วัดนางพญา
|
ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชบูรณะ
ถัดไปทางทิศตะวันออก
มีลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยเดียวกับวัดราชบูรณะ
ต่างกันที่วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถมีแต่วิหาร
มีการพบกรุพระเครื่อง
"นางพญา"
ซึ่งมีชื่อเสียงของจังหวัดพิษณุโลกเป็นครั้งแรกใน
พ.ศ. 2444 และครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2497 |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดราชบูรณะ
|
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก
ทางใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุเล็กน้อย
ตัวพระอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือเศียรนาคที่ชายคาเป็นนาค
3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม
พิจารณาดูตามชื่อแล้ว
วัดราชบูรณะน่าจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง
เชื่อว่าเป็นสมัยสมเด็จพระบรม-ไตรโลกนาถ
เนื่องจากทรงประทับอยู่ที่
เมืองพิษณุโลกถึง25 ปี
และทรงมีบทบาททางบำรุงพระศาสนาที่พิษณุโลกมากที่สุด |
|
-----------------------------------------------------------------
|
พระราชวังจันทน์ |
พระราชวังจันทน์เป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และสมเด็จพระเอกาทศรถ
ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2535
กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบแนวเขตพระราชฐานพระราชวังจันทน์ในบริเวณโรงเรียน
ซึ่งนับว่าเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของจังหวัด
ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้กลบหลุมขุดค้นบางส่วนเพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไว้จนกว่าจะมีการขุดค้นอย่างจริงจังอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม
ยังมีโบราณสถานบางส่วนที่ยังไม่ได้กลบไว้ให้ผู้สนใจได้ชมลบะศึกษาต่อไป |
|
-----------------------------------------------------------------
|
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
|
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
ข้างศาลากลางจังหวัด เดิมคือ
พระราชวังจันทน์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ภายในศาลประดิษฐานรูปหล่อ-ของพระองค์ขณะทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก
ประกาศอิสรภาพกรุงศรีอยุธยา
กรมศิลปากร ดำเนินการสร้าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลนี้เมื่อวันที่
25 มกราคม 2504
ทางจังหวัดพิษณุโลกจึงถือเอาวันที่25
มกราคม
ของทุกปีเป็นวันจัดงานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวพิษณุโลกเป็นอย่างมาก
นักท่องเที่ยวควรแวะชมและสักการะ |
|
-----------------------------------------------------------------
|
พิษณุโลกไนท์บาซาร์
|
พิษณุโลกไนท์บาซาร์
ตั้งอยู่บนถนนพุทธบูชาริมแม่น้ำน่าน เป็นอาคารตกแต่งงดงาม
ขนานแนวริมตลิ่ง ประกอบด้วยร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก
และร้านอาหารมากมาย
นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืนแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน
ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางสายเอเชีย หลวงหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา
อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 177ตรงสู่พิษณุโลก
รวมระยะทาง 177 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดเจดีย์ยอดทอง |
ตั้งอยู่บนถนนพญาเสือเช่นเดียวกับวัดอรัญญิก
ปัจจุบันเหลือเพียงเจดีย์ทรงบัวตูม
ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยเพียงองค์เดียวของจังหวัดที่สมบูรณ์
มีฐานกว้างประมาณ 9 เมตร สูง 20 เมตร |
|
-----------------------------------------------------------------
|
พิพิทธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าสิบเอก
ดร.ทวิพิมพ์ บูรณเขตต์ |
ตั้งอยู่ตรงข้างกับโรงหล่อพระบูรณะไทย
ถนนวิสุทธิกษัตริย์
อ.เมืองพิษณุโลก
เป็นที่เก็บรวบรวมศิลปะพื้นบ้าน
ตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ จนถึงชิ้นใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน
เครื่องปั้นดินเผา
เครื่องใช้ในครัวโบราณ
และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ
เช่น เครื่องวิดน้ำด้วยมือ
เครื่องสีข้าว เครื่องดักสัตว์
ตลอดจนเครื่องมือในการจับหนูและแมลงสาบ จ่าสิบเอก ดร. ทวี บูรณเขตต์
ได้รับการยกย่องว่าเป็น
"คนดีศรีพิษณุโลก"
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องให้เป็น
"บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาการช่างฝีมือ"
ประจำปี 2526
และสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเสนอชื่อเข้ารับพระราชทางปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาศิลปะ เมื่อปี พ.ศ. 2527
เนื่องจากเป็นผู้ที่มีฝีมือในทางประติมากรรม
และเป็นผู้อนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านโดยเฉพาะศิลปะของล้านนาไทยไว้มากที่สุด พิพิธภัณฑ์นี้
เปิดให้เข้าชมทุกวัน
ค่าผ่านประตู 50 บาทต่อท่าน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร.
(055) 252-121 |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดกลาง |
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอนครไทย
เชื่อกันว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองบางยาง
ซึ่งปกครองโดยพ่อขุนบางกลางท่าว (หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย)
ด้านหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางท่าว มีต้นจำปาขาว อายุกว่า
700 ปี ลำต้นสูงใหญ่ได้รับการอนุรักษ์ไว้
และยังออกดอกให้ชมอยู่จนทุกวันนี้
นอกจากนี้ที่อำเภอนครไทยยังมีประเพณีปักธงชัยบนยอดเขาช้างล้วงในช่วงวันลอยกระทงอีกด้วย |
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดจุฬามณี
|
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก
ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามถนนบรมไตรโลกนาถประมาณ
5 กม.
วัดจุฬามณีเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด
เคยเป็นที่ตั้งของเมืองพิษณุโลกเดิม
ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้เมื่อ
พ.ศ. 2007 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน
โดยมีข้าราชบริพาร
ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป วัดนี้
มีโบราณสถานสำคัญ คือ
มณฑปพระพุทธบาทจำลองและศิลาจารึก
ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดสร้างขึ้น
ในแผ่นจารึกมีใจความสรุปได้ว่า
เมื่อพ.ศ. 2221
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้ผ้าทาบรอยพระพุทธบาท
สลักลงบนแผ่นหิน
พระราชทานไว้เป็นที่กราบไหว้ของฝูงชน
นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่มีค่าสูงทางศิลปะ
คือ ปรางค์แบบขอม
ขนาดเล็กฐานกว้าง 11 เมตร ยาว 18 เมตร
ก่อด้วยศิลาแลง
ปั้นปูนประดับลวดลายเป็นรูปหงส์สวยงามมาก
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
มะขามยักษ์
มีอายุประมาณ 700 ปี
อยู่ที่ต.บ้านกอก
จากตัวเมืองใช้เส้นทางไปนครสวรรค์
เลี้ยวซ้ายตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำ-น่านไปประมาณ
700 เมตร
อยู่ในบริเวณที่ดินของคุณยายไสว
ภู่เพ็ง
ตามประวัติกล่าวว่าเดิมบริเวณนี้เป็นป่าพง
วันหนึ่งมีช้างเชือกหนึ่งหลุดเข้ามาอาศัยอยู่รอบ
ๆ
ต้นมะขามไม่ยอมห่างเจ้าของต้องใช้กำลังอย่างมากจึงสามารถนำช้างกลับไปได้
ไม่นานช้างนั้นก็ตายในลักษณะยืนตาย
ต่อมาบริเวณโคนต้นมะขามนั้นเกิดมีตะปุ่มตะป่ำงอกขึ้นมาจนเป็นรูปหัวช้างพร้อมทั้งมีรากงอกเป็นรูปงวง
และงาช้าง
ซึ่งได้ผุกร่อนจนไม่อาจมองเห็นรูปร่างหัวช้างได้อีก
อย่างไรก็ตาม
ต้นมะขามนี้แผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โตให้ความร่มรื่นอย่างมาก
และที่คบกิ่งด้านเหนือ
จะมีกล้วยไม้ติดอยู่ซึ่งจะมีดอกในเดือนหกทุกปี
ฉะนั้นชาวบ้านจึงทำบุญกันในวันขึ้น
9 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
มีมหรสพลิเกแสดงด้วย
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดวิหารทอง
เป็นวัดใหญ่
ตั้งอยู่ติดกับสำนักงานที่ดินจังหวัดพิษณุโลกทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน
เยื้องกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเล็กน้อย
ปัจจุบันเป็นวัดร้างเหลือแต่เนินฐานเจดีย์ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก
และเสาศิลาแลงขนาดใหญ่ประมาณ 7
ต้น
เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารสซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสระเกศ
|
-----------------------------------------------------------------
|
สระสองห้อง
อยู่ทางด้านตะวันตกของพระราชวังจันทน์นอกกำแพงปัจจุบันอยู่นอกรั้วของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
เดิมชาวบ้านเรียกว่า
"หนองสองห้อง"
เป็นที่ประทับสำราญพระทัยของพระมหากษัตริย์ที่มาประทับ
ณ พระราชวังจันทน์
|
-----------------------------------------------------------------
|
กำแพงเมืองคูเมือง
กำแพงเมืองพิษณุโลกแต่เดิมเป็นกำแพงดินเช่นเดียวกันกับกำแพงเมืองสุโขทัย
คาดว่า
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เพื่อเตรียมรับศึกพระเจ้าติโลกราชแห่งราชอาณาจักรล้านนา
และต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
ได้โปรดให้ซ่อมแซมกำแพงเมืองอีกครั้ง
เพื่อเตรียมรับศึกพม่าพอถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดให้ช่างฝรั่งเศสสร้างกำแพงใหม่
โดยก่อด้วยอิฐให้แข็งแรงยิ่งขึ้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
โปรดให้รื้อกำแพงเมืองและป้อมต่าง
ๆ เสีย
เพื่อมิให้พม่าซึ่งรุกรานไทยยึดเป็นที่มั่น
ฉะนั้น
ในปัจจุบันจึงเหลือเพียงกำแพงดินบางจุด
ที่เห็นได้ชัด
ในขณะนี้ คือ
บริเวณวัดโพธิญาณซึ่งอยู่ทางเหนือใกล้
ๆ
ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
บริเวณวัดน้อย
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกใกล้ทางรถไฟ
และบริเวณสถานีตำรวจภูธร
จังหวัดพิษณุโลก
สำหรับคูเมืองที่เห็นได้ชัด
คือ
แนวที่ขนานกับถนนพระร่วง
ทางด้านตะวันตก
ขนาดกว้างประมาณ 12 เมตร
ซึ่งได้มีการขุดลอกเพื่อมิให้ตื้นเขินอยู่เสมอ |
-----------------------------------------------------------------
|
วัดอรัญญิก
เจดีย์วัดอรัญญิกวัดอรัญญิก
เป็นวัดโบราณสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
บริเวณนอกกำแพงเมือง ประมาณ 1 กิโลเมตร
ตามความนิยมในสมัยสุโขทัยที่สร้างสร้างวัดในป่าและ ให้ชื่อว่า
"อรัญญิก"
ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัด เจดีย์องค์ประธานเป็นทรงลังกา ฐานกลม
องค์ระฆังเหลือครึ่งซีกจนถึง บัลลังก์
พบร่องรอยการบูรณะจึงมีรูปแบบผสมผสาน พบซากอุโบสถ
ซากใบเสมาหินศิลปสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน สุโขทัย
และอยุธยา มีคูน้ำล้อมเนินดิน |