ภูมิประเทศ
ประวัติและความเป็นมาของ
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีเนื้อที่กว่า 1 ล้านไร่ อยู่ในเขต
จ.น่าน บริเวณเทือกเขาดอยภูคา
ยอดดอยภูคาคือสัญลักษณ์ของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร
จากระดับน้ำทะเล ด้วยความสูงและเป็นป่าอันอุดมสมบูรณ์นี่เอง
ในบริเวณจึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุม
อีกทั้งเป็นต้นกำเหนิดแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว
ลำน้ำว้า
มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่แสนบริสุทธ์มากมายที่น้อยคนนักจะรู้จัก
เช่น น้ำตกภูฟ้า ยอดดอยภูคา ชมพูภูคา น้ำตกศิลาเพชร ถ้ำผาเก้า
เต่าร้างยักษ์(ปาล์มดึกดำบรรพ์) บ่อเกลือ และจุดชมวิวหลายแห่ง
สภาพภูมิอากาศ
โดยทั่วไปที่อุทยานฯดอยภูคามี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ตั้งแต่ พฤษภาคม
- ตุลาคม; ฤดูหนาว ตั้งแต่ พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์;
ฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆ ตั้งแต่ มีนาคม - เมษายน
ลักษณะพรรณพืช
ป่าดอยภูคา คือ แหล่งรวมหลายชนิดของป่า เช่น ป่าดงดิบเขา
ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
ต้นชมพูภูคา เป็นพรรณไม้หายากและใกล้จะสูญพันธุ์
ในประเทศไทยจะพบได้ที่นี่เพียงแห่งเดียว
ต้นชมพูภูคาเป็นไม้ขนาดใหญ่ ในป่าดงดิบเขาที่เวลาออกดอก
ดอกจะมีความสวยงามกว่าดอกไม้ในป่าดงดิบเขาชนิดอื่นๆ
เต่าร้างยักษ์ เป็นปาล์มพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบ
เป็นแห่งแรกหายาก และใกล้จะสูญพันธุ์ ชึ้นกระจัดกระจาย
บนเทือกเขาหลวงพระบางระดับสูง (บริเวณดอยภูคาจังหวัดน่าน)
เพียงแห่งเดียวและคาดว่ายังหลงเหลือบ้าง
ในป่าดิบเขาที่ยังไม่ถูกรบกวนมากในฝั่งลาวของเทือกเขาหลวงพระบาง
ต้นเต่าร้างยักษ์จะขึ้นตามไหล่เขาที่ลาดชัน
ต้นเมเปิ้ล ที่พบที่นี่จะแตกต่างจากต้นเมเปิ้ลที่อื่น คือ มีใบ
5 แฉก เมเปิ้ลที่พบที่อื่นจะมีใบ 3 แฉก |