สถานที่ท่องเที่ยว
หัวหิน เกาะเสม็ด เกาะช้าง บ้านพักพัทยา ปาย เขาค้อ ที่พักหัวหิน   

อุตรดิตถ์

Uttaradit English Version, Please Click Here !!

อุตรดิตถ์ > ที่พักอุตรดิตถ์ > แผนที่อุตรดิตถ์ > ร้านอาหารอุตรดิตถ์ > การเดินทางอุตรดิตถ์ > ประวัติอุตรดิตถ์  > เทศกาลอุตรดิตถ์


วัดธรรมาธิปไตย
อ.เมือง    จ. อุตรดิตถ์

 วัดธรรมธิปไตย

ตั้งอยู่ในตัวเมืองใกล้สี่แยกจุดตัดของถนนอินใจมีกับถนนสำราญรื่น เป็นที่เก็บบานประตูของวิหารหลังใหญ่ และเก่าแก่มากของวัดพระฝาง บานประตูทำจากไม้ปรูขนาดกว้าง 2.2 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนา 16 เซนติเมตร แกะสลักในสมัยอยุธยาเป็นลายกนกก้านขด มีลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ 7 พุ่มระหว่างพุ่มมีกนกใบเทศขนาบสองด้าน กล่าวกันว่า เป็นบานประตูไม้แกะสลักที่มีความงามเป็นที่สองรองลงมาจากประตูวิหารวัดสุทัศน์ที่กรุงเทพฯ

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
  ประตูแกะสลัก  
ท่องเที่ยว

วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดท่าทราย เนื่องจากเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน (ท่าอิฐล่าง) หรือบ้านบางโพเหนือ ต่อมาน้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงที่ตั้งวัด จึงต้องย้ายหนีน้ำขึ้นมาห่างจากที่เดิมประมาณสองกิโลเมตร สภาพที่ตั้งใหม่มีต้นไม้ร่มรื่นมากมาย โดยเฉพาะมีต้นมะขามขนาดใหญ่อย่ในบริเวณวัด จึงได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดต้นมะขาม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2345
     ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดได้ส่ง พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดต้นมะขาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 พระสุธรรมเมธีดำริว่าชื่อวัดต้นมะขามนั้นฟังเหมือนอยู่ในป่าและต้นมะขามใหญ่นั้นก็ไม่มีปรากฏแล้ว อีกทั้งวัดในขณะนั้นอยู่กลางเมืองอุตรดิตถ์มีผู้คนผ่านไปมามากควรเปลี่ยนชื่อใหม่ให้ไพเราะ จึงได้ทำการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดธรรมาธิปไตย ตั้งแต่นั้นมา

อาณาเขตที่ตั้งวัด
     ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 24 ตารางวา ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบตั้งอยู่กลางชุมชน
ทิศเหนือ ยาว 200 เมตร จดทางสาธารณะ (ถนนอินใจมี)
ทิศใต้ ยาว165 เมตร จดที่ส่วนบุคคล (พ.ต.ธีระ)
ทิศตะวันออก ยาว 200 เมตร จคทางสาธารณะ (ถนนสำราญรื่น)
ทิศตะวันตก ยาว 180 เมตร จดที่ส่วนบุคคล (นายทองดา ขุนอินทร์)

ศาสนสถานและศิลปวัตถุสำคัญ
     หลวงพ่อเชียงแสน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์วัดธรรมาธิปไตย ประดิษฐานในอาคารอุโบสถธรรมสภาอาคารธรรมสภา กว้าง 19.30 เมตร ยาว 40.30 เมตร เป็นอาคาร
ปูน 2 ชั้นหลังแรกในจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม​เป็นนายกรัฐมนตรี (เริ่มสร้าง พ.ศ. 2491) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก​สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี​พระบรมราชินีในรัชกาลที่​7 ​ทรงปิดทองลูกนิมิตเอก ในวันที่​3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อาคารธรรมสภาเป็นอาคารซึ่งสร้างด้วยแนวคิด ธรรมสภา (ในสมัยพุทธกาล) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้ 7 ประการอยู่ในที่เดียวกัน คืออุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียน หอสวดมนต์ หอไตร และธรรมสมาคม ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2493 โดยมี อดีตพระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อธิบดีสงฆ์วัดธรรมาธิปไตยในขณะนั้น
(ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ธรรมสภา และสมาคมบันลือธรรม) เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการจัดหาทุนจากทั่วประเทศ
     หลวงพ่อเชียงแสน เป็นพระประธานในอุโบสถธรรมสภา (ขนาดหน้าตักกว้าง 38 นิ้ว สูง 67 นิ้ว) มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย เนื้อโลหะสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ สร้างในสมัยสุโขทัย สกุลช่างสุโขทัยยุคกลาง มีอายุกว่า 700 ปี นำมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2485 หลวงพ่อเชียงแสนเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัยองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน (อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา มีนามว่า หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภานั้นไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปสักการะเหมือนวัดธรรมาธิปไตย เนื่องด้วยปัญหารักษาความปลอดภัย)

-----------------------------------------------------------------

 

แผนผัง  อุตรดิตถ์
::: ประวัติอุตรดิตถ์
::: ทัวร์อุตรดิตถ์
::: ทัวร์เขื่อนสิริกิต์
::: ที่พักอุตรดิตถ์
::: สถานที่ท่องเที่ยวอุตรดิตถ์:
::: อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
:::
อำเภอลับแล
:::
อำเภอน้ำปาด
::: อำเภอพิชัย
:::
อำเภอท่าปลา
:::
อำเภอทองแสนขัน
::: การเดินทางอุตรดิตถ์
  ::: แผนที่อุตรดิตถ์
::: เทศกาลอุตรดิตถ์
::: ร้านอาหารอุตรดิตถ์
::: ของฝากอุตรดิตรถ์

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
 

หัวหิน  เกาะเสม็ด   เกาะช้าง  เกาะเต่า  พัทยา  ภูเรือ  เขาใหญ่  เขาค้อ  ดอยอินทนนท์  สวนผึ้ง  

หัวหิน

บริษัท ไทยทัวร์ อินโฟ จำกัด
Email: info@thai-tour.com All rights reserved by Thai-Tour.Com with TAT License 11/04452
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์ | โฆษณา

 
ท่องเที่ยว