เมืองโบราณโนนเมือง
เล่าสืบต่อกันมาว่าที่เนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้นเป็นเมืองโบราณ
ลักษณะ เป็นเนินดินรูปไข่ มีพื้นที่ประมาณ 216 ไร่
ล้อมรอบด้วยคูเมือง 2 ชั้น เมื่อนักโบราณคดีเข้าไปสำรวจพบ
ใบเสมาหินทราย ศิลปทวาราวดีปักอยู่ในเมืองและพื้นที่โดยรอบ
มีเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนเนินดิน
เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดง
ชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบในชั้นดินสมัยทวาราวดี(พุทธศตวรรษที่
12-16) ไม่พบหลักฐานของการฝังศพ
สันนิษฐานว่าเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มาสู่โนนเมือง
ประเพณีการฝังศพจึงเปลี่ยนไป ยิ่งขุดชั้นดินลึกลงไปยิ่งพบ
หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
เมืองโบราณแห่งนี้เคยมีชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
(ตอนปลาย) พบ โครงกระดูกมนุษย์อายุราว 2,500 ปี
ผู้คนสมัยนี้มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ
มีการฝังเครื่องมือเครื่อง ใช้ลงไปพร้อมศพด้วย เช่น
หม้อและภาชนะดินเผา มีทั้งลายเขียนสี ลายขูดขีด และลายเชือกทาบ
รวมทั้ง กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดหินสี ฯลฯ
นอกจากนั้นยังมีการค้นพบเครื่องมือเหล็กประเภท จอบ เคียว
และกระดูกของสัตว์ต่างๆ เช่น เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด
ทำให้ทราบว่าผู้คนที่นี่ดำรงชีวิต ด้วยการเกษตรกรรม
มีผู้คนอาศัยอยู่ที่นี่เรื่อยมาจนถึงสมัยลพบุรี(พุทธศตวรรษที่
16-17) และทิ้งร้าง ไปในที่สุด
เมืองโบราณโนนเมืองตั้งอยู่ในเขตบ้านนาโพธิ์ ห่างจากอำเภอเมือง
ประมาณ 80 กม.
การเดินทาง ใช้
เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) ผ่านตัวอำเภอชุมแพ
ถึงที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 5 กม. |