งานท้าวเทพกษัตรีย์
ท้าวศรีสุนทร
ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม
ในงานเฉลิมฉลองนี้
มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย
เพื่อสดุดีในวีรกรรมของท่านครั้งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
ที่สองวีรสตรี
สามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของท่าน
งานประเพณีปล่อยเต่า
ตรงกับวันที่ 13
เมษายน หรือวันสงกรานต์
กรมประมงได้กำหนดให้
เป็นวันประมงแห่งชาติ
มีประเพณีปล่อยลูกเต่าที่มีอายุตั้งแต่
3 เดือนขึ้น ไปลงทะเล
โดยจะจัดงานขึ้นที่หาดไนยาง
ซึ่งเป็นบริเวณที่เต่าขึ้นมาวาง
ไข่เป็นประจำ
นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้าน
กีฬาทางน้ำ และ
นิทรรศการเกี่ยวกับเต่าทะเลให้ชมกันในงานด้วย
|
|
เทศกาลอาหารทะเล
จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม
เพื่อเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของ
จังหวัดภูเก็ต
และเป็นการเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาภูเก็ตในฤดู
ฝน กิจกรรมต่างๆ ในงานได้แก่
การประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่อง
เที่ยวทางทะเล
การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและอาหารทะเล
สาธิตการประกอบอาหารประจำภาค
นิทรรศการแสดงวิถีชีวิตความเป็น
อยู่ของชาวเล
การประกวดสาวงาม
และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
งานผ้อต่อ
เป็นประเพณีของชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน
โดยในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือ
เดือน 9 ของไทย
จะมีพิธีไหว้บรรพบุรุษด้วยเครื่องเซ่นต่าง
ๆ และมี
ขนมชนิดหนึ่งเป็นรูปเต่าขนาดต่าง
ๆ ทำด้วยแป้งทาสีแดง
คนจีนเชื่อว่า
เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน
ดังนั้นการเซ่นไหว้ด้วยขนมรูปเต่าจึงเป็นการต่อ
อายุให้ตนเอง
และถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่
เทศกาลกินเจ
กำหนดจัดในวันขึ้น
1-9 ค่ำเดือน 9 ของจีน
ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือน
กันยายน - ตุลาคม
ระหว่างถือศีลกินเจ
ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาล
เจ้า
มีพิธีกรรมแสดงอภินิหารตามความเชื่อ
เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด เป็น
ต้น
มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่าง ๆ
โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุด
ประทัดไปตลอดทาง
ประเพณีนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและ
เทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้มครองชาวภูเก็ตตลอดไป
มหกรรมไตรกีฬา
จัดขึ้นที่
ลากูน่า ภูเก็ต
ในเดือนตุลาคม
มีการแข่งขันว่ายน้ำ 1.8 กม.
ปั่นจักรยาน 55 กม. และวิ่ง 12 กม.
และมีการถ่ายทอดสดทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ
งานประเพณีลอยเรือชาวเล
เป็นพิธีที่จัดขึ้นในกลางเดือน
6 และ 11 โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวย์และ
บ้านสะปำ
จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13
ค่ำ
และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา
(ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต)
จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15
ค่ำ ซึ่งถือ
เป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย
มี การสร้างเรือจากไม้ระกำ
ตัดผมตัดเล็บ
และทำตุ๊กตาไม้เป็นรูปคนใส่ลง
ไปในเรือแล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก
เคราะห์ร้ายต่าง ๆ ออก
ไปสู่ทะเล
มีการเต้นรำสนุกสนานรอบลำเรือ
ที่เรียกว่า "รำรองเง็ง"
นั่นเอง
เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว
จังหวัดภูเก็ต
ตรงกับวันที่ 1
พฤศจิกายนโดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี
2528 ณ หาด ป่าตอง
เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง
และเป็นการส่ง
เสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่าง
ๆ หน่วย งานราชการและประชาชน
ในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย
เช่น พิธีตัก บาตรในตอนเช้า
การแข่งขันกีฬาทางน้ำ
การประกวดสาวงามโดยคัด
เลือกจากนักท่องเที่ยวชาติต่าง
ๆ
งานแข่นขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน
เริ่มมีขึ้นครั้งแรก
เมื่อ พ. ศ. 2530
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ
เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ
5 รอบ และ
หลังจากนั้นจึงกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาซึ่งตรง
กับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
โดยมีเรือใบจากประเทศต่าง ๆ
เข้าร่วมการ
แข่งขันที่บริเวณหาดในหาน
เพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
|