ประตูเมืองทางทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า เป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียว
ในบรรดาประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตูของเมืองนครราชสีมา
ที่ยังคงสภาพเดิมอยู่พร้อมกำแพงเมืองเก่า สำหรับ ชื่อประตู "ชุมพล"
นั้นหมายความถึง ที่ชุมนุมพลส่วนใหญ่ เป็นประตูสำหรับเตรียมไพร่พล
และออกศึก เนื่องจากมีภูมิประเทศเปิดกว้าง
ไม่มีป้อมปราการตามธรรมชาติเหมือนประตูอื่น ๆ |
|
ในอดีตมีความเชื่อว่า เมื่อลอดผ่านประตูชุมพลไปทำศึกแล้ว
จะแคล้วคลาดได้กลับบ้านเมือง เนื่องจากตัวเมืองปัจจุบัน
ได้มีขยายออกไปยังบริเวณรอบนอกไปทางทิศเหนือ ทิศใต้
และทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่าเดิม ส่งผลทำให้ปัจจุบัน
ประตูชุมพลจึงเสมือนตั้งอยู่กลางเมือง
ต่อมาทางหน่วยราชการของจังหวัดนครราชสีมาได้สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม)
แล้วนำมาประดิษฐานบนแท่นสูง ตรงบริเวณหน้าประตูชุมพล
ซึ่งได้มีการถมคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกบางส่วน เพื่อทำเป็นพื้นที่ก่อสร้าง สำหรับ
หอ ยามรักษาการณ์ทรงไทย, ประตูเมือง
และกำแพงเมืองโบราณที่ชำรุดทรุดโทรมพังลงไปมากนั้น ทางราชการได้บูรณะซ่อมแซม
และสร้างขึ้นมาใหม่บางส่วน
โดยคงไว้ซึ่งรูปแบบและศิลปะการก่อสร้างตามของเดิมไว้ทั้งหมด พร้อมกับได้อัญเชิญ
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ทั้งหมดมาสร้างและตั้งขึ้น ณ บริเวณที่ปัจจุบัน
ตราบเท่าทุกวันนี้
อนึ่ง ประตูชุมพล ทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480และ กำแพงเมืองโคราช
ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479
--------------------------------------------- |