กู่สันตรัตน์
เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เป็นศิลปะขอมสมัยบายนอายุระหว่าง
พ.ศ.1700-1750ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ
และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์
อำเภอนาดูน การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม
เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กม.
จะอยู่ทางขวามือ
พระธาตุนาดูน
พุทธมณฑลแห่งอีสาน
ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน
เป็นเขตที่มีการขุดพบที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์
โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ
ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ
เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15
สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างพระธาตุนาดูน
ขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนา และวัฒนธรรม
สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา
การเดินทางไปได้จากตัวเมือง มหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040
ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทาง 2045 ถึงอำเภอนาดูน
ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 65 กม.
พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
อยู่แยกจากพระธาตุนาดูนไปเล็กน้อยเป็นโครงการของสถาบันวิจัยรุกขเวช
มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีบ้านจำลองลักษณะต่างๆของชาวอีสาน อาทิ เรือนเย้า
เรือนผู้ไท และเรือนอีสาน
ภายในบ้านจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนอีสาน
สถาบันวิจัยสวนวลัยรุกขเวช
อยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุนาดูน
เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ อนุรักษ์ ขยาย
และปรับปรุงพันธุ์ไม้ในภาคอีสานนอกจากนั้นยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวได้ด้วย
ภายในสถาบันฯ จะมีอุทยานลานไผ่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
ซึ่งแต่ละแห่งมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
สวนป่าจุฬาภรณ์ (ดูนลำพัน)
อยู่บริเวณพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป็นป่าธรรมชาติ
มีน้ำไหลเฉพาะที่ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่าป่าน้ำซับ
นอกจากนั้นยังมีพืชและสัตว์ที่ไม่ค่อยพบในที่อื่นๆและหายากเช่นต้นลำพัน,เห็ดลาบ,ปลาคอกั้ง,งูขา
และปูทูลกระหม่อม หรือปูแป้งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลก
ตัวขนาดใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลายสี เช่นม่วง,ส้ม,เหลืองและขาว
และจะพบเฉพาะที่สวนป่าจุฬาภรณ์แห่งนี้เท่านั้น
|