วัดพระปฐมเจดีย์
|
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร
เป็นที่ประดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ที่ใหญ่
และสูงที่สุดของไทย
จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด
พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่
4 เมื่อ พ.ศ.2396
โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบองค์เดิมที่ชำรุดหักพังลง
การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่
5 เมื่อ พ.ศ.2413 มีความสูง 3
เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว
ฐานวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 17
วา 3 ศอก
ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6
ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้สง่างามมากขึ้น
และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่
6 |
|
-----------------------------------------------------------------
พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ |
ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
ซึ่งได้พระเศียร พระหัตถ์
และพระบาทมาจากเมืองศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย
แล้วโปรดเกล้าฯ
ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เต็มองค์ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ
เมื่อ พ.ศ.2456
เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย
เสร็จแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มวิหารด้านเหนือตรงกับบันไดใหญ่
และพระราชทานนามว่าพระร่วงโรจนฤทธิ์
ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส
มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร
และที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
-----------------------------------------------------------------
พระราชวังเ้ดิม |
เมืองนครปฐมเคยเป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ครอบครองมาแต่โบราณกาล
แต่ปราสาทราชวังในครั้งนั้น
สร้างด้วยไม้ถูกทอดทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานาน
จึงผุพังเหลือแต่ซาก
จนกระทั่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่เมื่อ
พ.ศ. 2454
ร่องรอยพอจะสันนิษฐานได้
คือ
ตรงบ้านเนินปราสาทอันเป็นที่ตั้งพระราชวังสนาจันทร์
ปัจจุบันนี้มีเนินดิน
และลำคูล้อมรอบตามหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์ฉบับเก่าของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
(ขำ บุนนาค)
ว่าพระที่นั่งองค์เก่ามีฐานปราสาท
และท้องพระโรงมีโบสถ์พราหมณ์
สระน้ำ
กำแพงชั้นในและชั้นนอก
ก็ยังเหลืออยู่บ้าง
แต่พวกจีนที่ไปตั้งทำไร่
รื้อทำลายเสียหายไปมาก
นอกจากนี้ยังมีเนินดิน
ซากโบราณเกี่ยวกับโบสถ์พราหมณ์
และลายกนกปูนปั้นเหลือเป็นพยานอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ลักษณะลวดลายและฝีมือดูจะเป็นของเก่า
ของเหล่านี้ล้วนแต่ใช้ศิลาแลงเป็นแกนและพวกปูนประกอบอีกชั้นหนึ่ง
มีสระใหญ่อีกแห่งหนึ่งอยู่ใกล้ๆ
กับเนินดินที่กล่าวนี้เรียกว่า
"สระน้ำจันทร์"
กล่าวกันว่าเป็นที่ขังน้ำจืดคล้ายกัน
กับน้ำในทะเลชุบศร
เมืองลพบุรี
ปัจจุบันนี้สระน้ำตื้นเขินเสียหมดแล้ว
ชื่อของสระน้ำเป็นต้น
เค้าที่ทำให้เรียก
ชื่อตำบลว่าตำบลสระน้ำจันทร์มาแต่โบราณ
จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นจึงได้ทรงเปลี่ยนชื่อใหม่
เรียกตามพระราชวังว่า "ตำบลสนามจันทร์"
จากเรื่องราว
ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า
เมืองนครปฐมเดิมคงจะใหญ่โตมาก
เพราะบริเวณพระราชวัง
อยู่ห่างจากพระเจดีย์องค์เดิม
ซึ่งเป็นศูนย์กลางของตัวเมือง
เกือบ 2 กม. |
-----------------------------------------------------------------
พระราชวังนครปฐม |
อยู่ทางทิศตะวันออกติดกับบริเวณพระปฐมเจดีย์
มูลเหตุที่สร้างพระราชวังนี้
สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในหนังสือเรื่องตำนานวังเก่าว่าพระราชวังนี้สร้างเนื่องในการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ด้วย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า
พระมหาเจดีย์เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สร้างแต่แรกพระพุทธศาสนามาประดิษฐานในประเทศนี้
แต่ก่อนพระสถูปเจดีย์นั้นร้างกลายเป็นป่าเปลี่ยว
แต่ประชาชนยังเลื่อมใสไปบูชาพระปฐมเจดีย์มิได้ขาด
จึงทรงพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ
ให้ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ทั่วบริเวณ
และโปรดเกล้าฯ
ให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์
คลองเจดีย์บูชา
ให้การคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ
และนครปฐมสะดวกขึ้นถึงกระนั้นการที่ไปมาระหว่างกรุงเทพฯ
กับนครปฐมในสมัยนั้น
ต้องค้างคืนกลางทางหนึ่งคืนจึงถึง
จำเป็นต้องสร้างที่ประทับแรมขึ้นที่พระปฐมเจดีย์
จึงโปรดฯ
ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ทำนองเดียวกับพระราชวัง
ซึ่งพระมหากษัตริย์ครั้งกรุงศรีอยุธยาทรงสร้างที่ริมบริเวณพระพุทธบาทและทรงพระราชทานนามว่า
"พระนครปฐม" |
-----------------------------------------------------------------
วัดพระเมรุ |
เป็นซากวัดร้างไม่มีผู้ใดปฏิสังขรณ์ตั้งอยู่ที่สวนอนันทอุทยาน
ตำบลห้วยจระเข้
ห่างจากพระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ไม่ไกลนักสันนิษฐานว่า
สร้างตั้งแต่สมัยทวาราวดีมีอายุเท่ากับพระปฐมเจดีย์เดิม
ซึ่งไม่น้อยกว่า 1,000
ปีขึ้นไป
แต่เวลานี้ไม่มีซากสิ่งอื่นหลงเหลืออยู่
คงมีแต่ซากเนินใหญ่
ปรากฏอยู่เนินหนึ่ง
กรมศิลปากรได้ร่วมมือกับนักโบราณคดีฝรั่งเศสทำการขุดค้น
เมื่อ พ.ศ. 2481
จากรูปทรงสันนิษฐานที่ขุดพบครั้งนี้สันนิษฐานว่าเป็นพระเจดีย์องค์มหึมาก่อเป็นชั้นๆ
ย่อมุมขึ้นไปสูงมาก
เพราะซากฐานที่หักพังเหลืออยู่ในขณะที่ทำการขุดสูงถึง
12 เมตร
มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปศิลา
นั่งห้อยพระบาทประจำ 4
ทิศ
ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้เป็น
พระประธานในพระอุโบสถวัด
พระปฐมเจดีย์ 1 องค์ คือ
องค์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
อนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 6
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุได้นำพระบาท
ขนาดโตมาไว้ตรงชั้นนอกพระระเบียงองค์พระปฐมเจดีย์
2 คู่
ซึ่งได้มาจากวัดพระเมรุเช่นกัน
สิ่งที่พบในบริเวณวัดพระเมรุมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์
พระกร พระเพลา
พระหัตถ์ของพระพุทธรูปศิลากับเทพยักษ์
เทพสิงห์ดอกบัว
ตลอดจนลวดลายประดับองค์พระเจดีย์ที่หักพังลงมากมาย
นำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์องค์พระปฐมเจดีย์บ้างไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้าง |
|
-----------------------------------------------------------------
เนินพระ
หรือเนินยายหอม |
อยู่ที่ตำบลดอนยายหอม
จากจังหวัดนครปฐมไปตามถนนเพชรเกษมสู่กรุงเทพฯ
ประมาณ 5 กม.
จะมีแยกเลี้ยวขวาเข้าถนนเศรษฐกิจ
2 (บ้านแพ้วดอน-ยายหอม)
ประมาณ 9 กม. จะถึงเนินพระ
หรือเนินยายหอม
ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนลึกเข้าไปประมาณ
150 เมตร
กลางทุ่งนาใกล้กับถนนสายนครปฐม
อำเภอบ้านแพ้ว
เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มากเมื่อ
พ.ศ.2479 พระธรรมวาทีคณาจารย์ (หลวงพ่อเงิน)
เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม
ได้ขุดเอาอิฐที่หักพังแถวชานเนินไปสร้างพระอุโบสถ
เมื่อขุดลึกลงไปเล็กน้อยก็พบศิลาเหลี่ยมเขียวสองต้น
สูงประมาณ 4 เมตร
มีลายจำหลักที่ปลายเสา
คล้ายกับเสาประตูสัญจิเจดีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราชกับกวางหมอบ
ทำด้วยศิลา 1 ตัว
พระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดี
1 องค์
พระเสมาธรรมจักรทำด้วยหินแต่หักพัง
เสาศิลานี้ตอนบนง่ามสำหรับวางพระเสมาธรรมจักร
เป็นแบบเดียวกับที่พบในบริเวณองค์พระ
ปฐมเจดีย์ วัดพระงาม
วัดพระประโทณ
และแบบพระราชวังสนามจันทร์
เสาศิลานี้
เวลานี้อยู่ที่วัดดอนยายหอม
ส่วนกวางหมอบ
กับพระพุทธรูปส่งไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจากโบราณวัตถุที่พบเหล่านี้เป็น
หลักฐานยืนยันว่าเดิมบริเวณนี้เป็นวัดเก่า
และตัวเนินคงจะเป็นฐานเจดีย์ขนาดสูงใหญ่อยู่ภายใน
บริเวณวัด
ตั้งแต่สมัยทวาราวดีหรือก่อนนั้นมีอายุกว่า
1,000 ปีมาแล้ว
ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญ |
|
-----------------------------------------------------------------
เนินวัดพระงาม
|
เนินนี้อยู่ที่วัดพระงาม
ตำบลนครปฐม
ห่างจากพระปฐมเจดีย์ไปเล็กน้อย
เป็นซากพระเจดีย์ที่มีขนาดสูงใหญ่วัดหนึ่งในสมัยทวาราวดีเช่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์เพราะโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในบริเวณนี้ล้วนแต่เป็นของเก่าแก่ฝีมือสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น
เช่นเดียวกันกับที่ขุดได้ในบริเวณองค์
พระปฐมเจดีย์
มีพระพุทธรูปศิลาหักพัง
พระเสมาธรรมจักร
กวางหมอบ
พระพุทธรูปสัมฤทธิ์
พระพิมพ์ดินเผา
เฉพาะที่ขุดได้ในบริเวณนี้ฝีมืองามมากยากจะหาที่อื่นเทียบได้
ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลายองค์
และที่แตกหักเก็บไว้ที่องค์พระปฐมเจดีย์เป็นอันมาก
ที่เรียกว่าวัดพระงามนั้น
สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงอธิบายว่า
เพราะพระพุทธรูปดินเผาที่ขุดได้จากบริเวณวัดนี้งามเป็นเลิศนั่นเอง |
|
-----------------------------------------------------------------
เนินธรรมศาลา |
อยู่ที่วัดธรรมศาลา
ตำบลธรรมศาลา
ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางตะวันออกประมาณ
6 กม.
อยู่ทางด้านใต้ของถนนสายเพชรเกษม
เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง
มีลักษณะคล้ายกับ
วัดพระเมรุก่อนทำการขุดค้น
เนินนี้ยังมิได้ทำการขุดค้นเช่นเดียวกับ
เนินวัดพระงาม
เพราะมีสิ่งสร้างอยู่หน้าเนิน
และปัจจุบันที่ตั้งธรรมศาลา |
-----------------------------------------------------------------
พระประโทณเจดีย์ |
เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และใหญ่โตเป็นที่สองรองจากพระปฐมเจดีย์
ตั้งอยู่ที่วัดประโทณ
ริมถนนเพชรเกษม
ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ
5 กม.
ถือกันว่าเป็นที่บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
เดิมเป็นเจดีย์เก่าแก่และได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ในรัชกาลที่
4
โบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณนี้มีหลายอย่างเช่น
พระพุทธรูป ลูกประคำ
พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวาราวดี
นอกจากนี้ขุดพบครุฑโลหะสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่อีกด้วย |
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระราชวังสนามจันทร์
|
ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์
ไปทางทิศตะวันตก ราว 2 กม.
มีพื้นที่ 888 ไร่ 3 งาน 24
ตารางวา
พระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น
ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
ซึ่งมีมูลเหตุจูงใจ
มาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์
ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัย
เมืองนครปฐมเป็นอย่างยิ่งทรงเห็นว่า
เป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อน
เนื่องจากมีภูมิประเทศงามร่มเย็น
ดังที่ได้ทรง
ไว้ในลายพระหัตถ์
เรื่องการแก้ไขวิหารหลวง
ตอนหนึ่งว่า "ในรัชกาลที่
5
ฉันได้ออกไปพักอยู่ที่เมืองนครปฐมบ่อย
ๆ
จึงได้ใฝ่ใจในองค์พระนั้นมากแต่นั้นมา"
เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น
พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร |
|
และยังไม่ได้สร้างพระราชวังสนามจันทร์
เวลาเสด็จนครปฐมมักจะประทับที่พลับพลาชั่วคราวในดงไผ่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน
หรือมิฉะนั้นก็จะประทับที่พระตำหนักบังกะโล
ซึ่งอยู่ตรงมุมถนนขวาพระใกล้กับสถานีตำรวจ
ซึ่งปัจจุบันพระตำหนักหลังนี้ได้รื้อลงหมดแล้ว
พระองค์โปรดการทรงม้าพระที่นั่งสำรวจท้องที่เป็นอย่างมาก
บางครั้งก็เสด็จไปที่ตำบลวัดทุ่งพระเมรุ
แต่ส่วนใหญ่โปรดเสด็จไปที่บริเวณพระราชวังสนามจันทร์
ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ของชาวบ้านปลูก
พืชไร่และพืชล้มลุก
เช่น กล้วย สับปะรด
ไว้มากมายสลับกับทุ่งหญ้ารกเรื้อและป่าไผ่ขึ้นเป็นดง
ทรงพอพระราชหฤทัยมาก
เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมจะสร้างเป็นที่ประทับถาวรในการเสด็จฯ
แปรพระราชฐาน
จึงรับสั่งขอซื้อจากชาวบ้านเจ้าของที่โดยใช้เงินจากพระคลังข้างที่ทั้งสิ้น
พระราชประสงค์ในการซื้อที่ดินจำนวนมากมาย
เพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ครั้งนี้
มิใช่จะเห็นแก่ความสุขสบายส่วนพระองค์
ในการเสด็จฯ
แปรพระราชฐานเท่านั้น
แต่เพราะทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง
นั่นก็คือ
ทรงเห็นว่านครปฐมเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสำหรับต้านทานข้าศึก
ซึ่งจะยกเข้ามา
ทางน้ำได้อย่างดี
ด้วยทรงจดจำเหตุการณ์
เมื่อ ร.ศ.112
ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้
และไม่ต้องการที่จะให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพดังกล่าว
จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สอง
เมื่อประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติ
พระราชวังสนามจันทร์
เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2450
มีหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย
ศิลปี)
ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์
เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่งซึ่งสร้างแล้วเสร็จ
และพระราชทานนามตามประกาศลงวันที่
27 สิงหาคม 2454 มีเพียง 2
พระที่นั่ง ได้แก่
พระที่นั่ง พิมานปฐม
และพระที่นั่งอภิรมย์ฤดี
ต่อมาจึงสร้าง
เพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์ตามพระราชวัง
แต่เก่าก่อนดังที่
ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐาน
เหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์
ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.
2466 เวลา 4 นาฬิกา 47 นาที 51
วินาที
พระราชวังสนามจันทร์
เปิดให้เข้าชมเฉพาะ
วันอังคาร- พฤหัสบดี-เสาร์
เวลา 9.00-16.00 น.
มีอาณาเขตกว้างขวางประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง
มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบและ
มคูน้ำล้อมอยู่ชั้นนอก
ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ
นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวังเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ได้แก่ |
|
-----------------------------------------------------------------
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
|
อยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เป็นตึก 2 ชั้น
แบบตะวันตกฉาบสีไข่ไก่
หลังคามุงกระเบื้องสีแดง
พระตำหนักหลังนี้ใช้เป็นที่ประทับเวลาเสือป่าเข้าประจำกอง
หรือในกิจพิธีเกี่ยวกับเสือป่า
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนซองส์
(Renaissance)
ของฝรั่งเศสผสมกับ
แบบฮาล์ฟทิมเบอร์ (Half Timber)
ของอังกฤษ
แต่ได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างในราว
พ.ศ.2451 ภายในมี
ห้องอักษร ห้องบรรทม
และห้องสรง
ด้านหน้าพระตำหนักมีอนุสาวรีย์ย่าเหล
สุนัขแสนรู้ตัวโปรดของพระองค์ท่าน
นักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมที่นี่
ต้องเสียค่าเข้าชม 30 บาท
(คนไทย) เปิด วันพฤ - อา
เวลา 9.00-16.00 น.
สอบถามรายละเอียดที่งานประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
โทร. (034) 242649 |
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ |
เป็นเรือนไม้
2 ชั้น
ทาสีแดงอยู่คนละฝั่งกับพระที่นั่ง
ชาลีมงคลอาสน์
พระตำหนังทั้งสองนี้เชื่อมติดต่อถึงกันด้วยทางเดินมีลักษณะคล้ายสะพานแต่มีหลังคา
มีฝา
และหน้าต่างทอดยาวจากชั้นบน |
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งพิมานปฐม |
เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์อาคารก่ออิฐถือปูน
เป็นตึก 2 ชั้นแบบตะวันตก
ทรงใช้เป็นที่ประทับตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์
ห้องต่างๆ
บนพระที่นั่งได้แก่
ห้องบรรทม ห้องสรง
ห้องเสวย ห้องภูษา ฯลฯ
และในพระที่นั่งพิมานปฐมนี้เอง
ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประทับทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ขององค์พระปฐมเจดีย์บนแท่นไม้สักมีขนาด
2 เมตร ชื่อว่า "พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย์"
ขณะนี้ทางการได้รื้อนำไปตั้งไว้หน้า
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ในพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ
ส่วนพระที่นั่งพิมานปฐมนั้น
ในปัจจุบัน
ใช้เป็นส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัดนครปฐม |
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งวัชรีรมยา |
เป็นตึก 2
ชั้น
สร้างงดงามมากด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย
หลังคาซ้อนเช่นยอดปราสาทมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีงดงาม
มีช่อฟ้าใบระกา
นาคสะดุ้ง
หางหงส์ครบถ้วน
พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่บรรทม
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัด |
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ |
เป็นศาลาโถงรูปทรงไทยใหญ่กว้างขวาง
ยกสูงจากพื้นดินประมาณหนึ่งเมตร
และมีอัฒจันทร์ลง 2
ข้าง
พระที่นั่งองค์นี้อยู่ถัดจากพระที่นั่งวัชรีรมยาเชื่อมต่อกันด้วยพระทวาร
แต่เดิมใช้เป็นท้องพระโรงเวลา
เสด็จออกขุนนาง
รวมทั้งเป็นที่ประชุมข้าราชการและเหล่าเสือป่า
นอกจากนี้ยังใช้เป็นโรงละครสำหรับแสดงโขนอีกด้วย
ที่มีลักษณะพิเศษก็คือ
ตัวแสดงจะออกมาปรากฏภายภายนอกฉากบนเฉลียงถึง
3 ด้าน
มิใช่แสดงอยู่เพียงบนเวทีโรงละครที่มีลักษณะดังกล่าวมีอีก
2 แห่ง คือ
โรงละครสวนมิสกวันและที่หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธ
ปัจจุบันพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์
ใช้เป็นหอประชุมของจังหวัดนครปฐมหรือใช้ในพิธีต่าง
ๆ ของทางราชการ
|
|
|
|
-----------------------------------------------------------------
พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี |
เป็นตึก 2
ชั้น
อยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งพิมานปฐม
ขณะนี้ใช้เป็นที่ทำการของศาลากลางจังหวัดนครปฐม |
|