ลพบุรี
เป็นเมืองสำคัญเก่าแก่เมืองหนึ่งตั้งแต่สมัยทวาราวดี
(พุทธศตวรรษที่ 11-16)
เคยอยู่ใต้อำนาจ
มอญและขอมจนกระทั่งในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่
19
คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้
ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง
ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
กล่าวคือพระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร
ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี
เมื่อ พ.ศ. 1893
พระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม
ขุดคู
และสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง
เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตใน
พ.ศ. 1912
พระราเมศวรต้องถวายราชบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์
ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์พระนามว่า
พระบรมราชาธิราชที่ 1
ส่วนพระราเมศวรครองเมืองลพบุรีสืบต่อไป
จนถึง พ.ศ. 1931
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่
1 สวรรคต
พระราเมศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์
ณ
กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง
หลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไป
จนกระทั่งมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(พ.ศ. 2199-2231)
ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่
สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดา
ที่ติดต่อค้าขายกับไทย
ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า
กรุงศรีอยุธยานั้นไม่สู้ปลอดภัยจากการปิดล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม
จึงได้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สองขึ้น
เพราะลพบุรีมีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสม
ในการสร้างลพบุรีขึ้นใหม่
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงได้รับความช่วยเหลือ
จากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน
และได้สร้างพระราชวังและป้อมปราการเป็นแนวป้องกัน
อย่างแข็งแรง
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่
สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ
แล้ว
ลพบุรีก็หมดความสำคัญลง
สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรีอยุธยา
ในรัชกาลต่อๆ มา
ก็ไม่ได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้อีก
จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ.
2406 โปรดฯ
ให้บูรณะเมืองลพบุรี
ซ่อมกำแพง ป้อม และ
ประตูพระราชวังที่ชำรุดทรุดโทรม
และสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นใน
พระราชวังเป็นที่ประทับ
และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
ลพบุรีจึงแปรสภาพเป็นเมืองสำคัญ
อีกวาระหนึ่ง
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล
ป. พิบูลสงคราม
ซึ่งได้สร้างเมืองลพบุรีใหม่อันเป็นเมืองทหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟมีอาณาเขตกว้างขวาง
ส่วนเมืองเก่านั้นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟ
เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญ
ทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งในปัจจุบันนี้ลพบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
153 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมด
6,199.753 ตรกม.
|