีฉนวน (ทางเดิน)
ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว
25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร
พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3
ด้าน
ซุ้มประตูด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย
1 องค์
ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา
รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง
54 เมตร ยาว 63.30 เมตร
ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4
ทิศ
การเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น)
ระยะทางประมาณ 15 กม.
จะมีทางแยกขวามือมีป้ายบอกทางแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางราดยางอีก
5 กม. |
.............................................................
สวนสัตว์นครราชสีมา |
อยู่ห่างจากตัวเมือง
13 กม. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304
โคราช-ปักธงชัย ระยะทาง 12 กม.เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข
2310 ไปอีก 1 กม.
เป็นสวนสัตว์แบบกึ่งเปิดและปิด
พื้นที่กว่า 500 ไร่
สัตว์ป่าที่น่าสนใจ
ได้แก่ กระทิง เนื้อทราย
ละอง ละมั่ง ค่าง งู แมวป่า
นก กระเรียน นกยูงไทย
และนกยูงอินเดีย เป็นต้น
เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา
08.00-18.00 น. อัตราเข้าชม เด็ก 10
บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท
รายละเอียดติดต่อ โทร. (044)
216352-3 |
.............................................................
ศูนย์จำหน่ายของดีเมืองโคราช |
ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
หลายประเภท อาทิเข่น
ผ้าไหม ผ้าทอพื้นเมือง
เซรามิค
ศิลปะประดิษฐ์จากพืชและดอกไม้ประดิษฐ์
เป็นต้น เปิดให้ชมทุกวั้น
เวลา 08.30-16.30 น. |
|