วัดจอมสวรรค์ |
ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล
ตำบลทุ่งกวาว
ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1
กม. เป็นวัดไทยใหญ่
สร้างแบบสถาปัตยกรรมพม่า
หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้นประดับประดาลวดลายฉลุ
อารามเป็นไม้สัก
ใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร
และกุฏิ
ภายในอารามแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง
เพดาน
และเสาฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม
โบราณวัตถุภายในวัดได้แก่
หลวงพ่อสาน
เป็นพระพุทธรูปที่สร้าง
โดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นองค์ลงรักปิดทอง
พระพุทธรูปงาช้างซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า
คัมภีร์งาช้าง
หรือคัมภีร์ปฏิโมกข์
โดยนำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบางๆเขียนลงรักแดง
จารึกเป็นอักษรพม่า
และยังมีบุษบกลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
|
ตั้งอยู่ริมถนนเจริญเมือง
ใกล้ศาลากลางจังหวัดแพร่
สร้างขึ้นราวพ.ศ.2498
โดยรวมวัดโบราณ 2 แห่ง
เข้าด้วยกันคือวัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง
ปัจจุบันวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี
พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดและยังมีพระเจดีย์มิ่งเมือง
ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอย
พระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน
นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของมูลนิธิยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง
"ยาขอบ"หรือนายโชติ
แพร่พันธุ์
นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดพระธาตุช่อแฮ
|
อยู่ที่ตำบลช่อแฮ
ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ
ประมาณ 8 กม. (ทางหลวงหมายเลข
1022)
เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่
ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.1879-1881
ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช(ลิไท)โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม
พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐาน
พระเกศาธาตุและพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า
เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง
ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร
ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ
11 เมตร
สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง
สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น
บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดี
ซึ่งทอจากสิบสองปันนาและชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ
บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย
ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น
9 ค่ำ - ขึ้น15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม)
ของทุกปี |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดพระธาตุจอมแจ้ง
|
อยู่ในท้องที่ตำบลป่าแดง
เลยพระธาตุช่อแฮไป 3 กม.
ห่างจากตัวจังหวัดราว 10 กม.
สร้างเมื่อพ.ศ.1331
ไม่ปรากฎชื่อผู้สร้าง
องค์พระธาตุจอมแจ้งสีทอง
สูง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร
เดิมเรียกว่า
พระธาตุจวนแจ้ง
เนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่นี้จวนสว่างพอดี
ต่อมาเพี้ยนเป็นจอมแจ้ง
เชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
ที่นี่มีศาลาเรียกว่า
พิพิธภัณฑ์ตำบลป่าแดง
หรือพิพิธภัณฑ์ของจังหวัด
รวบรวมสิ่งของโบราณที่หาดูได้ยาก |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วนอุทยานแพะเมืองผี
|
ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ
ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่-น่าน
ไปประมาณ 12 กม.
แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กม.
แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ
500
ไร่เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดินและหินทราย
ถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆเช่นดอกเห็ดและหน้าผาดูแล้วแปลกตา
ชื่อแพะเมืองผีน่าจะมาจากภาษาพื้นเมืองแพะหมายถึงป่าแพะหรือป่าเต็งรัง
ส่วนคำว่าเมืองผี แปลว่า
เงียบเหงา
วังเวงอาจเกิดจากสภาพภูมิประเทศที่ดูเร้นลับน่ากลัว
สถานที่แห่งนี้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่
2 มีนาคม 2524 |
|
-----------------------------------------------------------------
|
บ้านประทับใจ
(บ้านเสาร้อยต้น) |
ตั้งอยู่เลขที่
81/1 หมู่ที่ 7 ตำบลป่าแมต
อำเภอเมือง
ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023(แพร่-ลอง)
สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2519
เป็นบ้านไม้สักทั้งหลัง
โดยใช้ไม้สักท่อนขนาดใหญ่
ตั้งเป็นเสาบ้านรวม130 น
แต่ละเสามีอายุประมาณ 300 ปี
แกะสลักอย่างประณีตวิจิตรบรรจง
ตัวบ้านเป็นแบบทรงไทยประยุกต์
มีเนื้อที่ถึง 1 ไร่เศษ
เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา
08.00-17.00 น. เสียค่าเข้าชมคนไทย 10
บาทชาวต่างประเทศ 20
บาทนอกจากนี้ผู้เข้าชมสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่โทร
(054) 511282, 511008 |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดสระบ่อแก้ว
|
ตั้งอยู่บนถนนน้ำคือ
ริมคูเมือง
สร้างขึ้นสมัยเดียวกับวัดจอมสวรรค์
เดิมชื่อวัดจองกลาง
เป็นวัดศิลปะ
แบบพม่าที่สวยงามแปลกตา
ทั้งศาลาการเปรียญ โบสถ์
และเจดีย์
มีพระพุทธรูปหินอ่อนทรงเครื่องแบบพม่า
สร้างอย่างสวยงามวิจิตรพิสดารมาก
วัดแห่งนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์พม่าที่เดินทาง
เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยในประเทศไทย |
|
-----------------------------------------------------------------
|
หลักเมืองจังหวัดแพร่
|
ตั้งอยู่บนถนนคุ้มเดิมย่านกลางเมือง
เป็นหลักใหม่สร้างตามนโยบายมหาดไทยปี
2535 ตั้งอยู่คู่กับ
หลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง
สมัยรามคำแหงมหาราช
ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัด
อักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม |
|
-----------------------------------------------------------------
|
อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์
|
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่
ประมาณ 4 กม.
ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 101
พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่
รับราชการระหว่าง พ.ศ.2440-2445
ในปีพ.ศ.2445
พวกเงี้ยวในเมืองแพร่ก่อการกบฏ
ท่านถูกพวกเงี้ยวฆ่าตายเนื่องจากไม่ยอมลงนามยกเมืองแพร่ให้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
ทรงโปรดให้ส่งกองทหารมาปราบพวกเงี้ยว
แล้วสร้างอนุสาวรีย์ให้กับพระยาไชยบูรณ์เป็นอนุสรณ์
และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น
พระยาราชฤทธานนท์พหลพลภักดี |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดพระนอน
|
วัดพระนอน
อยู่ใกล้วัดหลวงบนถนนพระนอนเหนือ
มีพระอุโบสถแบบเชียงแสนคือไม่มีหน้าต่าง
แต่ทำเป็นช่องรับแสงแทน
ส่วนหน้าบันแกะสลักอย่างงดงามเป็นลายก้านขด
มีภาพรามเกียรติ์ประกอบ
ส่วนวิหารตกแต่งชายคาด้วยไม้ฉลุโดยรอบ
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นยาว 9
เมตรลงรักปิดทองตลอดองค์ |
-----------------------------------------------------------------
|
หมู่บ้านโป่งศรี
|
ตำบลถิ่น
อำเภอเมือง
เป็นหมู่บ้านซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุเก่าเก็บ
ทั้งที่เป็นของมีค่าและเครื่องใช้
ในชีวิตประจำวันที่เป็นของเก่า
รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์เครื่องเงินขาย |
-----------------------------------------------------------------
|
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
|
ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแพร่-สูงเม่น
ประมาณ 3 กม.
ในบริเวณเดียวกับสวนอาหารบ้านฝ้าย
เป็นสถานที่จำลองชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบอาคารบ้านเรือนและของใช้ในครัวเรือนของชาวเมือง
เมื่อราว 100 กว่าปีมาแล้ว |
-----------------------------------------------------------------
|
หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง |
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ
4 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายแพร่-น่าน)
เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าม่อฮ่อมดั้งเดิมของจังหวัดแพร่ |
-----------------------------------------------------------------
|
หมู่บ้านร่องฟอง |
เป็นหมู่บ้านผลิตเครื่องมือเกษตรที่ทำจากเหล็ก
เช่น จอบ เสียม มีด พร้า
เคียว ชมวิธีการตีเหล็ก
และการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าร่ม
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข
101 (สายแพร่-น่าน) ประมาณ 4 กม.แยกเข้าทางหลวงหมายเลข
1101
จะพบป้ายบอกทางเข้าหมู่บ้าน |
-----------------------------------------------------------------
|
น้ำตกแม่แคม
หรือน้ำตกสวนเขื่อน |
อยู่ในเขตตำบลสวนเขื่อน
อำเภอเมือง
จากสี่แยกบ้านทุ่งข้ามสะพานข้ามคลองแม่สาย
แล้วเลี้ยวซ้าย
ไปตามถนนสายป่าแดง-ทุ่งโฮ้ง
4 กม.
จะมีป้ายแยกทางไปน้ำตกแม่แคมอีก
12 กม.
น้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
มี 2 ชั้น น้ำไหลแรงตลอดปี
สภาพทั่วไปเป็นป่า
เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบ
การเดินป่า |
-----------------------------------------------------------------
|
น้ำตกตาดหมอก
หรือน้ำตกแม่คอย |
อยู่ที่ตำบลสวนเขื่อน
อำเภอเมือง
ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 22
กม. เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 3
ชั้น สวยงามมาก
แต่ต้องเดินทางเท้าเข้าไปอีกราว
1 กม. |