|
วัดพระอินทร์และแหล่งขุดพบภาชนะดินเผา,สุพรรณบุรี
|
วัดพระอินทร์และแหล่งขุดพบภาชนะดินเผา |
วัดพระอินทร์เป็นวัดเก่าแก่อยู่ในตัวเมือง
ภายในวัดมีซากเจดีย์ปรักหักพัง ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการดูแล
ลักษณะเจดีย์เป็นฐานแปดเหลี่ยม มีซุ้มไว้พระพุทธรูปประกอบด้วย
ภายปูนปั้น และภาพนูนต่ำ
ที่ขอบซุ้มมีลายใบไม้ม้วนเรียงกันไปทางทิศเหนือเป็นแนวเดียวกัน
ซุ้มด้านตะวันตกมีพระพุทธรูปยืนปางปฐมเทศนา
ที่ปลายของซุ้มทั้งสองข้างทำลวดลาย เป็นรูปพญานาคชูคอขึ้น
ที่หัวมีรัศมีแผ่คล้ายพัดใกล้ฐานพระเจดีย์มีพระพุทธรูป
องค์หนึ่งมีลักษณะครึ่งองค์ตั้งอยู่บนพื้นดิน นอกจากนี้รอบๆ
องค์เจดีย์ยังมีเศษภาชนะดินเผา และชิ้นส่วนของเครื่องสังคโลก
กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ปลายปี พ.ศ. 2528 ได้ค้นพบแหล่งเตาเผา
เครื่องถ้วยชามบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำสุพรรณบุรี
บริเวณบ้านค่ายเก่ากับโพธิ์พระยาในเขตตำบลพิหารแดง สนามชัย
และรั้วใหญ่ ได้พบเศษภาชนะต่างๆ เช่นเครื่องสังคโลก เครื่องถ้วยจีน
ภาชนะดินเผาเนื้อดินและเนื้อหิน จำนวนหมื่นๆ ชิ้น ต้นปี พ.ศ. 2529
ได้ขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีเตาบ้านสุมน แหล่งเตาบ้านปูน
ตำบลพิหารแดง พบเตาเผาถึง 10 เตา มีความยาว 5 เมตร กว้าง 2 เมตร
ซึ่งใช้ผลิตภาชนะเนื้อหิน เช่น ชาม จาน อ่าง แจกัน หม้อ
ซึ่งมีลวดลายแปลกแตกต่างกันเช่น ลายเทวดา ลายเทพพนม รูปทรงเรขาคณิต
ลายดอกไม้ ฯลฯ
|
|
|
|
Kumsuphan
|
1,000 Bht + ABF |
อยู่ตัวเมือง
มีสระว่ายน้ำ |
|
|
|
|
|
|