|
วัดช้างรอบ
จ. กำแพงเพชร
เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง
มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน
ฐานเจดีย์กว้าง 31เมตร
สี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่
2 ขาหน้า
หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์
เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน
68 เชือก
ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปใบโพธิ์
กับมีรอยตั้งรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่ชำรุดหัก
เห็นไม่สมบูรณ์
ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน
ตรงเชิงบันไดมีรูปสิงห์หักอยู่ที่ฐาน
ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ
7 เมตร
กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ
20 เมตร
ลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกายอดหัก
ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่
กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร
ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร
วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง
มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง
ต่อจากวิหารใหญ่เป็นสระซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง
กว้าง 23 เมตร
สี่เหลี่ยมลึก ประมาณ 8
เมตร
มีน้ำขังอยู่บางฤดูจากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง
ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ
รูปยักษ์ รูปหงส์
รูปหน้าเทวดา
และหน้ามนุษย์
ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น
หรือสุโขทัยตอนปลายทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว
การฟ้อนรำและลักษณะอื่น
ๆ
ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย
ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี
บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้
บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร |
|
|
|
|
|
|