ประวัติ
พิษณุโลก
เป็นจังหวัดใหญ่
เป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ
สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่
15
สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้
พิษณุโลกเดิมชื่อ"เมืองสองแคว"
ตั้งอยู่บริเวณ
วัดจุฬามณีในปัจจุบัน
เหตุที่ชื่อเมืองสองแคว
เพราะตั้งอยู่ระหว่างแควน่านกับลำน้ำแควน้อย
ในสมัยสุโขทัย
ครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท
ได้โปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่
ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.
1900
และยังเรียกเมืองสองแควเรื่อยมา
ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกในสมัยอยุธยา
รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เมื่อครั้งที่เสด็จ
ขึ้นมาประทับที่เมืองสองแควตั้งแต่
พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ.
2031
เมืองพิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง
25 ปี
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
และเป็นเมืองลูกหลวง
ซึ่งกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาส่งมหาอุปราช
หรือพระราชโอรสมาครอง
เมืองสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงมีพระราชสมภพ
ณ เมืองนี้
และได้ทรงครองเมืองนี้เช่นกัน
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2437
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงโปรดเกล้าให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑล
เรียกว่ามณฑลพิษณุโลก
ต่อมายกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว
พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
อาณาเขต
จังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง
ห่างจากกรุงเทพฯ 377 กม.
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้
มีเนื้อที่ 10,815.8 ตรกม.
มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2
สายคือ แม่น้ำน่าน
และแม่น้ำยม
ทิศเหนือ
จดจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันออก
จดจังหวัดเพชรบูรณ์
และจังหวัดเลย
ทิศตะวันตก
จดจังหวัดสุโขทัย
และกำแพงเพชร
ทิศใต้
จดจังหวัดพิจิตร
การปกครอง
จังหวัดพิษณุโลกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
9 อำเภอ คือ
|
อำเภอเมือง |
อำเภอวังทอง |
อำเภอพรหมพิราม |
|
อำเภอบางระกำ |
อำเภอบางกระทุ่ม |
อำเภอนครไทย |
|
อำเภอวัดโบสถ์ |
อำเภอชาติตระการ |
อำเภอเนินมะปราง |
|