|
วัดขุนอินทประมูล,
อ่างทอง
วัดขุนอินทประมูล
|
อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล
การเดินทาง
ไปสามารถใช้เส้นทางได้ 3
สาย คือ
-
สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง
(เส้นทาง 3064) แยกขวาที่กม. 9
เข้าไปอีกประมาณ 2 กม.
-
จากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกม.ที่
8
จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง
4 กม.
-
จากเส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง
(ถนนเลียบคลองชลประทาน)
เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก
2 กม.
|
|
วัดนี้เป็นวัดโบราณ
พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดใหญ่
เป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย
มีความยาวถึง 50 เมตร (25 วา)
เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหาร
แต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนนานนับเป็นร้อย
ๆ ปี
องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม
พระพักตร์ยิ้มละไม
สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก
พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา
อาทิ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. 2296
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จฯ ในปี พ.ศ. 2221 และ พ.ศ. 2451
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ
มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี
พ.ศ. 2516
และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี
พ.ศ. 2518
พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจนอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว
ซึ่งเหลือเพียงฐาน
และผนังบางส่วนและพระพุทธรูป
ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้น
ขุนอินทประมูล
ซึ่งตามประวัติ
กล่าวว่าเป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์
พระนอนวัดขุนอินทประมูล ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล
ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 2 เส้น 5 วา
ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง
รองจากพระนอนจักรสีห์
ประวัติและความเป็นมา
จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง
ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ
ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความชื่อที่ว่า
ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปรารถนา
จากการสันนิฐานมีความเห็นว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพักตรหันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก
เมื่อมองตลอดทั้งองค์มีความสง่างามมาก พระพักตรงดงามได้สัดส่วน
แสดงออกถึงความมีเมตตา
ปัจจุบัน องค์พระนอนอยู่กลางแจ้งไม่มีวิหารคลุมเช่นพระนอนองค์อื่น
เนื่องจากวิหารเดิมคงหักพังไปนานแล้ว ดังจะเห็นได้จาก
เสาพระวิหารที่ยังปรากฏอยู่รอบองค์พระนอน รอบ ๆ
องค์พระมีต้นไม้ขนาดใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่โดยรอบ ทำให้มีความสงบร่มเย็น
เหมาะแก่การไปนมัสการให้เกิดความสุข สงบ ตามธรรมชาติ
ซึ่งแปลกออกไปจากบรรยากาศในพระวิหาร
ไม่พบว่ามีการนมัสการประจำปี อาจจะเนื่องจากอยู่ที่วัดร้างกลางทุ่งนา
ห่างไกลจากชุมชนมาก
|
|
|
|
|