นนทบุรี
เมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 400 ปี
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองน้อยใหญ่มากมาย มีเนื้อที่ประมาณ 622 ตร.กม.
เป็นเมืองเก่าแก่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ
ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น
ยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2092 รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในปี
พ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัด
ตอนใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุวัดเขมา
เพราะเดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าแม่น้ำอ้อม มาทาง
บางใหญ่วกเข้าคลองบางกรวยข้างวัดชลอ มาออกหน้าวัดเขมา เมื่อขุดคลองลัดแล้ว
แม่น้ำก็เปลี่ยน ทางเดินไหลเข้าคลองลัดที่ขุดใหม่
กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ดังปัจจุบันนี้เมื่อ พ.ศ. 2208
สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น
ทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรี มาอยู่ปาก
แม่น้ำอ้อมด้วย ยังมีศาลหลักเมืองปรากฏอยู่
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อ บ้านตลาดขวัญ
และในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้นที่ปากคลองบางซื่อ
ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ.ศ. 2471 รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดฯ
ให้ย้ายศาลากลาง มาตั้งที่ ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองฝึกอบรมกระทรวงมหาดไทยตั้งอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1
อำเภอเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรป
ลักษณะเป็นตึกพื้นไม้ทาสีไข่ไก่ ประตูหน้าต่างสีเขียว
หลังคามุงกระเบื้องลูกฟูกเนื่องจากเดิมเป็นโรงเรียนประจำ คือ โรงเรียน
ราชวิทยาลัย ลักษณะอาคารจึงมีหลายหลังติดต่อกัน หอประชุมอยู่ท้ายสุด
ตามอาคารประดับด้วยไม้ฉลุ สลักเสลา สวยงามมาก
ตั้งอยู่เห็นตระหง่านริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นบัญชีไว้เป็น
โบราณสถานแห่งหนึ่ง ตามประกาศลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2524
การปรับปรุงซ่อมแซมเคยมีในปี พ.ศ. 2511 ต่อมาได้ทำการซ่อมแซมใหญ่ ในปี พ.ศ. 2515
|