อยู่ใกล้สามแยกหอนาฬิกา ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมแบบตะวันตกงดงามมาก
เป็นผลงานของ แนบ ทิชินพงศ์
ผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปของนครศรีธรรมราชวัดสวนป่าน
ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นวัดธรรมยุต
สร้างเมื่อปี พ.ศ.2442 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อเดือนกันยายน
พ.ศ.2525เดิมวัดสวนป่านเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง
ตั้งอยู่ในตำบลพระเสื้อเมือง
ต่อมาทางการได้ยุบเข้ารวมกับตำบลในเมือง อยู่ในเขตเทศบาลนคร
จ.นครศรีธรรมราช ที่ตั้งเดิมของวัดสวนป่าน
เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณวังกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
มีสภาพเป็นเนินสูงมาก่อน อันเป็นส่วนหนึ่งของภูมิประเทศ
ซึ่งเดิมเรียกว่า "กระหม่อมโคก" มีลักษณะเป็นเนินสูงคล้ายภูเขาเล็กๆ
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อประมาณ 900 กว่าปีมาแล้ว
กษัตริย์ผู้ตั้งเมืองใหม่ได้ปรับที่เนินนี้ให้ราบเรียบเพื่อตั้งเป็นวัง
ส่วนที่ตั้งของวัดไม่ได้ปรับที่เนินให้ราบเรียบ
ยังคงรักษาให้เป็นเนินอยู่ตามเดิม เพื่อใช้เป็นที่เลี้ยงช้างหลวง
มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ มีโรงเลี้ยงช้างอยู่ 3 โรง
จึงไม่มีผู้ใดแม้แต่ลูกหลานหรือเชื้อสายของกษัตริย์
ประสงค์จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะความเชื่อที่ว่า ที่นี่ช้างอยู่
ช้างเกิด ช้างตาย มาก่อน คนจะไปอยู่อาศัยไม่ได้
มักจะมีอันต้องเสียชีวิตหรือไม่ก็ทำให้เดือดร้อนต่างๆ
บริเวณเนินสวนป่านจึงถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าอยู่เป็นเวลานาน
ต่อมาท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ) ในสมัยรัชกาลที่ 5
เห็นว่าที่ดินบริเวณโรงเลี้ยงช้างหลวงเป็นที่รกร้างอยู่
และอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัด ดูไม่เป็นที่เจริญตา
ประกอบกับทางราชการฝ่ายอาณาจักรก็มิได้คิดที่จะใช้ที่ดินบริเวณนั้นให้เป็นประโยชน์
ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีจึงจัดตั้งวัดขึ้นเป็นวัดของธรรมยุตนิกาย
แล้วตั้งชื่อวัดที่ตั้งใหม่ว่า "วัดสวนป่าน"
หลังจากที่เจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ)
ผู้ก่อตั้งวัดสวนป่านได้ถึงแก่มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2477 แล้ว
ศิษยานุศิษย์ของท่านเจ้าคุณฯ
ได้สร้างเจดีย์แบบลังกาย่อส่วนขึ้นไว้เป็นที่ระลึกถึงท่านเจ้าคุณด้วยความกตัญญูกตเวที
ให้เป็นอนุสรณ์ของท่าน
ซึ่งเจดีย์นี้ก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในวัดสวนป่านตลอดมาจนถึงทุกวันนี้
วัดสวนป่านเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เพื่อสืบสานพระศาสนา
และยังมีสถานที่สำคัญๆ ปรากฏเด่นเป็นสง่าอยู่ 2 อย่างคือ ศาลาการเปรียญ
และอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ
นอกจากภายนอกจะมีรูปทรงที่งดงามตามแบบศาสนสถานของไทยแล้ว
ภายในยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด ที่มีชื่อเรียกว่า "พระหมิด"
เป็นพระพุทธรูปสำริดปางประทับยืน
โดยรอบองค์พระพุทธรูปมีทองคำเปลวปิดทับซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า
แสดงให้เห็นพลังศรัทธาของเหล่าชาวพุทธศาสนิกชน ที่มีต่อ "พระหมิด"
พระพุทธรูปประจำวัดนี้ ส่วนอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศใต้
เป็นศาสนสถานที่วิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ฝีมือชั้นบรมครูของเมืองนครศรีธรรมราช
เพราะนอกจากจะมีภาพพุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ยังมีภาพประวัติเรื่องราวแสดงถึงความเป็นอยู่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้นรวมอยู่ด้วย
โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พระองค์เคยเสด็จประทับที่วัดนี้ด้วย เนื่องในวโรกาสที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา
พระครูพิศิษฎ์คณาทร (ท่านมนต์) เจ้าอาวาสวัดสวนป่าน อ.เมือง
จ.นครศรีธรรมราช จัดสร้างวัตถุมงคล "จตุคามรามเทพ รุ่นหัวใจเศรษฐี"
(เทิดไท้องค์ราชันย์)
พร้อมทั้งได้ประกอบพิธีบวงสรวงและเททองเป็นปฐมฤกษ์แล้ว ณ
มณฑลพิธีหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2549 โดยมี
พระมงคลพุทธิญาณ วัดรามประดิษฐ์ เป็นประธานในพิธีเททอง นายสมศักดิ์
ขำทวีพรหม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิคณาจารย์ดังสายใต้ จำนวน 9 รูป
นั่งอธิษฐานจิตภาวนา ได้แก่ หลวงพ่อชม วัดโพธิ์เสด็จ, หลวงพ่อเชื่อง
วัดรัตนาราม, หลวงพ่อบุญให้ วัดท่าม่วง, หลวงพ่อชม วัดปากน้ำละแม,
หลวงปู่เอื้อม วัดบางเนียน, หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง, หลวงพ่อท้วม
วัดศรีสุวรรณ, พระอาจารย์แดง วัดไร่ และหลวงปู่ไข่ วัดลำนาว
พร้อมทั้งได้กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ณ ศาลหลักเมือง ในวันที่ 16 มี.ค.2550
และพิธีมหาเทวาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 17
มี.ค. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อนำเงินรายได้สร้างอาคารสอนศีลธรรมและจริยธรรมวัดสวนป่าน
และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ
80 พรรษา
|
|