ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงบังอี๋
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล ห่างจากตัวเมือง 17 กม.
โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล แยกเข้าทางขวามือระหว่างกม.ที่ 14-15 อีก 2 กม.
จะถึงที่ทำการอุทยาน มีเนื้อที่ ทั้งหมด 30312.5 ไร่ หรือ 48.5 ตร.กม.
ประกอบด้วยภูเขาสูงชันหลายลูกติดต่อกัน เช่น ภูมโนรมย์ ภูนางหงษ์ ภูผาเทิบ
ภูถ้ำพระ ภูหลักเส ภูรัง ภูป่ง ภูคำหมากมี่ ยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมสี
สูงจากระดับน้ำทะเล 420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็ง-รัง และป่าเบญจพรรณ
และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ
ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว
หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลกๆ มากมาย
สถานที่น่าเที่ยวชมภายในอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
ได้แก่
ภูมโน
อยู่ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารประมาณ 5 กม. ไปตามเส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล
ทางหลวงหมายเลข 2034 ประมาณ 2 กม. แล้วมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังอีกประมาณ 3
กม.
นำรถไปจอดที่เชิงเขาและเดินขึ้นไปบนยอดเขาซึ่งมีศาลาที่พักและรอยพระพุทธบาทจำลองลึก
1 เมตร เมื่ออยู่บนยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองมุกดาหาร แม่น้ำโขง
และแขวงสวันเขตของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
-----------------------------------------------------------------
ถ้ำลอด
เป็นถ้ำเล็กๆ ที่สามารถลอดลงมาจากหน้าผา เพื่อที่จะเดินต่อไปที่ภูนางหงษ์
และภูหลักเส
ระหว่างทางจากถ้ำลอดขึ้นไปภูหลักเสจะพบบริเวณที่ชาวบ้านได้ขุดพบเศษถ้วยชามและของโบราณ
-----------------------------------------------------------------
ภูหลักเส
เป็นการเล่าสืบกันต่อมาแต่โบราณว่า
มีลหักทองคำตั้งอยู่กลางเนินเขานี้แล้วต่อมาหายไปภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "เสาเส"
(ภาษาภูไทย แปลว่า เสาหาย) ต่อมาเรียกเป็น ภูหลักเส จุดเด่น
คือป่าแคระและที่ชมวิว
-----------------------------------------------------------------
ลำห้วยและแหล่งน้ำซับ
ป่าอุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือ ห้วยลิง
ห้วยสายพาน ห้วยเรือ เป็นต้น และโดยเฉพาะบริเวณภูถ้ำพระ
มีแหล่งน้ำซับซึ่งมีน้ำตลอดปีและไหลมารวมกัน จึงเกิดเป็นน้ำตกภูถ้ำพระ
-----------------------------------------------------------------
ภูนางหงษ์
อยู่บนเส้นทางที่จะเข้าไปภูผาเทิบ โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2034
จากตัวเมืองมุกดาหารไปประมาณ 14-15 กม.
มีทางแยกขวามือเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติมุกดาหารและภูผาเทิบอีก 2 กม.
ทางเข้าไปสะดวกเข้าไปได้ทุกฤดูกาล ก่อนถึงที่ทำการอุทยานประมาณ 500 เมตร
จะมีทางลูกรังแยกซ้ายมือเข้าไปภูนางหงษ์ ลักษณะทั่วไปเป็นลานหินสลับป่าแคระ
มีหินธรรมชาติรูปร่างต่างๆ วางทับซ้อนกันอยู่เป็นกลุ่มมีสีสันแตกต่างกันไป
เรียงรายอยู่ล้อมรอบหินรูปหงส์ขนาดใหญ่
ภูผาเทิบ
อยู่ในเขตตำบลนาสีนวน บริเวณที่ทำการอุทยาน
ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กม.
บนเส้นทางสายมุกดาหาร-ดอนตาล ระหว่างกม.ที่ 14-15
เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กม. มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 5.2 ตร.กม.
ลักษณะโดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกันเพิงผาที่กันแดดกันลมได้
ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า “เทิบ”
บางอันมีรูปร่างคล้ายร่ม เห็ดขนาดใหญ่ ไอพ่น มงกุฎ ดอกบัวบาน
รองเท้าบู๊ท เก๋งจีน สถูป และจานบิน เป็นต้น
สันนิษฐานว่าบริเวณกลุ่มหินนี้แต่ก่อนคงปกคลุมด้วยดิน
เป็นภูเขาดิน ต่อมาถูกฝน ลมกัดเซาะพังทลายลงเรื่อย
จึงมองเห็นหินโผล่ขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน บนภูผาเทิบอากาศเย็นสบาย
ในแต่ละฤดูจะมีดอกไม้ผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตามฤดูกาล
เพิ่มความงามให้กับภูผาเทิบอีกมาก
ซึ่งมีทั้งดอกไม้ที่ขึ้นอยู่ตามซอกหินผา เช่น เอนอ้า เทียนหิน
หรือดุสิตา และดอกกล้วยไม้ประเภทช้างน้าว ตาลเหลือง เป็นต้น |
|
-----------------------------------------------------------------
ลานมุจลินท์
อยู่บนภูผาเทิบ
เป็นลานหินเรียบที่ทอดยาวไกลไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1,200 เมตร
บนลานมีร่องน้ำเล็กๆ
มากมายเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนไหลรวมตัวกันสู่แอ่งน้ำกว้าง เรียกว่า
วังเดือนห้า บนลานหินได้มีการค้นพบกระดูกสัตว์โบราณ อายุไม่ต่ำกว่า 250
ล้านปีอยู่ 2 จุด ห่างกันประมาณ 500 เมตร
ซึ่งนักธรณีวิทยาและนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เป็นบริเวณที่เคยอยู่ใต้น้ำมาก่อน
เมื่อยืนอยู่กลางลานมองไปทางทิศตะวันออก
จะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์อันงดงามของทิวเขาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน
-----------------------------------------------------------------
ภูถ้ำพระ
เป็นภูเขาลูกใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร อยู่ในระดับความสูง 300-400
เมตร มีที่ราบกว้างใหญ่อยู่หลังเขา ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง
และป่าเบญจพรรณที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จึงทำให้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำ ลำธาร
และแหล่งน้ำซับ บริเวณด้านหน้าของภูถ้ำพระมีน้ำตกไหลผ่าน
ภายในถ้ำในสมัยก่อนเคยเป็นที่อยู่ของพระภิกษุและมีพระพุทธรูปปางต่างๆ
ที่เป็นทองคำ เงิน ไม้ แก้ว มากมาย แต่ได้ถูกขโมยสูญหายไปหมด
ปัจจุบันเหลือเพียงพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ฟุต
พระพุทธรูปไม้อีกหลายร้อยองค์และรูปปั้นรูปสัตว์ต่างๆ
-----------------------------------------------------------------
ถ้ำฝ่ามือแดง
อยู่บนภูผาเทิบในเขตพื้นที่ตำบลนาสีนวน อำเภอเมืองมุกดาหาร
ลักษณะของถ้ำเป็นเพิงหินยาว กว้าง 3 เมตร ยาว 60 เมตร
ภายในฝาผนังถ้ำมีรูปมือประทับอยู่ 10 มือ และรูปคนยืนจำนวน 6 คน เขียนด้วยสีแดง
สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี จัดอยู่ในยุคหินเก่า
บริเวณหลังถ้ำจะเป็นหินกว้างอยู่ในระดับที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม
ทางอุทยานฯ
ยังไม่มีที่พักบริการนักท่องเที่ยว ผู้ที่ต้องการพักแรมจะต้องนำเต้นท์ไปเอง
โดยติดต่อขออนุญาต ณ ที่ทำการอุทยาน
|