หมู่บ้านทอผ้าปักธงชัย
เป็นอำเภอแห่งการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง
อยู่ห่างจากนครราชสีมา 32 กม.
ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (โคราช-ปักธงชัย-กบินทร์บุรี)
มีโรงงานทอผ้าไหมจำนวนมากที่ผลิตผ้าไหมส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
|
ศูนย์วัฒนธรรมผ้าไหมปักธงชัย
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองปักธงชัยบนเส้นทางหลวงหมายเลข
304 กม.ที่ 107-108
มีการจัดแสดงนิทรรศการกระบวนการเลี้ยงไหมและผลิตผ้าไหมแบบครบวงจร
บริเวณด้านหน้าศูนย์มีร้านขายผ้าไหมและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ที่ตัดเย็บจากผ้าไหมจำนวนหลายร้าน
|
วัดหน้าพระธาตุ
ตั้งอยู่หมู่ที่
1 ตำบลตะคุ จากทางหลวงหมายเลข
304 บริเวณอำเภอปักธงชัย
มีทางแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข
2236 ไปบ้านตะคุ ระยะทาง 4 กม.
ประกอบด้วยโบสถ์เก่าแก่
ภายในโบสถ์มีภาพเขียนฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์
มีเจดีย์ศิลปะแบบลาว
ซึ่งสร้างโดยชุมชนอพยพจากนครเวียงจันทน์และหอไตรกลางน้ำ
ซึ่งมีภาพลายรดน้ำที่บานประตู
เป็นลวดลายวิจิตรสวยงามมาก
กรมศิลปากรเคยนำไปแสดงที่กรุงเทพฯ
|
เขื่อนลำพระเพลิง
อยู่ในเขตอำเภอปักธงชัย
โดยเดินทางไปตามทางสาย 304
ผ่านทางเข้าอำเภอปักธงชัยไป
4 กม.
จะพบสี่แยกเลี้ยวขวามือเข้าไปเป็นระยะทาง
28 กม. ก็จะถึงตัวเขื่อน
ซึ่งเป็นสถานที่เหมาะสำหรับพักผ่อนและเช่าเรือชมอ่างเก็บน้ำ
|
|
น้ำตกปักธงชัย
หรือน้ำตก
79 เดินทางจากอำเภอปักธงชัย
ไปตามทางหลวงหมายเลข 304
เป็นระยะทาง 41 กม. ถึงหลักกม.ที่
64 มีทางลูกรังแยกซ้ายไปอีก 12
กม.
บริเวณน้ำตกเป็นโขดหินสลับซับซ้อน
น้ำตกลงมาจากผาหลายชั้น
หน้าผาที่ใหญ่ที่สุดกว้างประมาณ
50 เมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน
|
กู่เกษม
หรือปราสาทบึงคำ
ตั้งอยู่ที่บ้านคลองเตย
หมู่ 5 ตำบลสะแกราช
จากตัวเมืองเดินทางไปตามทางหลวง
304 ผ่านอำเภอปักธงชัย
ตรงไปอีกประมาณ 11 กม. ถึงกม.ที่
92 มีทางแยกซ้ายไปอีก 2 กม.
ถึงบ้านคลองเตย แยกซ้ายอีก 1
กม.
กู่เกษมเป็นปรางค์หินทรายทั้งองค์
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
มีมุขยื่นด้านหน้า
มีประตูเดียว
ผนังสองข้างมุขทำเป็นช่องหน้าต่างข้างละ
2 ช่อง ประดับลูกมะหวด
ส่วนหลังคาได้หักพังลง
ไม่พบร่องรอยการแกะสลักลวดลายตามที่ต่างๆ
สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่
16
เพื่อใช้เป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย
|