และยังไม่ได้สร้างพระราชวังสนามจันทร์
เวลาเสด็จนครปฐมมักจะประทับที่พลับพลาชั่วคราวในดงไผ่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน
หรือมิฉะนั้นก็จะประทับที่พระตำหนักบังกะโล
ซึ่งอยู่ตรงมุมถนนขวาพระใกล้กับสถานีตำรวจ
ซึ่งปัจจุบันพระตำหนักหลังนี้ได้รื้อลงหมดแล้ว
พระองค์โปรดการทรงม้าพระที่นั่งสำรวจท้องที่เป็นอย่างมาก
บางครั้งก็เสด็จไปที่ตำบลวัดทุ่งพระเมรุ
แต่ส่วนใหญ่โปรดเสด็จไปที่บริเวณพระราชวังสนามจันทร์
ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ของชาวบ้านปลูก
พืชไร่และพืชล้มลุก
เช่น กล้วย สับปะรด
ไว้มากมายสลับกับทุ่งหญ้ารกเรื้อและป่าไผ่ขึ้นเป็นดง
ทรงพอพระราชหฤทัยมาก
เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมจะสร้างเป็นที่ประทับถาวรในการเสด็จฯ
แปรพระราชฐาน
จึงรับสั่งขอซื้อจากชาวบ้านเจ้าของที่โดยใช้เงินจากพระคลังข้างที่ทั้งสิ้น
พระราชประสงค์ในการซื้อที่ดินจำนวนมากมาย
เพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ครั้งนี้
มิใช่จะเห็นแก่ความสุขสบายส่วนพระองค์
ในการเสด็จฯ
แปรพระราชฐานเท่านั้น
แต่เพราะทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง
นั่นก็คือ
ทรงเห็นว่านครปฐมเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสำหรับต้านทานข้าศึก
ซึ่งจะยกเข้ามา
ทางน้ำได้อย่างดี
ด้วยทรงจดจำเหตุการณ์
เมื่อ ร.ศ.112
ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้
และไม่ต้องการที่จะให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพดังกล่าว
จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สอง
เมื่อประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติ
พระราชวังสนามจันทร์
เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2450
มีหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย
ศิลปี)
ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์
เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่งซึ่งสร้างแล้วเสร็จ
และพระราชทานนามตามประกาศลงวันที่
27 สิงหาคม 2454 มีเพียง 2
พระที่นั่ง ได้แก่
พระที่นั่ง พิมานปฐม
และพระที่นั่งอภิรมย์ฤดี
ต่อมาจึงสร้าง
เพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์ตามพระราชวัง
แต่เก่าก่อนดังที่
ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐาน
เหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์
ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.
2466 เวลา 4 นาฬิกา 47 นาที 51
วินาที
พระราชวังสนามจันทร์
เปิดให้เข้าชมเฉพาะ
วันอังคาร- พฤหัสบดี-เสาร์
เวลา 9.00-16.00 น.
มีอาณาเขตกว้างขวางประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง
มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบและ
มคูน้ำล้อมอยู่ชั้นนอก
ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ
นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวังเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ได้แก่ |