พระอุโบสถหลังเก่า
ตั้งอยู่ด้านหลังพระมุเตา มีขนาดสามห้องไม่ยกพื้น รูปทรงแบบมหาอุด
ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าเล็กน้อยไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล
ด้านหน้ามีพาไล หน้าบันปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษาดอกพุดตาน
ประดับกลางดอกด้วยเครื่องถ้วยลายคราม และเบญจรงค์
มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงประตูเดียวอยู่ตรงกลาง มีหน้าต่างด้านละสามบาน
ซุ้มประตูหน้าต่างปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ผนังด้านหลังทึบ
ฝาผนังด้านในทั้งสี่ด้าน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสกุลนนทบุรี
เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ตามแบบอยุธยาตอนกลาง
ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพมารผจญ
มีรูปพระแม่ธรณีประทับนั่งบีบมวยผมอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม
ลวดลายอ่อนช้อยเหมือนลอยตัว
เป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งามที่สุดในประเทศไทย
ผนังด้านหลังเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าสองพระองค์ ประทับนั่งสมาธิ
ผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับบนแท่นบัลลังก์
มีสาวกเฝ้าอยู่สองข้าง ผนังระหว่างช่องประตูกับหน้าต่างเป็นภาพทศชาติ
พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น
พระวิหาร ตั้งอยู่หลังพระอุโบสถ ขนาดสามห้อง ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรม
เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ
เดิมในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง
รูปปูนปั้นหลวงพ่อฟ้าผ่า เป็นรูปปั้นพระสงฆ์ชาวมอญ มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
เคร่งครัดในด้านวิปัสสนาเป็นพระเถรผู้ใหญ่ที่
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ความนับถือมาก
และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของมหาชนทั่วไป
เมื่อท่านมรณะภาพขณะที่ไฟพระราชทานมาถึง ฟ้าได้ผ่าลงที่ปราสาทตั้งศพ
ไฟลุกไหม้สรีรศพของท่านในเวลาเดียวกัน ผู้คนจึงขนานนามท่าน
|