|
วัดพระนอน |
วัดพระนอน อยู่ใกล้วัดหลวงบนถนนพระนอนเหนือ
มีพระอุโบสถแบบเชียงแสนคือไม่มีหน้าต่าง
แต่ทำเป็นช่องรับแสงแทน
ส่วนหน้าบันแกะสลักอย่างงดงามเป็นลายก้านขด
มีภาพรามเกียรติ์ประกอบ ส่วนวิหารตกแต่งชายคาด้วยไม้ฉลุโดยรอบ
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นยาว 9 เมตรลงรักปิดทองตลอดองค์
วัดพระนอนเป็นวัดโบราณสถานที่มีอายุ นับพันปี
สร้างด้วยศิลปะแบบผสมผสานถึงสามยุค คือ เชียงแสน สุโขทัย
และอยุธยาตอนปลาย วัดพระนอนสร้างโดย เจ้าพระยาชัยชนะสงคราม
และพระนางเจ้าอู่ทองศรีพิมพา
เมื่อ จ.ศ. ๒๓๖ แต่เดิมนั้นวัดนี้ มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์
คือพระนอนซึ่งองค์จริงนั้นเป็นหินยาวขนาดหกศอกต่อมาเจ้าปู่ท้าวคำซึ่งเป็น
พระอัยการของเจ้าชัยชนะสงคราม เห็นว่า
ไม่ปลอดภัยจึงสั่งให้สร้างพระนอนองค์ใหญ่ ครอบองค์เดิมไว้
และช่วยกันตกแต่งพระพุทธ
รูปนอนองค์ใหญ่ให้สวยงามพอดีมีกองทับพม่ามารุกรานเมืองโกศัยาวเมืองก็ตื่นกลัวพากันอพยพหลบหนี้ไปตามป่าเขาโดยยังมิทันได้ฉลองพระพุทธรูปองค์นอน
เจ้าพระยาชัยชนะ สงครามเห็นเหตุการณ์ ดังนั้น
จึงตรัสสั่งมเหสีว่า "ดูกร
เจ้าพิมพาศึกมาถึงบ้านเมืองความแตกตื่นย่อมมีดังนี้ขอให้สร้างให้เสร็จแล้วทำบุญวันรุ่งขึ้นของวันใหม่"
แล้วเจ้าชัยชนะ สงครามก็ออกศึก และสวรรคตในสนามรบ น้องชาย
ท้าวยาสิทธิ์ แสนหาญ ออกรบสู่พม่า ก็หาสาบสูญอีก
พระนางพิมพาจึงได้ลงมือสร้างวัดพระนอน เจดี์ขึ้น
แล้วจารึกในแผ่นทองคำ เป็นตัวหนังสือ พื้นเมืองว่า
วัดพระนอนนนี้ให้มีการนมัสการไหว้สาในเดือน เก้าเหนือ
ขึ้นสสิบห้าค่ำ จึงเป็นงานนมัสการวัดพระนอน
เมืองนครโกศัยไม่มีเจ้าปกครองได้ละทิ้ง
วัดพระนอนเป็นวัดร้างเป็นเวลานานเท่าใดไม่ปรากฏ
มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นคลุมบริเวณวัด มีเถาวัลย์ขนาดใหญ่
ชื่อว่าผักหละ(ชะอม) ขึ้นปกคลุมพระนอนเป็นเวลานาน
จนกลายเป็นป่า
ต่อมามีพ่อค้าต่างเมืองเดินทางมาค้างแรมบริเวณดังกล่าว
เห็นผักหละขึ้นงามดีจึงนำไปทำอาหาร และได้พบเศษอิฐอยู่ทั่วไป
พวกพ่อค้าจึงสงสัยว่าเป็นวัดร้าง
และนำไปเล่าให้ชาวบ้านฟังชาวบ้านก็แตกตื่น
ช่วยกันหักล้างถางพงพบต้นไม้ใหญ่เป็นต้นมะม่วงขึ้นคลุมพระนอนคล้ายกับร่ม
ชาวบ้านเกิดศรัทธา จึงช่วยกันบูรณะ ซ่อมแซมให้สวยงามและแข็งแรง
และได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่าวัดม่วงคำ
ต่อมาพบแผ่นทองคำจารึกของพระนามพิมพาจึงได้รู้ว่าวัดม่วงคำ
แต่เดิมชื่อ วัดพระนอน
และสันนิฐานว่าวัดพระนอนนี้ได้สร้างสำเร็จในเดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ
ทั้งนี้โดยถือเอาคำจารึกในแผ่นทองคำเป็นหลักและพระ
ประธานในวิหารใหญ่นั้นชื่อหลวงพ่อ มงคลทิพณี
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้างแต่มีเพียงตัวหนังสือ
เขียนไว้ว่าวัดพระนอนเป็นโบราณสถาน
มีแต่นานเนื่องมาน่านับถือมีประวัติสืบเล่าเขาเลื่องลือ
ว่าได้ชื่อพระนอนก่อนเก่ากาลอนุชนรุ่นหลังฟังไว้
ขอภูมิใจซึ่งคุณค่ามหาศาลมรดกตกทอดตลอดนาน
อยู่คู่บ้านเมืองแพร่แต่นี้เทอญฯ
|
|
|
|
|
|