อนุสาวรีย์เราสู้
อยู่ที่ตำบลโนนดินแดง
ริมทางหลวงสายละหานทราย-ตาพระยา ทางหลวงหมายเลข 3068
ทางด้านซ้ายมือสร้างขึ้นเมื่อปี 2522 เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน
ตำรวจ ทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้ผู้ก่อการร้าย และได้รับพระราชทานนาม
"เราสู้" เป็นชื่อของอนุสาวรีย์แห่งนี้
เขื่อนลำนางรอง
อยู่ในเขตบ้านโนนดินแดง
ห่างจากอนุสาวรีย์เราสู้ประมาณ 1 กม. ก่อนถึงอนุสาวรีย์จะพบทางแยกเข้าไปทางซ้าย
เป็นลักษณะเขื่อนดินฐานคอนกรีต
มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่างหมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์และหนองหว้า
ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดน ประมาณ 20 กม.เท่านั้น ที่สันเขื่อนมีหินลอย
(หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่น สีสันแบ่งกันเป็นชั้นๆสวย งาม
ซึ่งได้นำออกไปกองไว้กันน้ำเซาะสันเขื่อน
และใกล้กับเขื่อนลำนางรองนี้มีเขื่อนคลองมะนาวซึ่งมีขนาด เล็กกว่า
แต่ก็สวยงามสงบเงียบ ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวบุรีรัมย์อีกแห่งหนึ่ง
ปราสาทหนองหงส์
ตั้งอยู่ที่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง
การเดินทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้ทาง หลวงสาย 219 ถึงอำเภอประโคนชัย
จากสี่แยกตรงไปตามทางหลวงสาย 2075 จนถึงนิคมบ้านกรวด เลี้ยวขวาเข้าทางสาย
2121จนถึงอำเภอละหานทรายเลี้ยวซ้ายเข้าทางสาย 3068ผ่านสี่แยกปะคำ
ตรงต่อไปถึงบ้านโนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าเขื่อนลำนางรอง
ตัวปราสาทอยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อน และห่างจากเขื่อนประมาณ 300 เมตร
ตัวปราสาทเป็นปรางค์ 3 องค์ ก่อด้วยอิฐ
ตั้งบนฐานก่อด้วยศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียวกัน หันหน้าไป
ทางทิศตะวันออกมีประตูเข้า-ออกทางด้านหน้าอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก
ปรางค์ทั้งสามมีผังเป็นรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง
องค์กลางขนาดใหญ่กว่าสององค์ที่ขนาบข้าง แต่เดิมเคยมีทับหลังประดับ
จำหลักลายอย่างสวยงาม คือ
องค์ทิศเหนือสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหนือหน้ากาล ซึ่งมือยึด
ท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา อีก 2 องค์ที่เหลือ คือ
องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้ก็มี ลักษณะคล้ายกันต่างกันที่ภาพตรงกลาง คือ
ทับหลังปรางค์องค์กลางสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
องค์ทิศใต้เป็นรูปพระอิศวรทรงโค ด้านหน้าของปรางค์ องค์กลาง
มีทางเดินยื่นยาวออกไป มีบันไดทาง ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง
นอกจากนี้ยังมีวิหารหรือบรรณาลัยอีก 1 หลัง
ก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าเข้าหา ปรางค์องค์ทิศใต้
อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตูด้านหน้าและด้านหลัง
มีคูน้ำรูป ตัวยู (U) ล้อมรอบอีกทีหนึ่ง การกำหนดอายุ สมัยของปราสาทนั้น
จากลักษณะการก่อสร้าง และศิลปกรรม ที่พบซึ่งตรงกับ ศิลปะเขมรแบบ บาปวน
ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16
|