|
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร,
พิจิตร
|
ไปตามเส้นทางสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก(
ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068)
ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 6
จากการตรวจสอบและค้นคว้าเชื่อว่าเป็นเมืองพิจิตรเก่า
สร้างในสมัย พระยาโคตรบองประมาณปี พ.ศ. 1601
ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ
มีลักษณะเป็นเมืองโบราณ ประกอบไปด้วยกำแพงเมือง คูเมือง
เจดีย์เก่า ฯลฯ
มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมารซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ
พ.ศ.2520
ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
ภายในอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ |
ศาลหลักเมือง |
สร้างเมื่อพ.ศ.2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2
ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง
ส่วนด้านล่าง
จะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า
"พ่อปู่"
สภาพโดยรอบศาลจะมีต้นไม้มากมายดูร่มรื่นเย็นตา
ในบริเวณยังมีศาลาสำหรับนักท่องเที่ยวพักผ่อนอีกด้วย
|
|
ถ้ำชาละวัน |
มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง
บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะถ้ำ กว้าง 1 เมตร
ยาว 1.50 เมตร และลึก 4 เมตร มีเรื่องเล่าว่า
เมื่อประมาณ 65
ปีมาแล้วพระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่งก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ
จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด
ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขินทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย
|
|
เกาะศรีมาลา |
มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ
อยู่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะ
แต่ตื้นเขิน สันนิษฐานจากลักษณะของคูเมืองและกำแพงแล้ว
เกาะศรีมาลานี้แต่เดิมน่าจะเป็นป้อม
หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง
|
|
วัดมหาธาตุ |
เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ
ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า
ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนี้เมื่อพ.ศ.2478
ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา
ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป
ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง
ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา2ชั้น
มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน
หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย
บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง
กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2534
บริเวณใต้เนินดิน ส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2
ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา
บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่
|
|
|
|
|
|
|
|