วัดท่าหลวง
|
เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตร
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก
ใกล้ศาลากลางจังหวัด
วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน
หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์
มีพุทธลักษณะงดงามมาก
มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร
เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร
ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร
ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่จังหวัดพิจิตร
ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตรเพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่
พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า
เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระมาฝาก
ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก
แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูป
หลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง
โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้
ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้
ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน
แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง
อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน
พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 06.30-18.00 น.
|
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
บึงสีไฟ
|
เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศซึ่งเคยมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลถึง
12,000 ไร่ ลักษณะของบึงกว้างกลม
คล้ายกะทะ
แต่รีไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อย
ในปี 2521 กรมประมงได้จัด
ตั้งสถานีประมงน้ำจืดเพื่อเพาะพันธุ์ปลา
และจังหวัดพิจิตรได้สร้างศาลาบึงสีไฟให้ประชาชนได้พัก
ผ่อนหย่อนใจ
บึงสีไฟนี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ
|
สร้างขึ้นบริเวณด้านในของบึงสีไฟ
ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก
ยื่นลงในบึงสีไฟ
ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลาแปลกๆ
มากกว่า 20 ชนิด
และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ
นอกจากนั้น
บริเวณส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องสำหรับชมปลา
ในบึงสีไฟซึ่งมีปลาชนิดต่างๆ
วันธรรมดา
จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเวลา
10.00-18.00 น. วันหยุดราฃการเวลา 10.00-19.00 น. |
|
|
-----------------------------------------------------------------
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ
พิจิตร |
สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80
พรรษา
สร้างโดยจังหวัดพิจิตรร่วมกับกรมการศึกษานอกโรงเรียนเมื่อ
พ.ศ. 2526 มีเนื้อที่ 170 ไร่
เป็นพื้นดิน 120 ไร่พื้นน้ำ 50 ไร่
ริมบึงสีไฟมีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่จัดไว้เป็นที่
พักผ่อนหย่อนใจ
ริมบึงจัดแต่งเป็นสวน
มีทั้งไม้ใหญ่และไม้ดอก
รวมทั้งทางเดินรอบๆบึงด้วย
นอกจากนี้ยังมีเวทีเนินดินสำหรับใช้จัดรายการบันเทิงในวันหยุดสุดสัปดาห์ |
|
|
-----------------------------------------------------------------
รูปปั้นพญาชาละวัน |
เป็นรูปปั้นจระเข้ที่มีความยาวถึง
38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ปากยาว
4.5 เมตร
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของบึงสีไฟ
มีลักษณะเด่นและงดงามมาก
ภายในตัวจระเข้นี้ยังมีห้องประชุมขนาด
25-30 ที่นั่งอีกด้วย |
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร |
ตั้งอยู่ในบริเวณบึงสีไฟ
ศูนย์นี้ได้จัดจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ
ที่ชาวบ้านในจังหวัดพิจิตรผลิตขึ้นเอง
เช่น เครื่องสานจากผักตบชวา
ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขาวแก้วสี่รส
ฯลฯ
ศูนย์นี้จะเปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์
โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 09.00-18.00น.
|
-----------------------------------------------------------------
วัดโรงช้าง |
ตั้งอยู่ที่ตำบลโรงช้างติดกับถนนพิจิตร-สามง่าม-วังจิก (ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกม.ที่ 5 วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระยาโคตรบองขึ้นครองราชย์ สถานที่แห่งนี้เรียกว่า กองช้าง เพราะเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาได้เรียกกันเพี้ยนไปเป็นคลองช้าง จนกระทั่งทางราชการได้เปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดโรงช้าง" บริเวณวัดโรงช้างมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่กลางแจ้ง 3 องค์คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย 1 องค์ ปางห้ามญาติ 1 องค์ และปางไสยาสน์ 1 องค์ สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดที่ภายในได้สร้างเป็นห้องลับใต้ดินเพื่อใช้สำหรับเก็บแผ่นอิฐจารึกพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์โดยได้เล็งเห็นว่า ในอนาคตอาจมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่น สงครามนิวเคลียร์ซึ่งอาจทำให้พระไตรปิฏกสูญหายไปจากโลกได้ |
|
|
-----------------------------------------------------------------
วัดหัวดง |
ตั้งอยู่หมู่ 7 ต.หัวดง ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 10 กม. สร้างเมื่อ พ.ศ.2413 ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ.2468 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง)แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนินทร์ซึ่งมีอายุประมาณ 20 ปีเศษ ชาวจังหวัดพิจิตรถือกันว่าหลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักและเคารพบูชา
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
|
วัดนครชุม |
ตั้งอยู่บนถนนสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก(ทางหลวงหมายเลข
1068) ประมาณหลักกม.ที่ 9
วัดนี้เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย
มีอายุการก่อสร้างประมาณ 800 ปี
ด้านตะวันออกมีพระอุโบสถเก่าแก่มาก
ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน
เครื่องบนเป็นไม้โดยใช้สลักไม้แทนตะปู
มีช่องระบายลมแทนหน้าต่าง
พระอุโบสถหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร
ซึ่งปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐาน
ณ วัดท่าหลวง
ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง
3 วา ก่ออิฐถือปูน
ลักษณะแบบสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยก่อน |
|
-----------------------------------------------------------------
วัดเขารูปช้าง
|
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน
ระยะทางประมาณ 15 กม. ในตำบลดงป่าคำ
โบราณสถานของวัดเขารูปช้างที่มองเห็นเด่นเป็นสง่าคือ
เจดีย์แบบลังกาซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันมองดูคล้ายช้าง
แต่เดิมเป็นเจดีย์เก่ามาก่อน
และทางวัดได้ทำการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อประมาณ 20 ปีมานี้
โดยได้ประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์ มีรั้วรอบองค์เจดีย์
สำหรับลานกว้างบนยอดเขา
ทางวัดได้สร้างวิหารใหญ่ขึ้นหลังหนึ่งและมีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่งเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา
มีตัวระฆังเป็นกลีบมะเฟืองแต่ยอดเจดีย์หักแล้ว
นอกจากนั้นยังมีมณฑปแบบจตุรมุขหลังเก่าอยู่ใกล้กับโบสถ์หลังใหม่
ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทสำริด
ที่ฝาผนังมีภาพเขียนเรื่องไตรภูมิพระร่วงด้วย |
|
|
----------------------------------------------------------------- |
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร
|
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร อยู่บนเส้นทางพิจิตร-วังจิก
ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๗ กิโลเมตร มีลักษณะ เป็นเมืองโบราณ
มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่เศษ ประกอบด้วย กำแพงเมือง คูเมือง ฯลฯ
เชื่อว่า เป็นเมืองพิจิตรเก่า ภายในอุทยาน จัดเป็นสวนรุกชาติ
ที่ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมือง
มีถ้ำชาละวัน ศาลเจ้าแม่ศรีมาลา และรูปปั้น ตัวละครสำคัญๆ ในวรรณคดี
เรื่องไกรทอง มีซากพระปรางค์ วัดมหาธาตุ อันเป็นสถานที่ ขุดพบศิลปะ
เครื่องปั้นดินเผา และพระพุทธรูปสมัยต่างๆ
|
|