|
พุทธอุทยานและพระมงคล
มิ่งเมือง,
อำนาจเจริญ
พุทธอุทยานและพระมงคล มิ่งเมือง
ตั้งอยู่ที่เขาดานพระบาท ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ
3 กม. บริเวณวัดประกอบด้วย หินดานธรรมชาติร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด
ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น "พุทธอุทยาน" ส่วนพระมงคลมิ่งเมือง
หรือพระใหญ่ ปางมารวิชัย องค์พระหน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับ
พื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20 เมตร
เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปอินเดียเหนือ (ปาละ)
ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษ ออกแบบโดย จิตร
บัวบุศย์ โดยการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กครอบ
พระองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นมีฐานกว้าง 8.4 เมตร ยาว 12.6
เมตร สูง 5.2 เมตร แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทอง
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2508
เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี
พระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางด้านหลังของพระมงคลมิ่งเมืองมีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก 2 องค์
ห่มจีวรเหลืองลออตา มีนามว่า "พระละฮาย" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
"พระขี่ล่าย" หมายถึง ไม่สวย ไม่งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์
ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505
ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบ เพื่อทำฝายกั้นน้ำ
ถือกันว่าเป็นพระที่ให้โชคลาภ ชาวบ้านมักมาบนบานขอพรอยู่เสมอ |
|
-----------------------------------------------------------------
อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน |
หรืออ่างเก็บน้ำห้วยปลาแดก อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ 3 กม.
เป้นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน มีทิวทัศน์สวยงาม
เหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
|
|
-----------------------------------------------------------------
วัดถ้าแสงเพชร |
หรือวัดศาลาพันห้อง
ตั้งอยู่บนถนนสายอำนาจเจริญ-เขมราฐ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กม.
แล้วเลี้ยวซ้าย เข้าไปอีกประมาณ 2 กม. เป็นวัดที่มีบริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วย
วิหารอยู่บนยอดเขาสูง
ทางด้านทิศเหนือของวิหารมีถ้ำขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะงดงาม
ทั่วบริเวณเต็มไปด้วยโขดหินซึ่งสะท้อนแสงเป็นประกายอันเป็นที่มาของชื่อถ้ำ
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสายพระอาจารย์ สุภัทโท
มีพระภิกษุนานาชาติมาปฎิบัติธรรมอยู่เป็นประจำ
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
วัดโพธิ์ศิลา |
ตั้งอยู่ที่บ้านเปื่อยหัวดง ตำบลเปือย บริเวณนี้ค้นพบใบเสมาหินทราย ศิลปทวารวดี
สลักลวดลายดอกไม้และใบไม้ ฐานหลักเป็นรูปดอกบัวบาน
|
|
|