ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เสด็จยกกองทัพมาที่ตำบลหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ. 2117 เพื่อไปช่วยพระเจ้ากรุงหงสาวดี
ที่กรุงศรีสัตตนาคนหุต (เมืองเวียงจันทน์)
เนื่องจากขณะนั้นไทยเป็นเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดี
แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษเสียก่อน พระเจ้ากรุงหงสาวดี
จึงให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะริมหนองบัวหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู
ในวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี
ทางจังหวัดจะจัดให้มีงานเฉลิมฉลองและมีพิธีถวายสักการะบวงสรวงดวงวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
|
|
-----------------------------------------------------------------
ศาลหลักเมืองพระวอ
พระตา |
อยู่ห่างจากถนนสาย 210 หนองบัวลำภู-อุดรธานี
ประมาณ 100 เมตร ศาลนี้สร้างขึ้นเพื่อให้
ชาวหนองบัวลำภูได้เคารพสักการะพระผู้สร้างเมือง ซึ่งหมายถึง
พระวอ และพระตา อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา
ศาลหลักเมืองได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน
2518 สร้างเสร็จและประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์
2519
|
-----------------------------------------------------------------
วนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้ |
ตั้งอยู่ริมถนนหนองบัวลำภู-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 210
จากตัวเมืองไปทางจังหวัดอุดรธานี ประมาณ 3 กม.
เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่นด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ และโขดหินรูปต่างๆ
บริเวณใกล้เคียงมีศาลเจ้า "ปู่หลุบ"
ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวหนองบัวลำภู และผู้ที่เดินทางผ่านมา
ด้วยความเชื่อที่ว่ารถทุกคันที่ผ่านศาลเจ้าปู่หลุบ ควรจะบีบแตร
และผู้คนที่นั่งบนรถจะยกมือไหว้ศาลเจ้าปู่หลุบเพื่อเป็นการแสดงความเคารพ
และเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง |
-----------------------------------------------------------------
สุสานหอยล้านปี |
ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านห้วยเดื่อ ห่างจากตัวเมือง ตามทางสายหนองบัวลำภู-อุดรธานี
ประมาณ 10 กม. มีทางเข้าไปยังบริเวณที่พบซากฟอสซิลหอยล้านปี ส่วนใหญ่เป็นหอยกาบคู่
อายุราว 140 ล้านปี อยู่ในชั้นหินทราย
|
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
วัดถ้ำกลองเพล |
เป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ตั้งอยู่เชิงเขาภูพาน
ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ไป 13 กิโลเมตร
จากนั้นแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
เดิมสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยขอมเข้ามาครอบครองแผ่นดินแห่งนี้
แต่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.ใด ต่อมาเป็นวัดร้าง
ไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2501 พระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย
พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ
ได้อาศัยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน
โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ 3-4 ก้อน ที่มีหลืบและชะโงกหิน
ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็น ห้องโถงขนาดใหญ่
สามารถจุคนได้หลายร้อยคน เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่นั่นจนกระทั่ง มรณภาพ
เมื่อปี พ.ศ. 2526
ภายในบริเวณวัดบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มีเนื้อที่กว้างขวาง ปกคลุมไปด้วยแมกไม้
ป่าเขียว และสวนหินธรรมชาติรูปร่างประหลาดดูสวยงามกลาดเกลื่อนวัด
มีถ้ำซึ่งภายในถ้ำมีกลองโบราณสองหน้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "กลองเพล"
ภายในถ้ำมีรูปปั้นของหลวงปู่ขาว
ตามซอกหินภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ประกอบด้วย พระพุทธ
รูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางไสยยาสน์ พระพุทธรูปปัญฑรนิมิตร
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่จำหลักลงในก้อนหิน
และมีพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าถ้ำกลองเพล
จากวัดถ้ำกลองเพล ไม่ไกลนักมีถนนราดยาง
ลัดเลาะไปตามแนวป่าและหมู่ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร
ก็จะถึงอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ขาว ที่ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว
กุฎิเก่าของหลวงปู่ขาว พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว เจดีย์หลวงปู่ขาว
มณฑปหลวงปู่ขาว
|
|
-----------------------------------------------------------------
ศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์ |
ห่างจากตัวจังหวัดหนองบัวลำภูไปทางจังหวัดอุดรธานีประมาณ
17 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 210
เป็นหมู่บ้านที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นเครื่องใช้เครื่องประดับทั้งหมู่บ้าน
โดยชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านวังถั่ว อำเภอน้ำพอง
จังหวัดขอนแก่น
ด้วยกรรมวิธีการผลิตเป็นศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิม
|
----------------------------------------------------------------- |
ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลา |
ตั้งอยู่ที่บ้านนาล้อม
ตำบลหัวนา ระยะทางห่างจากตัวเมืองหนองบัวลำภู
ตามทางหลวงหมายเลข 228 สายหนองบัวลำภู-ศรีบุญเรือง ประมาณ 19
กิโลเมตร ก่อตั้งโดยแม่ชีทองเพชร
ขันตีกลมซึ่งเป็นคนท้องถิ่นบ้านนาล้อม
ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลาจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาการ
อพยพแรงงานของคนหนุ่มสาวที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวงหรือต่างถิ่น
โดยรวบรวมกลุ่มผู้สนใจในอาชีพต่างๆ เข้ามาฝึกอบรมที่ศูนย์ฯ
แห่งนี้ ซึ่งมีหลายอาชีพ เช่น งานศิลปประดิษฐ์
กรอบรูปวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา
ซ่อมเครื่องยนต์ขนาดเล็กซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม งานตัดเย็บเสื้อผ้า
รวมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นฝีมือของสมาชิก
|
|