ตั้งอยู่ที่ตำบลจระเข้มาก ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้ง 8 กม. เส้นทางลาดยางตลอด
การเดินทางสามารถใช้ได้ 2 เส้นทาง คือ
1.
เส้นทางสายบุรีรัมย์-นางรอง-พนมรุ้ง เมื่อถึงปราสาทหินพนมรุ้ง 8 กม.
จะพบทางแยกขวาเข้า ปราสาท เมืองต่ำ เป็นระยะทางอีก 5 กม.
2.
เส้นทางบุรีรัมย์-ประโคนชัย จากตัวอำเภอประโคนชัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 2221
เป็นระยะทาง 13 กม. แยกซ้ายไปปราสาทเมืองต่ำอีก 5 กม.
ประวัติความเป็นมาของปราสาทหินเมืองต่ำยังไม่ทราบชัดเพราะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
หรือ ใครเป็นผู้สร้าง มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.ศ.
1550-1625 โดย ลักษณะของ ศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1508-1555
ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็น ภาพเทพในศาสนา ฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า
ปราสาทแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถาน
ในศาสนาฮินดู
ตัวปราสาท
ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน
ก่อด้วยศิลาแลง องค์ ปรางค์ทั้ง 5 ตั้งเรียงกันเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์
แถวหลัง 2 องค์ ปรางค์ประธานซึ่งมีขนาด ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ ตรงกลางแถวหน้า
ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน ส่วนองค์อื่นๆ ที่เหลืออยู่ก็มีสภาพที่ไม่
สมบูรณ์ ปรางค์ทุกองค์ มีประตูสู่ภายในปรางค์ได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก
ด้านอื่นทำเป็นประตู หลอกต่างกัน แต่ปรางค์ประธานมี มุขหน้าอีกชั้นหนึ่ง
การขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานได้พบทับหลัง ประตูมุขปรางค์
สลักเป็นภาพเทพถือดอกบัว ขาบประทับนั่งเหนือหน้ากาล แวดล้อมด้วยสตรีเป็นบริวาร
หน้าบันสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ส่วนทับหลังประตูปรางค์สลักเป็นเทพนั่งชันเข่าเหนือหน้ากาล
และยังได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้น ประดับฐานอีกด้วย
แสดงว่าปรางค์เหล่านี้ได้เคยมีปูนฉาบและปั้นปูนเป็นลวดลายประดับตกแต่งอย่างงดงาม
สำหรับปรางค์บริวารอีก 4 องค์นั้นยังคงมีทับหลังติดอยู่เหนือประตูทางเข้า 2
องค์ คือ องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือของแถวหน้า และองค์ทิศใต้ ของแถวหลัง
สลักภาพพระศิวะอุ้มนางอุมาบนพระเพลา ประทับนั่งอยู่บนหลังโคนนทิ
และภาพพระวรุณทรงหงส์
|