|
เพนียดคล้องช้าง
อยุธยา
เพนียดคล้องช้าง
เป็นกิจกรรมยอดฮิตสำหรับทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติโดยการนั่งช้างชมความงดงามของรอบ ๆ
เมืองอยุธยา นับว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับคนทุกวัย
ในสมัยก่อนนั้นช้างเป็นพาหนะที่สูงส่ง ใช้ทั้งในการรบและการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
ยิ่งถ้าเป็นช้างเผือก สิ่งมงคลคู่บารมีของกษัตริย
พระองค์ก็จะทรงโปรดเกล้าฯให้นำมาเลี้ยง
และประดับยศศักดิ์ให้ด้วยพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
จะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ
เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิด หนึ่งอีกด้วย
ที่ตั้งวังช้างอยุธยา แล เพนียด ริมถนนป่าโทน ข้างคุ้มขุนแผน โดยได้รับการสนับสนุบ
จากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดิมได้ตั้งชื่อว่า ปางช้างอยุธยา แล
เพนียด และได้เปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น วังช้างอยุธยา แล เพนียด
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของและสถานที่
ที่อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่มรดกโลก คำว่า แล
หมายถึง แลมอง แลเห็น แลดู เป็นคำโบราณ เพนียด หมายถึง
โบราณสถานเป็นที่จับช้างโบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ความหมายรวม คือ
เป็นสถานที่ทำงานของช้าง และดูแลเพนียดคล้องช้าง ภาพของวังช้างอยุธยา แล เพนียด
ขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ทิศเหนือติดกับบึงน้ำโบราณข้างคุ้มขุนแผน
ทิศใต้ติดริมถนนป่าโทน ตั้งใกล้กับศาลหลักเมือง
ด้านทิศตะวันออกติดกับสระน้ำวัดเกษ
ทิศตะวันตกติดกับโครงการตลาดน้ำเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
สิ่งก่อสร้างของวังช้างอยุธยา แล เพนียด ลานพักช้างใหญ่
เป็นลานโล่งมีคานเหล็กกั้นสูง 150 เซนติเมตรขนาดเหล็กที่เป็นเสาเหล็กกลม 8
นิ้วมีตะแกรงเหล็ก เพื่อป้องกันช้างนำอาหารฟาดที่ตะแกรงแล้วไม่เสียหาย
ที่กั้นช้างด้านหน้ายาว 10 เมตร
ป้องกันนักท่องเที่ยวเข้าใกล้ชิดช้างเพื่อให้อาหารช้างในระยะแค่ปลายงวงจะกั้นเฉพาะด้านหน้าที่นักท่องเที่ยวให้อาหารช้างและ
บันทึกภาพเท่านั้น คอกกันชั้นในและชั้นนอกห่างกัน 150 เซนติเมตร
หลังคากันแสงทำด้วยการขึงแสลนสีดำ ป้องกันแสงแดด ด้านริมถนนเป็นรั้วลวดหนาม
ด้านในจะเป็นลานโล่ง ใช้เชือกกั้นมิให้บุคคลภายนอกเข้าไปเป็นบริเวณที่ช้างพักอาศัย
เพื่อป้องกันอันตราย
|
|