|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง,ภูเก็ต
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง |
ตั้งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์วีรสตรีประมาณ
50 เมตร ตัวอาคารได้รับการออกแบบ ให้มีรูปทรง
เป็นบ้านท้องถิ่นของชาวภูเก็ต มี 2 หลัง อาคารหลังแรกจัดแสดงเรื่อง
ก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล ตะวันตก
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมื่ออารยธรรมอินเดียเผยแพร่เข้ามาประวัติและวิธีการทำเหมืองแร่ดีบุก
และสวนยางพารา
ศิลปะพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู
สำหรับอาคารหลังที่สองจัดแสดงฉากและเรื่องราวของศึกถลาง ชีวิตความเป็น
อยู่และประเพณีที่น่าสน ใจของชาวจีนในภูเก็ต และเรื่องราวความเป็น
มาและถิ่นอาศัยของชาวเลในภูเก็ต |
|
ประวัติและความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ถลาง
พิพิภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ประชาชนในท้องถิ่นร่วมใจกันจัดสร้างขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมโบราณวัตถุและวัตถุอันมีค่าต่าง ๆ
นำมาจัดแสดงให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ต
เป็นศูนย์รวมทางการศึกษาและข้อมูลทางการศึกษาและข้อมูลทางวิชาการของพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
รวมไปจนถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
และสนับสนุนกิจการด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต และขอให้กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นผู้ร่างโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว
โดยขอให้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ทันงาน "ฉลอง
200 ปี วีรสตรีเมืองถลาง" ใน พ.ศ.2528 สร้างบนเนื้อที่ 13 ไร่
เป็นที่ของวัดโคกยางซึ่งได้ร้างไป
ตัวอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ได้ดัดแปลงรูปทรงแบบบ้านพื้นถิ่นมาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์บ้านแบบโบราณเป็นอย่างดี
การดำเนินการก่อสร้างและจัดแสดงโบราณวัตถุได้แล้วเสร็จและเปิดให้ประชาชนเข้าชมในระยะแรก
ปี พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินทางประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2532
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สังกัดสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่
12 ภูเก็ต กรมศิลปากร |
|
โบราณวัตถุที่สำคัญ
1. พระนารายณ์
ขนาด สูง 235 ซม.
ชนิด ศิลา
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 14
พบที่ บริเวณเขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอปะกง จังหวัดพังงา
2. เศียรนางภูเทวี
ขนาด สูง 41 ซม.
ชนิด หินชนวน
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12 - 14
3. ภาชนะดินเผาและเครื่องประดับ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
พบที่ถ้ำหลังโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และควนลูกปัด
ตำบลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
|
|
การจัดแสดง
ได้เน้นหนักถึงเนื้อหาด้านวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ของกลุ่มชนชาวภูเก็ต
และจังหวัดชายทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย วัตถุประสงค์หลัก
เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานวีรกรรมของท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร
ในการสงครามกับพม่า เมื่อ พ.ศ. 328 เสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ประจำท้องถิ่น มีส่วนรับใช้สังคม เป็นการแสดงเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชน ผู้อาศัยในจังหวัดภูเก็ต
และจังหวัดใกล้เคียง มีรายละเอียดดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
แสดงความเป็นอยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตลอดคาบสมุทรไทย-มลายู และดินแดนใกล้เคียง
โบราณวัตถุที่ขุดพบบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกภาคใต้ของไทย เทวรูปจากตำบลเหล
ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
2. จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
โดยศึกษาจากจดหมายเหตุของ ชาวต่างประเทศ การจัดแสดงประกอบด้วย โบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ แผนที่ ภาพวาด และรูปจำลองโบราณสถาน เส้นทางเดินเรือ ทิศทางลม
ท่าจอดเรือและแหล่งชุมชนโบราณของดินแดนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกแถบภาคใต้ของประเทศไทย
เช่นกลุ่มชนซาไก
เวลาทำการ
เปิด วันพุธ - วันอาทิตย์ 9.00 - 16.00 น.
ปิด วันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ชาวไทย 10 บาท/ชาวต่างประเทศ 30 บาท
ติดต่อสอบถามรายละเอียดติดต่อ
โทร. 0 7631 1426, 0
7631 1025
|
|
|
|
|