|
อำเภอบ้านตาก,
ตาก
|
อำเภอบ้านตาก |
เป็นเมืองตากเก่ามีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านตะวันตกของกรุงสุโขทัย
จนในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาได้โปรดให้ย้ายเมืองตากลงมาตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปิง
ตรงข้ามกับตัวเมืองในปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอ.บ้านตากส่วนใหญ่จึงเป็นโบราณสถาน
อ.บ้านตากอยู่ห่างจากอ.เมืองไปทางทิศเหนือราว
22 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 1
และถ้าเดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
1107
เลียบริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันตกถึง อ.บ้านตาก
ระยะทางประมาณ 72 กม.
|
-----------------------------------------
วัดพระบรมธาตุ
|
อยู่ที่ตำบลเกาะตะเภา
อ.บ้านตาก อยู่ห่างจากอ.บ้านตากประมาณ
36 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 1107
ประมาณ 35 กม.
เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข
1175 อีกประมาณ 1 กม.
จะแลเห็นวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
หรือถ้าใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
1 ตรงกม.ที่ 442 เข้าอ.บ้านตากประมาณ
300 ม.
เลี้ยวขวาเข้าตลาดบ้านตากไปจนสุดถนนแล้วเลี้ยวซ้ายผ่านสะพานข้ามแม่ปิงแล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่านา
เลี้ยวซ้ายผ่านวัดทุ่งยั้งไปจนสุดถนน
เลี้ยวขวาไปจนสุดทางลาดยางเข้าถนนลูกรังจนถึงสามแยก
แล้วแยกซ้ายอีก 200 ม.
ถึงวัดพระบรมธาตุ
ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ
วัดพระบรมธาตุ
เป็นวัดเก่าแก่
ได้รับการปฏิสังขรณะ
าหลายครั้งแล้ว
ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักสวยงาม
หน้าบันและจั่วเป็นไม้
หน้าต่างแกะเป็นพุทธประวัติปิดทอง
หัวบันไดเป็นนาค
วิหารของวัดซึ่งเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง
2 ชั้น มีช่องลมอยู่โดยรอบ
ทำให้อากาศภายในเย็น
วิหารนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง
นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารไม้เก่าแก่ที่มีลายแกะสลักไว้ไห้ชม
นับเป็นวัดที่มีคุณค่าทางโบราณคดีมาก
|
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
เจดีย์ยุทธหัตถี |
หรือ
เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช
ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า
เจดีย์ชนช้าง
ตั้งอยู่บนดอยช้าง
ตำบลเกาะตะเภา อ.บ้านตาก
ดอยช้างเป็นเนินดินเล็ก
อยู่ทางเหนือของดอยพระธาตุไปเล็กน้อย
เจดีย์นี้เป็นโบราณสถาน
มีอายุอยู่ในสมัยกรุงสุโขทัยรวม
700 ปีเศษ
องค์เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่เยื้องกับวัดพระบรมธาตุประมาณ
200 ม.
ลักษณะของเจดีย์ยุทธหัตถี
เป็นศิลปะแบบสุโขทัยคล้ายกับองค์อื่น
ทั่วไปในเมืองสุโขทัย
ก่ออิฐถือปูนฐานกว้าง 12 ม.
เป็นเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขึ้นไปสูง
16 ม.
เหนือเรือนธาตุทำเป็นลำสี่เหลี่ยมย่อมุมตลอดถึงยอดที่เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ยอดสุดมีฉัตร
มีร่องรอยการซ่อมแซมตลอดมา
แต่ไม่เสียทรงเดิม
ฐานพุ่มมีลายปั้นเป็นรูปหน้าสิงห์สวยงาม
หน้าสิงห์บ้านทิศเหนือยังสมบูรณ์บ้านอื่น
ชำรุดและมีรอยซ่อม
องค์เจดีย์ส่วนใหญ่มีคราบตะไคร่น้ำจับอยู่ทั่วไป
จะมีการขุดแต่งหรือถากถางสถานที่ก็ต่อเมื่อใกล้วันจะมีงานเทศกาล
ซึ่งเป็นงานเดียวกับงานไหว้พระธาตุบ้านตาก
สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงกล่าวถึงเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี
ในหนังสืออธิบายระยะทางล่องลำน้ำปิงว่า
...."มีพระเจดีย์องค์หนึ่งบนดอยช้างเหนือดอยพระธาตุ
เรียกว่า พระปรางค์
แต่ที่จริงเป็นพระเจดีย์แบบสุโขทัย
เหมือนพระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเมืองศรีสัชนาลัย
และพระเจดีย์ที่วัดกระพังเงิน
ในเมืองสุโขทัย
พระเจดีย์รูปนี้ที่วัดพระธาตุเมืองกำแพงเพชรก็มีอีกองค์หนึ่ง
เข้าใจว่าเป็นฝีมือช่างครั้งกรุงสุโขทัยสร้างไว้
ขนาดสูงตลอดยอดประมาณ 20 วา
มีผู้ซ่อมแต่ซ่อมดีไม่แก้รูปเดิม
ลายหน้าราหูยังปรากฏอยู่
พระเจดีย์องค์นี้สร้างบนยอดดอยที่ต่ำกว่าดอยที่สร้างพระธาตุ
ควรเข้าใจว่าสร้างที่หลังพระธาตุในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีเรื่องปรากฏว่า
เมื่อครั้งพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
อันเป็นวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัยนั้น
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด
เข้ามาตีเมือง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตกทัพ
พ่อขุนรามคำแหงผู้ราชบุตรเข้าชนช้างกับขุนสามชนจนมีชัยชนะ
ข้าศึกแตกพ่ายไป
น่าสันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้จะสร้างเป็นของเฉลิมพระเกียรติเรื่องชนช้างคราวนั้น
แต่พระเจ้ารามคำแหงจะสร้างเองหรือจะสร้างในรัชกาลหลังมาไม่มีเค้าเงื่อนจะรู้ได้แน่นอน |
|
|
|
|